คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 1

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการแปลงหนี้เดิม กรณีพิพาทสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์
จำเลยทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงให้แก่โจทก์โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์ว่าหากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าสิทธิ์เพลงตามสัญญา โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์ในคดีนี้กล่าวหาว่าผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์และโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ กล่าวหาว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวโดยโจทก์ได้ทำสัญญาให้ ว. ใช้ลิขสิทธิ์เพลงบางส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีแรก ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการตกลงให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงเป็นครั้งคราวและตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์ฉบับเดิม โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทนสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเดิมเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวและไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นก่อน กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่าหนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้ฟ้องรวมกันก็ได้
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องของคดีนั้นเป็นเกณฑ์
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัวโจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคน การที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6834/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเฉพาะฟ้องแย้งเมื่อจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์ในส่วนคำฟ้องเดิม
จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์จึงสั่งจำหน่ายคดีได้เฉพาะฟ้องแย้งของจำเลยเท่านั้น จะสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดรวมทั้งอุทธรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ด้วยไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาซึ่งจำเลยอุทธรณ์ทั้งคดีคือส่วนฟ้องของโจทก์และคดีส่วนฟ้องแย้งของจำเลยโดยให้จำเลยชำระ ค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่ให้ครบถ้วนก่อนอ่านคำพิพากษา เป็นคำขอให้ ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลฎีกา ในส่วนฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยอย่างละ 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังบริษัทเลิก: ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัทไม่ได้ ผู้ชำระบัญชีต้องฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังไม่เลิกและกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาแล้วไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิมที่ถูกเพิกถอนจะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และประกาศในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ก็เป็นเรื่องผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีแล้วขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังไม่
โจทก์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อโจทก์เสียไว้เกินต้องคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: หากรัฐไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีมิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1780/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อซื้อขายเสร็จ การยึดใบคู่มือทะเบียนโดยผู้ไม่ใช่เจ้าของเป็นสิทธิที่ไม่มี
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายริบเงินมัดจำและคืนรถทันทีในสภาพเรียบร้อยทุกประการ" เป็นเพียงการกำหนดวิธีการบังคับเมื่อเกิดกรณีผิดสัญญาขึ้นเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ ถือว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง พ. กับ ป. เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมตกเป็นของ ป. ตั้งแต่ขณะที่การซื้อขายสำเร็จแล้ว
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางทรัพย์ชำระหนี้: เจ้าหนี้ไม่อาจยึด/อายัดทรัพย์ที่ลูกหนี้วางไว้เพื่อชำระหนี้ในคดีอื่นได้
เมื่อลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้เพื่อเป็นการปลดเปลื้องไม่ให้ลูกหนี้ต้องได้รับความเสียหายกฎหมายอนุญาตให้ผู้ชำระหนี้วางทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ และเมื่อวางทรัพย์แล้วย่อมหลุดพ้นจากหนี้ โดยลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ต่อไปอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 334 และ 335 แสดงว่า ลูกหนี้เท่านั้นมีสิทธิถอนทรัพย์ที่วางได้เมื่อจำเลยที่ 2 วางเงินเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ในอีกคดีหนึ่งและไม่ใช้สิทธิถอนทรัพย์เจ้าหนี้ในคดีอื่นจะยึดหรืออายัดเงินที่จำเลยที่ 2 วางเพื่อไปชำระหนี้รายอื่นไม่ได้และเมื่อการอายัดต้องห้ามตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการอายัดเงินแล้วไม่มีการจำหน่าย จึงเรียกค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้
คำร้องอ้างว่าการอายัดไม่ชอบและขอให้ถอนการอายัด เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: การพิจารณาจำนวนข้อหาจากคำฟ้องแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาทในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึงปี 2539 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 38 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ว่า ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งปี 2538 ข้อหาหนึ่ง และปี 2539 อีกข้อหาหนึ่งคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันและสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: พิจารณาจากจำนวนข้อหาที่เสนอต่อศาลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะดังนั้นจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่าคดีหนึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) บัญญัติว่า คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลฯ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหาแต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่ง ปี 2538 ข้อหาหนึ่งและปี 2539อีกข้อหาหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องภาษี - การแยกคำฟ้องตามรอบระยะเวลาบัญชีถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นอีก200,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดีโดยตรง แต่โจทก์ได้ยกเหตุว่าค่าขึ้นศาลอันเป็นค่าฤชาธรรมเนียมนั้น มิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายและโต้แย้งคำสั่งศาลแล้ว จึงอุทธรณ์ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 24 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 168 มาตรา 226 และ 247
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในการพิจารณาว่าโจทก์จะเสียค่าขึ้นศาลเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตาราง 1ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)
การคิดค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ว่า คำฟ้องในกรณีปกติให้เรียกค่าขึ้นศาลโดยอัตรา 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาท แต่ไม่ให้เกิน 200,000 บาทแม้ว่าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทเมื่อคำนวณแล้วจะเกิน 200,000 บาท ก็ตาม ซึ่งหามีบทบัญญัติบังคับว่า ในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท เท่านั้นไม่แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน
คำฟ้องตามมาตรา 1(3) หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล เมื่อพิจารณาประกอบกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 แสดงให้เห็นว่าในการที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลในคำฟ้องฉบับหนึ่งนั้นอาจมีข้อหาหลายข้อด้วยกันได้ และให้อำนาจแก่ศาลมีคำสั่งแยกคดีได้ในกรณีที่ศาลเห็นว่าข้อหาหนึ่งข้อหาใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้อหาอื่น ๆหรือแม้ว่าข้อหาเหล่านั้นเกี่ยวพันกัน แต่ศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะเป็นการสะดวกศาลก็มีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปได้เท่านั้น มิได้บังคับว่าถ้าศาลสั่งแยกข้อหาแล้วจะเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสี่ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าในคำฟ้องใดหรือฉบับเดียวกันในกรณีที่มีหลายข้อหาย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ ซึ่งต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ในคำฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไปว่าเกี่ยวข้องกันหรือแยกกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมาตรา 65ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดสำหรับกรณีพิพาทจึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชีคือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 และอาจมีการดำเนินกิจการ มีผลประกอบการแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับแตกต่างกันได้ กล่าวคือ การคิดคำนวณรายได้และหักรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อหากำไรสุทธิจึงแยกต่างหากออกจากกันได้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้การที่โจทก์รวมภาษีทั้ง 2 รอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาจึงไม่ถูกต้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกเป็นรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชอบแล้ว
of 13