พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องทางเดิน: ที่ดินแบ่งแยกต้องขอทางเดินจากที่ดินเดิมแบ่งแยกเท่านั้น
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจาก ที่ดินโฉนดเลขที่ 4383 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดิน ผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องและจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 4383ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวย อันเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว แม้โจทก์จะมีความจำเป็นต้องเดินทางโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยทางเรือ แต่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติให้เจ้าของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน และไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น หรือทางจำเป็นอันตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน ที่คู่ความนำสืบว่าจะเป็นทางประเภทใด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1ฟังว่าทางพิพาทตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ ไม่ต้องเสียค่าตอบแทน จึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าทางพิพาท เป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวนและใช้ดุลพินิจเลือกวินิจฉัย ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นอันตกเป็น ภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติรับรอง ให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจาก ที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน โจทก์จึงมีสิทธิ ใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย จำเลย ไม่ต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6302/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอ ศาลมิอาจวินิจฉัยประเด็นที่มิได้มีการอ้างในคำฟ้อง แม้จะเป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเดินพิพาทในที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่าเป็นทางสาธารณะ ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เสารั้ว หรือวัสดุอื่นใดซึ่งสร้างปิดกั้นทางเดินพิพาทออกไป กับขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในอัตราเดือนละ2,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า ทางเดินพิพาทดังกล่าวไม่ใช่ทางสาธารณะจำเลยล้อมรั้วทำประโยชน์ในที่ดินของตน ไม่ได้ปิดกั้นทางสาธารณะ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางเดินพิพาทว่าเป็นทางสาธารณะหรือไม่เท่านั้น และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกเป็นทางสาธารณะผ่านที่ดินจำเลยหรือไม่ และไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องทางจำเป็นไว้ทั้งกรณีที่จะเป็นเรื่องทางจำเป็นนั้น ในคำฟ้องต้องปรากฏว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 ทั้งมิได้บรรยายหรือประสงค์ที่จะขอให้ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็น การที่ศาลล่างวินิจฉัยฟังว่าทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นและบังคับให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: โจทก์มีทางออกอื่น การพิพากษาเกินฟ้องเป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองเป็นสามีภริยากัน จำเลยโอนขายส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 5519 ให้โจทก์ทั้งสองที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์ทั้งสองอยู่ด้านในที่ดินของป. มารดาโจทก์ที่ 1 โดย ป. ยอมให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ทางพิพาท ที่อยู่ในที่ดินของจำเลยจึงมิใช่ทางจำเป็นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ตามฟ้องได้ โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาทโดยอ้างว่าเป็นทางจำเป็น ซึ่งโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350ประเด็นข้อพิพาทคงมีเพียงว่า ทางพิพาทเป็น ทางจำเป็นตามบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีทางเดินอื่น เข้าออกสู่ทางสาธารณะได้แล้ว ทางพิพาทจึงไม่ใช่ ทางจำเป็น ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยยินยอม ให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออก สู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสองอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาท ดังนี้ การที่ ศาลชั้นต้นหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาคดีจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง นอกฟ้องนอกประเด็น และเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้จำเลยมิได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบ มาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยก – ความกว้างของทางจำเป็น
เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งสองและของจำเลยต่างแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 2394 ในคราวเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ คงมีที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียวที่อยู่ติดทางสาธารณประโยชน์ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งที่แบ่งแยกในคราวเดียวกัน รวมถึงที่ดินของจำเลยได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 หาใช่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นได้แต่เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 2394 แปลงเดิมส่วนที่คงเหลือจากการแบ่งแยกแบ่งโอนกันแล้วเท่านั้นไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นหรือไม่ ถือได้ว่ามีประเด็นในเรื่องความกว้างยาวของทางจำเป็นด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเพราะถือว่าไม่มีประเด็นจึงเป็นการไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นหรือไม่ ถือได้ว่ามีประเด็นในเรื่องความกว้างยาวของทางจำเป็นด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเพราะถือว่าไม่มีประเด็นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและการขัดขวางการปรับปรุงทาง กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และ อ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ.โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่งที่ดินดังกล่าวเป็น3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774, 94775 และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม นั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตร ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตรพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ 1 เมตรไม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงบำรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาทเป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม นั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตร ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตรพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ 1 เมตรไม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงบำรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาทเป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น การแบ่งแยกที่ดิน และสิทธิในการผ่านที่ดินของเจ้าของที่ดินติดกัน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และอ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ. โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดิน ต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่ง ที่ดินดังกล่าวเป็น 3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774,94775และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774 ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสามนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตรย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตร พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ1 เมตร ไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย โดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาท เป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น ค่าทดแทน และการวางท่อสาธารณูปโภคบนที่ดินของผู้อื่น
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้อื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่เส้นทางต่าง ๆ ที่โจทก์จะต้องผ่านเข้าไปในที่ดินบุคคลอื่นหลายราย จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยเส้นทางที่หนึ่งจะต้องผ่านคันดินของผู้อื่นแล้วเลียบกำแพงของหมู่บ้าน ส. ไปเรื่อย ๆ จนถึงถนนของหมู่บ้านไปสู่ถนนสาธารณะประมาณ 100 เมตรแต่หมู่บ้านได้ทำรั้วขนาดสูงประมาณเอวกั้นรอบจดติดถนนสาธารณะไว้ ทั้งถนนในหมู่บ้านก็มิใช่ถนนสาธารณะ เส้นทางที่สองและที่สาม จะต้องผ่านรั้วของ ก. และใช้ถนนของ ก. ซึ่งมิใช่ถนนสาธารณะเช่นกันและใช้ระยะทางประมาณ 400 ถึง 500 เมตร จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ ส่วนเส้นทางที่สี่และที่ห้านั้น เมื่อผ่านที่ดินของบริษัทส. ระยะทางประมาณ 80 เมตรและ 84 เมตร ตามลำดับแล้ว ก็ต้องข้ามคลองมีสะพานไม้ สำหรับคนเดินข้าม และเมื่อข้ามคลองไปแล้วก็ไม่ปรากฏว่า มีเส้นทางที่จะออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกส่วนเส้นทาง อีกเส้นหนึ่งก็เป็นกรรมสิทธิ์ ก็มิใช่ทางสาธารณะ หากโจทก์ หรือบุคคลอื่นขอใช้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของที่ดินก่อน จึงเป็น ทางส่วนบุคคลที่เจ้าของหวงแหนอยู่และเป็นเส้นทางที่ไกลกว่า ทางที่จะตัดผ่านออกมาทางที่ดินของจำเลยทั้งสอง ดังนี้ เมื่อเส้นทางพิพาทเส้นทางตรงที่ผ่านที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง 180 เมตรแล้วหักเลี้ยวผ่านที่ดินจำเลยที่ 2 อีกประมาณ 30 เมตร ก็ถึงถนนสาธารณะ เป็นเส้นทางที่ใกล้และสะดวกที่สุด อีกทั้งตามสภาพที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อและที่ว่างเปล่า บางส่วนใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและเล้าไก่ในส่วนที่โจทก์ ขอตัดถนนผ่านก็ไม่ได้ผ่านไปตรงที่เล้าไก่ และที่ดินของจำเลยที่ 2เป็นที่ว่างเปล่าและให้โจทก์เช่าอยู่แล้วจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสอง เสียหายมากนัก โจทก์ย่อมมีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดิน ของจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ซื้อที่ดินแปลงพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรม และบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า ธุรกิจดังกล่าวทางที่ จะออกถนนสาธารณะจะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตรที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตรเมื่อการทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำรถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ การกำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ย่อมเหมาะสมแล้ว แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352เป็นบทบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตาม แต่กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง เพราะค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอเปิดทางจำเป็นและการวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้อื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่เส้นทางต่าง ๆ ที่โจทก์จะต้องผ่านเข้าไปในที่ดินบุคคลอื่นหลายราย จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยเส้นทางที่หนึ่งจะต้องผ่านคันดินของผู้อื่นแล้วเลียบกำแพงของหมู่บ้าน ส.ไปเรื่อย ๆ จนถึงถนนของหมู่บ้านไปสู่ถนนสาธารณะประมาณ 100 เมตร แต่หมู่บ้านได้ทำรั้วขนาดสูงประมาณเอวกั้นรอบจดติดถนนสาธารณะไว้ ทั้งถนนในหมู่บ้านก็มิใช่ถนนสาธารณะ เส้นทางที่สองและที่สามจะต้องผ่านรั้วของ ก. และใช้ถนนของ ก.ซึ่งมิใช่ถนนสาธารณะเช่นกันและใช้ระยะทางประมาณ 400 ถึง 500 เมตร จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ ส่วนเส้นทางที่สี่และที่ห้านั้นเมื่อผ่านที่ดินของบริษัท ส. ระยะทางประมาณ 80 เมตรและ 84 เมตร ตามลำดับแล้ว ก็ต้องข้ามคลองมีสะพานไม้สำหรับคนเดินข้าม และเมื่อข้ามคลองไปแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีเส้นทางที่จะออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกส่วนเส้นทางอีกเส้นหนึ่งก็เป็นกรรมสิทธิ์ ก็มิใช่ทางสาธารณะ หากโจทก์หรือบุคคลอื่นขอใช้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของที่ดินก่อน จึงเป็นทางส่วนบุคคลที่เจ้าของหวงแหนอยู่และเป็นเส้นทางที่ไกลกว่าทางที่จะตัดผ่านออกมาทางที่ดินของจำเลยทั้งสอง ดังนี้เมื่อเส้นทางพิพาทเส้นทางตรงที่ผ่านที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง 180 เมตรแล้วหักเลี้ยวผ่านที่ดินจำเลยที่ 2 อีกประมาณ 30 เมตร ก็ถึงถนนสาธารณะ เป็นเส้นทางที่ใกล้และสะดวกที่สุด อีกทั้งตามสภาพที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อและที่ว่างเปล่าบางส่วนใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและเล้าไก่ในส่วนที่โจทก์ขอตัดถนนผ่านก็ไม่ได้ผ่านไปตรงที่เล้าไก่ และที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นที่ว่างเปล่าและให้โจทก์เช่าอยู่แล้วจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียหายมากนัก โจทก์ย่อมมีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองได้
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรมและบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า ธุรกิจดังกล่าวทางที่จะออกถนนสาธารณะจะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตร ที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตร เมื่อการทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำ รถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ การกำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ย่อมเหมาะสมแล้ว
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1352 เป็นบทบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตาม แต่กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง เพราะค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นไว้แล้ว
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรมและบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า ธุรกิจดังกล่าวทางที่จะออกถนนสาธารณะจะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตร ที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตร เมื่อการทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำ รถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ การกำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ย่อมเหมาะสมแล้ว
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1352 เป็นบทบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตาม แต่กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง เพราะค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการผ่านที่ดินแปลงอื่น (ทางจำเป็น) แม้ไม่ติดทางสาธารณะโดยตรง หากสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น มิได้มีบทบัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงความมุ่งหมายที่สำคัญคือให้ที่ดินถูกล้อมอยู่นั้นมีทางออกถึงทางสาธารณะได้เท่านั้น ได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดถึงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ที่ดินของจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็นแม้จะฟังว่าเมื่อผ่านที่ดินของจำเลยแล้วจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีก แต่บุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นก็มิได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิของโจทก์คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน และที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ที่ดินของจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมกับถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านนั้น แม้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลย เพื่อเปิดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์กว้างแปลงละ 3.5 เมตร จึงเหมาะสมแล้ว
ที่ดินของจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมกับถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านนั้น แม้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลย เพื่อเปิดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์กว้างแปลงละ 3.5 เมตร จึงเหมาะสมแล้ว