คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 81

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยชอบ แม้ผู้ร่วมลงชื่อในบันทึกการจับกุมไม่ได้ร่วมปฏิบัติการ
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ให้แก่สายลับของเจ้าพนักงานตำรวจในซอยซึ่งมิใช่ที่รโหฐาน ร้อยตำรวจเอก จ. กับพวกซึ่งซุ่มดูการล่อซื้อจับกุมจำเลยในเวลาต่อเนื่องกับเวลาที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ โดยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด และธนบัตรที่ใช้ในการล่อซื้อจำนวน 1,200 บาท ที่ค้นได้จากกระเป๋ากางเกงของจำเลยเป็นหลักฐานยืนยันการกระทำผิดของจำเลย ในชั้นจับกุมร้อยตำรวจเอก จ. ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลย จำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ การจับกุมดังกล่าวจึงเป็นการจับกุมโดยชอบ แม้พันตำรวจโท อ. ได้มาลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมโดยตนเองไม่ได้ร่วมจับกุมจำเลยด้วย ก็เป็นเพียงการกระทำโดยไม่ชอบของพันตำรวจโท อ. เท่านั้น หามีผลทำให้การจับกุมจำเลยที่กระทำโดยร้อยตำรวจเอก จ. กับพวกซึ่งทำโดยชอบกลับกลายเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตำรวจในการจับกุมและสอบสวนนอกเขตท้องที่: ความผิดต่อเนื่องและเหตุความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)จ่าสิบตำรวจ ส. มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะ ในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่ สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 และ 92 จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้าเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบ เมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่ รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81(1),92(2) การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมี อำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก) พนักงานอัยการโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุม-สืบสวนข้ามเขต: ความผิดต่อเนื่องและความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) จ่าสิบตำรวจ ส.มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้ และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้น เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส.ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78, 81 และ 92
จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส.จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1 ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส.ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 81 (1), 92 (2)
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามป.วิ.อ.มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและความจำเป็นในการเข้าค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น กรณีความผิดซึ่งหน้าและเหตุฉุกเฉิน
จ่าสิบตำรวจ ส.และร้อยตำรวจเอก ป.จับจำเลยได้ขณะที่จำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.ผู้ล่อซื้อ ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ขณะนั้นธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ที่จำเลยและจำเลยดิ้นรนต่อสู้ ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้ากว่าจะนำหมายจับและหมายค้นมาได้ จำเลยอาจหลบหนีและพยานหลักฐานอาจสูญหายจึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จ่าสิบตำรวจ ส.และร้อยตำรวจเอก ป.จึงมีอำนาจเข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้น และมีอำนาจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ.มาตรา80, 81 ประกอบมาตรา 92 (2) และมาตรา 96 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมและเข้าค้นในที่รโหฐานเมื่อพบเห็นความผิดซึ่งหน้าและมีเหตุฉุกเฉิน
จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอก ป.จับจำเลยได้ ขณะที่จำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อ ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าขณะนั้นธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ที่จำเลยและจำเลยดิ้นรนต่อสู้ ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้ากว่าจะนำหมายจับและหมายค้นมาได้ จำเลยอาจหลบหนีและพยานหลักฐานอาจสูญหายจึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอกป.จึงมีอำนาจเข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้น และมีอำนาจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80,81 ประกอบมาตรา 92(2) และมาตรา 96(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทบต่อการฟ้องคดีอาญาหรือไม่ และการลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
การตรวจค้นการจับกุมและการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกันหากการตรวจค้นและจับกุมมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากเมื่อคดีนี้มีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามกฎหมายแล้วแม้การตรวจค้นและจับกุมมีปัญหาว่าอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายก็หากระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่ทั้งจำเลยมิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่นๆอีกจึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องนั้นชอบแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใดจึงลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมในที่รโหฐานต้องมีหมายค้น เว้นแต่เจ้าบ้านมีหมายจับ หรือจับตามอำนาจกฎหมาย การต่อสู้เพื่อป้องกันสิทธิเป็นเหตุสมควร
คำว่า "เจ้าบ้าน" ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92(5) หมายความถึงผู้เป็นหัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นและรวมตลอดถึงคู่สมรสของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้นเพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้านและปกครองผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น หาได้รวมถึงผู้อยู่ในบ้านทุกคนไม่ ตามทะเบียนบ้านหลังเกิดเหตุมี บ. บิดาจำเลยเป็นหัวหน้ามีชื่อจำเลยอยู่ในฐานะเป็นบุตร จำเลยจึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าบ้านตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(5) การที่ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปจับกุมจำเลยในบ้านดังกล่าวตามหมายจับแต่ไม่มีหมายค้น ทั้งผู้เสียหายกับพวกมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่จะทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น จึงเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81 และเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงชอบที่จะป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบเช่นนั้นได้หากจำเลยจะชกต่อยผู้เสียหายจริงก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ และไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางการจับกุม: แม้ไม่มีหมายค้น แต่เจ้าของบ้านยินยอมและผู้ใหญ่บ้านร่วมค้น จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นผิด
แม้ว่าสิบตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านราษฎรเพื่อจับคนร้ายโดยไม่มีหมายค้น แต่ บ. เจ้าของบ้านที่ถูกคนยินยอมให้ค้นได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่และได้ร่วมค้นด้วยแต่กลับขัดขวางการจับกุมคนร้ายจะอ้างว่าจเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นมาเป็นเหตุให้ตนพ้นผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางการจับกุมโดยเจ้าพนักงาน แม้ไม่มีหมายค้น แต่เจ้าของบ้านยินยอม และผู้ใหญ่บ้านร่วมตรวจค้น ไม่ถือเป็นเหตุให้พ้นผิด
แม้จ่าสิบตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านราษฎรเพื่อจับคนร้ายโดยไม่มีหมายค้นแต่ บ. เจ้าของบ้านที่ถูกค้นยินยอมให้ค้นได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่และได้ร่วมค้นด้วยแต่กลับขัดขวางการจับกุมคนร้าย จะอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นมาเป็นเหตุให้ตนพ้นผิดหาได้ไม่
of 3