พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838-4839/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนอง ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ และต้องพิจารณาภาระจำนองที่ดินแปลงใหญ่
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับบริษัท ป. และเป็นผู้ครองที่ดินพิพาทอยู่ แต่การจะใช้สิทธิชำระหนี้แทนบริษัท ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 ได้นั้นจะต้องเป็นการชำระหนี้แทนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ด้วย เมื่อขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย บริษัท ป. เป็นหนี้จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมอยู่เป็นเงินประมาณ 18,852,600 บาท ทั้งเป็นการจำนองที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียวภายหลังที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ๆ โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกไปยังคงจำนองด้วยตามสัญญาเดิม ดังนั้น การจำนองที่ดินของบริษัท ป. เป็นการจำนองที่ดินเพียงแปลงเดียว มิใช่การจำนองที่ดินหลายแปลงอันจะแบ่งภาระการจำนองได้ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวบังคับจำเลยให้ยอมรับการชำระหนี้บางส่วนแทนบริษัท ป. แล้วให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนสิทธิจำนองให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์สวมสิทธิเจ้าหนี้จำนองแทนจำเลยเพราะอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลยได้
คดีที่มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงิน 700,000 บาท ได้หรือไม่ ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอ ที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ป. อยู่ ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์และจำเลย
คดีที่มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงิน 700,000 บาท ได้หรือไม่ ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอ ที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ป. อยู่ ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์และจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเมื่อยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ยึด: ต้องคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด แม้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมเพียงบางส่วน
ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ยึดเพียง 1 ใน 5แต่ยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดอ้างว่าไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามมูลค่าแห่งตัวทรัพย์ทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกรณีปล่อยทรัพย์ยึด: ผู้ร้องต้องรับผิดชอบค่าขึ้นศาลตามมูลค่าทรัพย์ทั้งหมด แม้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมเพียงส่วนหนึ่ง
ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ยึดเพียง 1 ใน 5แต่ยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดอ้างว่าไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามมูลค่าแห่งตัวทรัพย์ทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมยื่นขอปล่อยทรัพย์ที่ยึด ย่อมต้องรับผิดชอบค่าขึ้นศาลตามมูลค่าทรัพย์ทั้งหมด
ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ยึดเพียง1ใน5แต่ยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดอ้างว่าไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องชำระค่าขึ้นศาลตามมูลค่าแห่งตัวทรัพย์ทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า การอุทธรณ์จำกัดประเด็น และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสและการปกครองบุตรเท่านั้นส่วนโจทก์มิได้อุทธรณ์ ฉะนั้นคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่โจทก์และจำเลยหย่ากันจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งหมด รวมตลอดถึงประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งยุติไปแล้ว โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสด้วยเช่นนี้ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ศาลฎีกาเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่มิชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและวินิจฉัยประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเลย โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก โจทก์บรรยายฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยโดยระบุว่ามีสินสมรสอยู่ 3 รายการ คือ รถยนต์นั่งยี่ห้อมาสด้า ที่ดินโฉนดที่1912 พร้อมบ้าน 1 หลัง และที่ดินโฉนดที่ 10733 ซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้อื่นอยู่ โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสดังกล่าวกึ่งหนึ่ง จึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ขอแบ่งสินสมรสกึ่งหนึ่งของสินสมรสที่มีอยู่นั่นเอง และตามรายงานกระบวนพิจารณาโจทก์แถลงประสงค์ที่จะได้สินสมรสไว้โดยแบ่งจำนวนเงินให้แก่จำเลยเช่นกันมิใช่มุ่งประสงค์เฉพาะแต่เพียงจำนวนเงินส่วนแบ่งสินสมรสจำนวน352,000 บาท ที่ระบุมาเท่านั้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเป็นจำนวนเงินดังกล่าวมา ก็เป็นการตีราคาทรัพย์สินเป็นทุนทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการคิดคำนวณค่าขึ้นศาล หาใช่เป็นข้อจำกัดแห่งคำฟ้องที่จะต้องแบ่งตามจำนวนเงินที่ตีราคาไม่ ศาลจึงชอบที่พิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสทั้ง 3 รายการ เฉพาะส่วนของโจทก์และจำเลยให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินของผู้เช่านา: สิทธิซื้อคืนตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ แม้ปฏิเสธซื้อก่อน แต่หากราคา/วิธีชำระแตกต่าง ต้องแจ้งสิทธิซื้ออีกครั้ง
แม้จำเลยร่วมได้ลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาที่มีข้อความระบุว่า ฟ. และ ซ. เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยเช่าทำนาอยู่มีความประสงค์จะขายที่ดินโฉนดแปลงดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นในราคาไร่ละ 60,000 บาทผู้เช่านาได้บอกปฏิเสธไม่ซื้อที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้เจ้าของที่ดินขายให้แก่บุคคลอื่นไปได้ อันถือได้ว่าจำเลยร่วมสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 จำนวน 20 ไร่เศษในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงินกว่า 1,200,000 บาท แล้วก็ตาม แต่ถ้า ฟ. และซ. จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลอื่นในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิ ตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนา ฟ. และ ซ. จะต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งใหม่ การที่ ฟ. และ ซ. ขายที่นาพิพาทเนื้อที่ 9 ไร่42 ตารางวา ซึ่งแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษดังกล่าวในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงิน 5 แสนบาทเศษ จึงเป็นการขายที่ดินที่มีจำนวนเนื้อที่และราคาน้อยกว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ถือได้ว่าเป็นการขายที่ดินในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อที่นาดังนี้ ฟ. และ ซ. จึงต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาฉบับเดิม เป็นการปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ด้วยไม่ได้ เมื่อ ฟ. และ ซ. ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยยังมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 53 วรรคหนึ่งจำเลยร่วมในฐานะผู้เช่านาที่นาพิพาทจึงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์และโจทก์ร่วมผู้รับโอนที่นาพิพาทได้ตามมาตรา 54
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก. จังหวัด มิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2(ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก. จังหวัด มิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2(ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การพิจารณาประเภทคดีและผลของการไม่ชำระค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยันและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่นๆที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20บาทมาใช้บังคับสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้องและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายบัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยันหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา132(1)ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากคำร้องเป็นการฟ้องมีผลต่อค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132(1) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมายที่ดิน สัญญาเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันจึงบังคับไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนไว้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ดังนั้นการที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยภายในกำหนดเวลาห้ามโอนเป็นการกระทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายจึงตกเป็นโมฆะ แม้ต่อมาหลังจากทำสัญญาแล้วจะได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ใช้บังคับอยู่เดิมมิให้ใช้บังคับกับที่ดินในกรณีเช่นคดีนี้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่อาจบังคับได้เพราะสัญญาจำนองจะมีได้เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 707ประกอบด้วย มาตรา 681 ดังนั้น จึงไม่อาจบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจำนองได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับจำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ แม้คำฟ้องขอไถ่ถอนจำนองจะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทของโจทก์ และโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยแล้วเป็นการโต้เถียงสิทธิครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นการรวมประเด็นที่ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหรือไม่ตามคำให้การของจำเลยด้วย คดีไม่มีทุนทรัพย์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7170/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเอกสารสิทธิที่ดินหลังชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนอง ข้อตกลงขายที่ดินเป็นคนละส่วน
โจทก์มีหนี้ผูกพันที่จะต้องคืนเงินที่จำเลยได้ไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารแทนโจทก์ส่วนข้อตกลงที่ว่าเมื่อจำเลยไถ่ถอนจำนองแล้วโจทก์จะต้องขายที่ดินที่ไถ่ถอนจำนองดังกล่าวที่ให้จำเลยยึดเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินไว้ให้แก่จำเลยนั้นเป็นข้อตกลงอีกต่างหากหาใช่หนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่จำเลยไถ่ถอนมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241ไม่จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินของโจทก์เมื่อโจทก์นำเงินมาวางศาลเต็มตามจำนวนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารแทนโจทก์แล้วจำเลยจึงต้องคืนเอกสารสิทธิที่อยู่กับจำเลยให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินคืนจำเลยต่อสู้ว่าไม่ต้องคืนเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน