พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7322/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้มีแม่น้ำแต่ใช้สัญจรไม่ได้
แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกจะติดแม่น้ำบางปะกง แต่ก็ได้ความว่า ปัจจุบันแม่น้ำบางปะกงไม่ได้ใช้เป็นทางสัญจร คงมีแต่เรือหาปลา ไม่มีเรือโดยสาร โดยกิจการเรือโดยสารได้เลิกมาหลายสิบปีแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วก็ได้ใช้เส้นทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งเส้นทางพิพาทมีความกว้างประมาณ 3 เมตร ดังนี้ กรณีที่ดินโจทก์จึงต้องตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสอง คือ ที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ต้องข้ามสระ บึง ทะเล หรือสภาพยากลำบากในทำนองเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเพื่อขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินจำเลยทั้งสามออกสู่ทางสาธารณะได้
เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์อยู่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1638 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ไม่มีทางบนบกออกสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
สิทธิในทางจำเป็นย่อมเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายตามสภาพความเป็นจริงของที่ดินในปัจจุบัน ข้ออ้างของฝ่ายจำเลยทั้งสามที่ว่าโจทก์สมัครใจซื้อที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทำให้ซื้อในราคาถูกกว่าปกติ ส่อเจตนาว่าจะไม่ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะนั้น มิได้ทำให้สิทธิในทางจำเป็นของโจทก์ระงับสิ้นไปแต่อย่างใด
เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์อยู่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1638 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ไม่มีทางบนบกออกสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
สิทธิในทางจำเป็นย่อมเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายตามสภาพความเป็นจริงของที่ดินในปัจจุบัน ข้ออ้างของฝ่ายจำเลยทั้งสามที่ว่าโจทก์สมัครใจซื้อที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทำให้ซื้อในราคาถูกกว่าปกติ ส่อเจตนาว่าจะไม่ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะนั้น มิได้ทำให้สิทธิในทางจำเป็นของโจทก์ระงับสิ้นไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น การกำหนดขอบเขต และค่าเสียหายจากการบุกรุกที่ดิน
จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินของ ล. เจ้าของที่ดินโดยสุจริต บ้านดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย หลังจาก ล. ถึงแก่ความตายมีการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวปรากฏว่าบ้านของจำเลยอยู่ในที่ดินที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย แต่โครงหลังคาบ้านซึ่งติดอยู่กับบ้านเป็นส่วนหนึ่งของบ้านล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นกรณีที่เทียบเคียงได้กับการปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรก เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เมื่อกรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีและไม่ปรากฏว่ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เมื่อใช้มาตรา 1312 วรรคแรก ประกอบมาตรา 4 วรรคสอง มาปรับแก่คดีแล้ว ที่ดินของโจทก์ส่วนที่โครงหลังคาบ้านของจำเลยรุกล้ำเข้าไปจึงเป็นภาระจำยอมที่ต้องไปจดทะเบียนสิทธิดังกล่าวตามบทบังคับของมาตรา 1312 วรรคแรก
แม้คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์มิได้ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ถนนคอนกรีตกว้าง 6.50 เมตร ยาว 76 เมตร ในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นถนนดังกล่าวข้างต้นเป็นทางจำเป็น แต่ศาลมีอำนาจกำหนดที่และวิธีทำทางผ่านของทางจำเป็นให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน โดยคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความกว้างของทางจำเป็นในคดีนี้จึงยังไม่ยุติไปตามคำคู่ความดังกล่าว
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่สามารถใช้ยันบุคคลทั่วไปได้อยู่แล้ว จึงไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นและเจ้าของที่ดินที่ล้อมไว้แล้วเมื่อมีคำพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทางจำเป็นของบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นไปตามกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินกำหนดห้ามการใช้ทางจำเป็นเพื่อการใดไว้ล่วงหน้าในคำพิพากษา ทั้งตามฟ้องโจทก์คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และคำให้การแก้ฟ้องแย้งในคดีนี้ คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า จำเลยมีสิทธิใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ และฟ้องกับฟ้องแย้งดังกล่าวก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องห้ามจำเลยใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ทางพิพาทตามปกติมิใช่เพื่อการค้า จึงไม่จำเป็นแก่คดีและเกินคำขอของคู่ความ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
แม้คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์มิได้ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ถนนคอนกรีตกว้าง 6.50 เมตร ยาว 76 เมตร ในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นถนนดังกล่าวข้างต้นเป็นทางจำเป็น แต่ศาลมีอำนาจกำหนดที่และวิธีทำทางผ่านของทางจำเป็นให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน โดยคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความกว้างของทางจำเป็นในคดีนี้จึงยังไม่ยุติไปตามคำคู่ความดังกล่าว
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่สามารถใช้ยันบุคคลทั่วไปได้อยู่แล้ว จึงไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นและเจ้าของที่ดินที่ล้อมไว้แล้วเมื่อมีคำพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทางจำเป็นของบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นไปตามกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินกำหนดห้ามการใช้ทางจำเป็นเพื่อการใดไว้ล่วงหน้าในคำพิพากษา ทั้งตามฟ้องโจทก์คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และคำให้การแก้ฟ้องแย้งในคดีนี้ คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า จำเลยมีสิทธิใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ และฟ้องกับฟ้องแย้งดังกล่าวก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องห้ามจำเลยใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ทางพิพาทตามปกติมิใช่เพื่อการค้า จึงไม่จำเป็นแก่คดีและเกินคำขอของคู่ความ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางออกแต่ไม่สะดวก ไม่ถือว่าที่ดินถูกปิดล้อม จึงไม่มีสิทธิขอทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและภาระจำยอม ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทมิใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ทั้งที่ทางพิจารณาอาจเป็นได้ทั้งทางจำเป็นและทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนี้หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจวินิจฉัยในเรื่องทางพิพาทว่าเป็นทางจำเป็นหรือไม่ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น เนื่องจากโจทก์มีคำขอมาตั้งแต่ต้นแล้ว มิฉะนั้น โจทก์คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งโจทก์ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงซ้ำในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว จึงหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484-3485/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยก: ที่ดินเดิมแปลงเดียวกัน แม้แบ่งแยกหลายทอดก็ยังคงสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินของจำเลยและของ บ. เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์ แม้จะแบ่งแยกออกจากที่ดินของโจทก์ เป็นของ บ. ก่อนแล้วจึงแบ่งแยกที่ดินของ บ. เป็นของจำเลยภายหลัง ก็ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมแต่อย่างใด ถือว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจาก ที่ดินแปลงเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาท เป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอชี้ขาดคดีได้ และการใช้สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นในที่ดิน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบนั้นมีความจำเป็นต้องนำสืบหรือไม่ หากไม่จำเป็นศาลชั้นต้นก็มีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานนั้นได้
ศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงจากโจทก์แล้วได้ความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 29140 และ 29141 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 22417 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีอาณาเขตทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ติดทางสาธารณะคือทางหลวงเทศบาลถนนนารถวิถี โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ความข้างต้นจึงเพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้แล้วว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 29140 และ 29141 จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 22417 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่โจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทในที่ดินจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นเป็นทางผ่านไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่ คดีจึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ เพราะแม้จะให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
ศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงจากโจทก์แล้วได้ความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 29140 และ 29141 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 22417 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีอาณาเขตทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ติดทางสาธารณะคือทางหลวงเทศบาลถนนนารถวิถี โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ความข้างต้นจึงเพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้แล้วว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 29140 และ 29141 จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 22417 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่โจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทในที่ดินจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นเป็นทางผ่านไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่ คดีจึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ เพราะแม้จะให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ที่ดินถูกล้อมรอบ-ใช้รถยนต์ได้-สิทธิใช้ทางในที่ดินจำเลยไม่ต้องชดใช้
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกออกมาจากที่ดินจำเลย ที่ดินโจทก์มีที่ดินบุคคลอื่นล้อมอยู่ทุกด้าน แม้จะมีทางเดินออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม แต่โจทก์ต้องผ่านที่ดินบุคคลอื่นอีกทั้งมีระยะทางไกลและรถยนต์ผ่านไม่ได้ ถือว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ทั้งสภาพบ้านเมืองปัจจุบันใช้รถยนต์เป็นพาหนะจำนวนมากทางที่ใช้เข้าออกสู่ที่ดินไม่ใช่เป็นทางเดินสถานเดียวแต่ต้องให้รถยนต์ผ่านด้วย โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยประสงค์ใช้เป็นที่ปลูกบ้านและใช้ปลูกพืชผักต้องใช้รถยนต์กระบะผ่านเข้าออกสู่ที่ดิน ทางพิพาทเป็นทางที่ใกล้และสะดวกแก่การเดินทางออกสู่ทางสาธารณะพอแก่ความจำเป็น และเมื่อที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินจำเลย โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินจำเลยได้โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นมิได้ติดตามที่ดินที่โอน สิทธิทางผ่านไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้รับโอนหากมีทางออกอื่น
แม้เดิมผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่โจทก์รับโอนมาจะมีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจะได้สิทธิในทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภาระจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วย ทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
หมายเหตุ : วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2546
เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
หมายเหตุ : วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9248/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและทางภาระจำยอมเมื่อที่ดินถูกล้อม - การบังคับใช้สิทธิทางกฎหมาย
โจทก์ตั้งรูปคดีโดยบรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่และขอผ่านที่ดินของจำเลยที่ล้อมที่ดินของโจทก์เพื่อเป็นทางจำเป็นออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอม ซึ่งจำเลยต้องยอมรับภาระบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ ตามคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยก็ต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางจำเป็น แต่ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิใช้ได้ ก็ขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านให้แก่จำเลยแม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และต่อสู้คดีว่าจำเลยควรได้รับค่าทดแทนเพื่อความเสียหายในการใช้ทางเพียงครั้งเดียวไม่เกิน 20,000 บาท ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำฟ้องเพื่อเพิ่มเติมให้มีประเด็นในเรื่องทางภาระจำยอม คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทแต่เฉพาะเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นเท่านั้น ปํญหาที่ว่าที่ดินของจำเลยตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งมีแนวเขตติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 และสามารถใช้ถนนคอนกรีตในที่ดินโฉนดดังกล่าวเป็นทางจำเป็นผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ ต่อมามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยจึงทำให้ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกล้อมอยู่จนไม่มีทางออก กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์ก็ชอบที่จะใช้ที่ดินซึ่งแบ่งแยกออกมาและกันไว้เป็นทางไปยังถนนคอนกรีตบนที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 เพื่อออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนได้อยู่แล้ว โจทก์จะเลือกใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นของจำเลยไม่ได้
โจทก์มีสิทธิใช้ถนนบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย แม้มีการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยไปเป็นของผู้อื่น โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นตาม ป.พ.พ มาตรา 1349 ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดให้จำเลย
จดทะเบียนสิทธิทางจำเป็นแก่โจทก์
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งมีแนวเขตติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 และสามารถใช้ถนนคอนกรีตในที่ดินโฉนดดังกล่าวเป็นทางจำเป็นผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ ต่อมามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยจึงทำให้ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกล้อมอยู่จนไม่มีทางออก กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์ก็ชอบที่จะใช้ที่ดินซึ่งแบ่งแยกออกมาและกันไว้เป็นทางไปยังถนนคอนกรีตบนที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 เพื่อออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนได้อยู่แล้ว โจทก์จะเลือกใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นของจำเลยไม่ได้
โจทก์มีสิทธิใช้ถนนบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย แม้มีการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยไปเป็นของผู้อื่น โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นตาม ป.พ.พ มาตรา 1349 ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดให้จำเลย
จดทะเบียนสิทธิทางจำเป็นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270-6271/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอม-ทางจำเป็น: การใช้ที่ดินของผู้อื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเกิน 10 ปี และการเสียหายจากการถูกปิดกั้น
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะส่วนที่ดินของจำเลยอยู่ติดถนนและอยู่ด้านหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงเรียกร้องที่ดินของจำเลยให้เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่เคยยกข้อต่อสู้เรื่องทางจำเป็นในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยก็ตาม ก็หาทำให้ทางจำเป็นซึ่งเป็นผลโดยกฎหมายเสียไปไม่
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม และการใช้ข้อตกลงเดิมเป็นเหตุผลสนับสนุนสิทธิ
ที่ดินของโจทก์และจำเลยแบ่งแยกออกจากที่ดินแปลงเดียวกันแต่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โดยไม่ต้องคำนึงว่า ข้อตกลงที่จะเปิดทางเพื่อใช้เป็นทางออก สู่ทางสาธารณะที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันไว้ด้วยวาจาจะใช้บังคับได้หรือไม่
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ได้ขอเปิดทางจำเป็นกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 15 เมตร การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เปิดทางจำเป็นกว้าง 3 เมตร จึงเป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ได้ขอเปิดทางจำเป็นกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 15 เมตร การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เปิดทางจำเป็นกว้าง 3 เมตร จึงเป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น