คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 1

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำในขณะที่ผู้เยาว์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาล และผลกระทบต่อสิทธิในกรรมสิทธิ์รวม
จำเลยที่ 12 ทำข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับโจทก์ อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลย 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยก ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรมซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดตำแหน่งของที่ดินที่จะขอแบ่งแยกเป็นของตนเองเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสิบสองไม่ได้โต้แย้งในเรื่องจำนวนที่ดินที่โจทก์พึงได้รับอีก จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำฟ้องบังคับจำนอง: ศาลฎีกาตัดสินอัตราค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องโดยไม่เกิน 100,000 บาท
คำร้องขอให้บังคับจำนองของผู้ร้องซึ่งเป็นคำฟ้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละเท่าใด เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มไว้ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ร้องมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ผู้ร้องก็มีสิทธิยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคสอง อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 226(2) และถึงแม้ว่าผู้ร้องจะอุทธรณ์ในเรื่องค่าขึ้นศาลเพียงอย่างเดียวแต่ก็เป็นการอุทธรณ์โดยยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามผู้ร้องอุทธรณ์ตามที่มาตรา 168บัญญัติไว้
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองจำเลยนั่นเอง ตามตาราง 1 ข้อ 1(ค) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ระบุไว้ว่า ให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 1 ต่อเมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีจึงให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.5 แต่คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1(ค) ในอัตราร้อยละ 1ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการโต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมายของตาราง 1 ข้อ 1(ค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาแล้วโจทก์ผูกพันตามคำพิพากษา แม้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยก็ไม่ถือเป็นการละเมิดใหม่
คู่ความคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นที่ได้วินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันว่า กันสาดหน้าต่างตึกแถวของจำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่ และกันสาดตามฟ้องคดีนี้ก็คือกันสาดเดิมตามฟ้องในคดีก่อน มิได้มีการต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงอันจะเป็นการละเมิดครั้งใหม่ เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามคำท้าของคู่ความว่ากันสาดไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนและจะมาฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลกลับมาวินิจฉัยซ้ำในประเด็นเดียวกันอีกหาได้ไม่ ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไปมิได้ขอให้ชนะคดีตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์สูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ และการนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นไต่สวน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ม. ถึง 250 หุ้น หุ้นละ 1,000 บาท จึงมีเงินพอเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ได้ มิได้ยากจนจริงจึงยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ใหม่ โดยจะนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. อีกต่อไป กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องในกรณีนี้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นชอบตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมใช้สิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ และการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งในกรณีนี้ไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ต้องคืนเงิน 200 บาท แก่จำเลย
เมื่อหนังสือรับรองของบริษัทและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. ซึ่งไม่มีชื่อจำเลยเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่จำเลยนำมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นนายทะเบียนออกให้ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย กรณีจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำเข้าสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาศาล ส่อเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า อันมีลักษณะประวิงคดี พฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ และจำเลยต้องรับผิดค่าธรรมเนียมธนาคาร
สัญญาจ้างระบุว่าโจทก์จะต้องเริ่มลงมือทำงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดภายในวันที่ 25 กันยายน 2533 แสดงว่าตั้งแต่วันดังกล่าวจำเลยต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบเพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว แม้ในสัญญาจ้างมิได้ระบุถึงเรื่องการส่งมอบพื้นที่ไว้ การที่โจทก์ทราบถึงอุปสรรคเรื่องเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ท่อประปา ตลอดจนการที่มีอาคารของผู้อื่นบางส่วนกีดขวางอยู่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการแก้ไข หากให้โจทก์ลงมือทำงานในส่วนที่ไม่มีอุปสรรคไปก่อนก็อาจไม่ตรงตามงวดของงานตามสัญญาจ้าง และหากมีผลกระทบถึงที่ดินหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โจทก์ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาฐานบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่ให้โจทก์จนกระทั่งล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกัน เมื่อจำเลยไม่คืน จำเลยย่อมต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ที่แพ้คดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 เพียงสัญญาเดียว ในส่วนสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้องอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตเท่านั้น ดังนี้ ในประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (2) และข้อ (4) เมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อซึ่งเป็นกรณีที่ต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลยไปทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาล - มูลหนี้เกี่ยวข้องกัน - สิทธิอุทธรณ์ของจำเลย
จำเลยขอสินเชื่อโดยทำสัญญากับโจทก์หลายประเภท และจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวข้องกันและโจทก์มีสิทธินำมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันได้ ค่าขึ้นศาลที่โจทก์มีหน้าที่ชำระตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 1(ก) จึงเท่ากับสองแสนบาทซึ่งเป็นอัตราสูงสุด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มโดยแยกตามมูลหนี้แต่ละสัญญา จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมายจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระแทนโจทก์หากตนเป็นฝ่ายแพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย จึงมีสิทธิคัดค้านและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเรื่องค่าทดแทนเวนคืน ศาลตัดสินฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้อน เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทซึ่งถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นพร้อมดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินร้อยละ 10.75 ต่อปี ส่วนคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเฉพาะดอกเบี้ยที่จำเลยคำนวณให้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี จากเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยเพิ่มให้โดยอ้างว่าการคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง จะเห็นได้ว่าสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับคดีนี้กับคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน มูลกรณีที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มและดอกเบี้ยก็เนื่องจากที่ดินแปลงเดียวกัน ดอกเบี้ยที่โจทก์ทั้งสองฟ้องในคดีนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยที่ฟ้องไว้แล้วในคดีก่อน แม้ว่ารัฐมนตรีฯ จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองมาภายหลังที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องก่อนแล้วก็ตาม ศาลในคดีก่อนก็ต้องพิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสองในเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคท้าย เมื่อคดีนี้กับคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกัน โจทก์ทั้งสองนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในระหว่างพิจารณา จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน ขอให้รับคำฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาต่อไปนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4491/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีแพ่ง: การคำนวณจากมูลหนี้ที่เกี่ยวข้องกัน และการคิดค่าขึ้นศาลสูงสุด
การคำนวณค่าขึ้นศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ และในคดีที่คำฟ้องมีหลายข้อหา หากทุนทรัพย์แต่ละข้อหาไม่มีความเกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้โดยชัดแจ้ง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ตามมูลหนี้เบิกเงินเกินบัญชี กู้เงิน และขายลดตั๋วเงินรวมเป็นเงิน 30,490,930.10 บาท แม้แยกได้หลายข้อหา แต่หนี้ทั้งหมดจำเลยที่ 2 ได้นำห้องชุดจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน และจำเลยที่ 3 กับที่ 4 ได้ผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกัน มิได้แบ่งแยกเพื่อการประกันหนี้ประเภทใดรายการใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงมีความเกี่ยวข้องกัน การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)(ก) จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและค่าขึ้นศาล: คดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องก่อนวินิจฉัยประเด็นอื่น ถือเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้อแรกว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัย ดังนี้แม้อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้นก็มีผลเพียงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเท่านั้น ยังมิได้ทำให้โจทก์ชนะคดีตามคำขอบังคับท้ายฟ้อง ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ หากแต่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหุ้นกู้: ต้องแยกคำนวณรายกองทุนรวม
กองทุนรวมทั้งสี่กองทุนจดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 124 วรรคสอง ผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปลงทุน ย่อมตกแก่กองทุนรวมแต่ละกองทุนตามส่วนของเงินที่นำไปลงทุน การที่จำเลยเสนอขายหุ้นกู้แก่โจทก์ในคราวเดียวกัน แต่โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ที่นำทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสี่กองทุนไปลงทุนโดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นผลตอบแทนเท่านั้น มิใช่เป็นผู้ซื้อหุ้นกู้ของจำเลยเอง มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นกู้ของแต่ละกองทุนรวมจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมนำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าไถ่ถอนหุ้นกู้ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยในนามกองทุนรวมทั้งสี่กองทุน แม้ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากจำเลยเป็นรายกองทุนรวม
of 13