พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำร้องขอพิจารณาใหม่ & เหตุพ้นกำหนดระยะเวลา การส่งคำบังคับโดยชอบ
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีโดยไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาทตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2542 เจ้าพนักงานศาลจังหวัดนนทบุรีได้ส่งคำบังคับโดยการปิดคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ตามที่ปรากฏในทะเบียนราษฎรจึงเป็นการส่งโดยชอบ จำเลยที่ 2 ต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ 13 กรกฎาคม2542 แต่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ส่วนข้ออ้างในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เพราะจำเลยที่ 2 พักอาศัยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 194/28 และเพิ่งไปพบคำบังคับที่หน้าบ้านตามทะเบียนราษฎรเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2542 ไม่ใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2542 เจ้าพนักงานศาลจังหวัดนนทบุรีได้ส่งคำบังคับโดยการปิดคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ตามที่ปรากฏในทะเบียนราษฎรจึงเป็นการส่งโดยชอบ จำเลยที่ 2 ต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ 13 กรกฎาคม2542 แต่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ส่วนข้ออ้างในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เพราะจำเลยที่ 2 พักอาศัยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 194/28 และเพิ่งไปพบคำบังคับที่หน้าบ้านตามทะเบียนราษฎรเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2542 ไม่ใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน, การยอมรับสภาพหนี้, ผลกระทบการตายของผู้กู้ต่ออายุความ, การฟ้องร้องภายใน 1 ปี
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาอย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยไม่คัดค้านภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาพออนุโลมได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669-1670/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำฟ้องหลายข้อหา และอำนาจศาลในการงดเบี้ยปรับภาษี
การเสียค่าขึ้นศาลต้องพิจารณาจากคำฟ้องเป็นเกณฑ์มิได้พิจารณาเป็นรายคดีหรือรายสำนวน การเสนอข้อหาต่อศาลแต่ละข้อหาก็เป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) แล้ว การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาแยกจากกันได้หรือไม่ หากแยกจากกันได้ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไป การที่จำเลยอุทธรณ์เกี่ยวกับเบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาข้อหาหนึ่งกับเบี้ยปรับของภาษีการค้าอีกข้อหาหนึ่งแยกจากกันได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลแยกเป็นรายข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์และคำขอหลายประเภท ศาลใช้ดุลพินิจขยายเวลาชำระได้
คำฟ้องของโจทก์นอกจากขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แล้ว ยังขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทในราคาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขายให้แก่จำเลยที่ 3 และให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์อีกด้วยคดีตามคำขอส่วนนี้อาจมีผลให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ถือได้ว่าคำขอส่วนแรกเป็นคำขอหลัก คำขอส่วนหลังเป็นคำขอต่อเนื่อง แต่ก็มีผลเพียงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในการอุทธรณ์ฎีกาโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงราคาทรัพย์สินพิพาทเท่านั้น ไม่มีผลทำให้โจทก์มีสิทธิชำระค่าขึ้นศาลแบบคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
แม้การประทับตราในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มที่กำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาลมิใช่การกระทำของศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับเป็นการยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่า ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องมีหมายแจ้งคำสั่งไปให้โจทก์ทราบอีก โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลเกินกำหนดดังกล่าว และในคำร้องมิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าอนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว จึงไม่เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์
แม้การประทับตราในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มที่กำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาลมิใช่การกระทำของศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับเป็นการยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่า ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องมีหมายแจ้งคำสั่งไปให้โจทก์ทราบอีก โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลเกินกำหนดดังกล่าว และในคำร้องมิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าอนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว จึงไม่เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7300/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลล่างสั่งไม่รับฟ้องแย้ง ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง มิใช่ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชนะคดีตามจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 200 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 1 ข้อ (2)(ข)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 พิมพ์ข้อความในหนังสือขอเลิกจ้างการเป็นครูใส่ความโจทก์และปิดประกาศโฆษณาทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โจทก์ประพฤติชั่ว ไม่เหมาะสมที่จะเป็นครูเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทำมาหาได้ของโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้ทำละเมิด และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเอาข้อความในเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองหลายคดีทั้งคดีอาญา คดีแรงงานและคดีนี้ เป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้จำเลยทั้งสองต้องเสียชื่อเสียง ทำให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุในการฟ้องแตกต่างกับคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 พิมพ์ข้อความในหนังสือขอเลิกจ้างการเป็นครูใส่ความโจทก์และปิดประกาศโฆษณาทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โจทก์ประพฤติชั่ว ไม่เหมาะสมที่จะเป็นครูเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทำมาหาได้ของโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้ทำละเมิด และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเอาข้อความในเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองหลายคดีทั้งคดีอาญา คดีแรงงานและคดีนี้ เป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้จำเลยทั้งสองต้องเสียชื่อเสียง ทำให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุในการฟ้องแตกต่างกับคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7117/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน การคืนเงินมัดจำ ดอกเบี้ยผิดนัด และค่าเสียหายจากความผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อความว่า ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าที่ดินแล้ว 432,000 บาท คงค้างชำระอีกเพียง 4,200 บาทซึ่งจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์... หากสัญญาจะซื้อจะขายนี้ไม่ได้กระทำภายในกำหนดเวลาเพราะความผิดของผู้จะขาย ผู้จะขายต้องคืนเงินมัดจำให้แก่ผู้จะซื้อพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีดังนี้ เมื่อตามสัญญาไม่ปรากฏว่ามีการวางมัดจำกันไว้ก็ต้องถือว่าเงิน432,000 บาท ที่จำเลยรับไปจากโจทก์แล้วนั้นเป็นมัดจำซึ่งตรงตามคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงิน 432,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ในฐานที่เป็นมัดจำ อันเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3) และเป็นคนละกรณีกับการใช้เงินคืนเมื่อมีการใช้สิทธิเลิกสัญญาตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งกำหนดให้คิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้เมื่อการเรียกคืนเงินมัดจำไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คิดดอกเบี้ยไว้โดยเฉพาะจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เมื่อหนังสือทวงถามให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน จึงต้องถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืนโดยการฟ้องคดี จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยของเงินมัดจำนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 3,240,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยฎีกายอมรับผิดชำระเงิน 432,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาคือผลต่างของจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดชำระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 กับที่จำเลยฎีกามา
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 3,240,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยฎีกายอมรับผิดชำระเงิน 432,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาคือผลต่างของจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดชำระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 กับที่จำเลยฎีกามา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การคำนวณค่าขึ้นศาลตามประเภทคดี (ปลดเปลื้องทุกข์ vs. ทุนทรัพย์)
ผู้ร้องยื่นคำร้อง ขอให้เพิกถอนการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และมีคำสั่งให้รับเงิน 8,150,000บาท จากผู้ร้องกับดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์ต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับผู้ร้องจะมีผลเพียงให้ผู้ร้องวางเงินไว้ร้อยละห้าของราคาทรัพย์ที่ซื้อโดยวางเพิ่มอีก 8,150,000 บาท และผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินส่วนที่เหลืออีก 173,850,000 บาทไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดคำร้องดังกล่าวไม่มีผลถึงกับเป็นการขอบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายและโอนที่ดินที่ผู้ร้องซื้อได้ให้ผู้ร้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์/ฎีกา: กรณีคดีขอปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่สามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตารางค่าธรรมเนียม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การแล้วเห็นว่าคดีไม่จำต้องสืบพยานบุคคลจึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยพิเคราะห์จากคำแถลงของคู่ความและเอกสารที่ส่งศาลโจทก์อุทธรณ์และฎีกาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลย ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีสืบพยานโจทก์จำเลยใหม่ แม้จะอุทธรณ์และฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องมาด้วยก็เป็นการโต้แย้งข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เท่านั้น ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในเนื้อหาที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม แม้อุทธรณ์ข้อนี้จะฟังขึ้น ก็จะเข้าไปวินิจฉัยเรื่องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มยังไม่ได้ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน ต้องย้อนสำนวนไปให้สืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออุทธรณ์คดีโดยการดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะคนอนาถา ต้องพิสูจน์ความยากจนทางทรัพย์สิน
การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ไม่ว่าจะเป็นค่าอ้างเอกสาร ค่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดีแพ่งตามความเป็นจริงเมื่อมีการรังวัดที่ดินใหม่ และผลกระทบต่อการอุทธรณ์
การคำนวณราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่ว่าเพื่อเสียค่าธรรมเนียมศาลหรืออุทธรณ์ฎีกา ต้องคำนวณตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ตามความเป็นจริง
ตามคำฟ้อง คำให้การและแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความ ได้ คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาทราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท จึงต้องถือว่าราคาทรัพย์สิน หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามคำฟ้อง คำให้การและแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความ ได้ คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาทราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท จึงต้องถือว่าราคาทรัพย์สิน หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง