คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1350

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิการใช้ทางเดินแม้ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และการประเมินค่าเสียหายจากการรุกล้ำ
ศาลล่างพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางที่ตกอยู่ในภารจำยอม จำเลยฎีกาว่าที่ดินของโจทก์ไม่ตกอยู่ในที่ล้อม ทางพิพาทจึงไม่เป็นทางจำเป็น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ตรงประเด็นศาลไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์อ้างข้อตกลงอันเป็นมูลเดิมแล้วฟ้องว่าทางพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความ คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงความสมบูรณ์ของข้อตกลง
โจทก์ฟ้องจำเลยในกรณีละเมิดปักเสารุกล้ำ กั้นรั้วปิดทางเดิน แล้วเรียกค่าเสียหาย แม้ไม่ได้กล่าวว่าเสียหายอะไรไปเท่าใด กฎหมายก็บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยให้ค่าเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์ที่ 2 ที่ดินจำเลยตรงทางเดินรายพิพาทตกอยู่ในภารจำยอม ซึ่งโจทก์ใช้เป็นทางเดินมากว่า 10 ปี ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าทางรายพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้านหรือไม่ มิได้อยู่ที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิในการใช้ทางเดินแม้ไม่มีการจดทะเบียน
โจทก์ใช้ตรอกพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะมากว่าสิบปีแล้วตรอกพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 และมิใช่เป็นการได้มาโดยนิติกรรมอันจะต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้วจึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาทแม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้วและจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิใช้ทางเดินแม้ไม่ได้จดทะเบียน
โจทก์ใช้ตรอกพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะมากกว่าสิบปีแล้วตรอกพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 และมิใช่เป็นการได้มาโดยนิติกรรมอันจะต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้ว จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้ว และจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อน โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางออก (ทางจำเป็น) เมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและมีทางออกอื่นที่ชอบด้วยกฎหมาย
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินแปลงเดียวกับของ ก. และ ว . และเป็นของบิดาโจทก์ ต่อมาบิดาโจทก์ตาย ที่ดินแปลงนั้นได้แบ่งแยกตกได้แก่โจทก์ , ก. และ ว. ที่ดินของโจทก์อยู่ด้านในโจทก์จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของ ก.และ ว. ออกสู่ทางสาธารณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์หามีสิทธิผ่านออกในที่ดินแปลงอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านทางในที่ดินแบ่งแยก: กรณีที่ดินเดิมผืนเดียวกันและภารจำยอมตามกฎหมาย
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินแปลงเดียวกับของ ก. และ ว. และเป็นของบิดาโจทก์ ต่อมาบิดาโจทก์ตาย ที่ดินแปลงนั้นได้แบ่งแยกตกได้แก่โจทก์ ก. และ ว. ที่ดินของโจทก์อยู่ด้านในโจทก์จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของ ก. และ ว. ออกสู่ทางสาธารณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์หามีสิทธิผ่านออกในที่ดินแปลงอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม และการแยกแปลงที่ดินเพื่อพิจารณาทางภาระจำยอม
เป็นเจ้าของที่ดินอยู่แปลงหนึ่งแล้ว ต่อมาได้รับโอนที่ดินมาอีกแปลงหนึ่งแม้ที่ดินที่ได้รับโอนมาใหม่จะมีเขตติดต่อกับที่ดินแปลงเดิมก็ย่อมต้องถือว่า เป็นที่ดินคนละแปลง ฉะนั้นเมื่อโอนขายที่ดินแปลงที่ได้รับโอนมาภายหลังให้แก่คนอื่นไปทั้งแปลง ดังนี้จะถือว่าเป็นที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนจากที่ดินแปลงเดิมของเจ้าของตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1350 ไม่ได้ เพราะเป็นที่ดินต่างแปลงกันมาแต่เดิมเมื่อปรากฎว่าที่ดินแปลงหลังถูกล้อมไม่มีทางออกก็จะนำมาตรา 1350 มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้มาตรา 1349 บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินถูกล้อมไม่มีทางออก สิทธิทำทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349
เป็นเจ้าของที่ดินอยู่แปลงหนึ่งแล้ว ต่อมาได้รับโอนที่ดินมาอีกแปลงหนึ่ง แม้ที่ดินที่ได้รับโอนมาใหม่จะมีเขตติดต่อกับที่ดินแปลงเดิม ก็ย่อมต้องถือว่าเป็นที่ดินคนละแปลง ฉะนั้นเมื่อโอนขายที่ดินแปลงที่ได้รับโอนมาภายหลังให้แก่คนอื่นไปทั้งแปลง ดังนี้ จะถือว่าเป็นที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนจากที่ดินแปลงเดิมของเจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ได้ เพราะเป็นที่ดินต่างแปลงกันมาแต่เดิม เมื่อปรากฏว่า ที่ดินแปลงหลังถูกล้อมไม่มีทางออก ก็จะนำมาตรา 1350 มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้มาตรา 1349 บังคับ
of 17