คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 1

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฟ้องบังคับจำนอง: ศาลฎีกาตัดสินอัตราค่าขึ้นศาลที่ถูกต้องเมื่อจำเลยไม่ต่อสู้คดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์มาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา289 คำร้องดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองด้วย เมื่อจำเลยผู้จำนองไม่ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้าน ผู้ร้องก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ (1) (ค) ในอัตราร้อยละหนึ่ง แต่ไม่เกินหนึ่งแสน บาทแม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นการโต้แย้งในชั้นบังคับคดีเท่านั้น ไม่ใช่ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับจำนองโดยตรงและถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านเป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมายของตาราง 1 ค่าขึ้นศาล แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การระบุทุนทรัพย์ในคำฟ้องและผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ซึ่งจำเลยได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะ และขอให้จำเลยออกโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จะเปลี่ยนใจภายหลัง ศาลยังคงยึดตามการเสียค่าขึ้นศาลเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะ และขอให้จำเลยออกโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินที่พิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน, หน้าที่ผู้ขายในการเปิดเผยข้อเท็จจริง, การคิดดอกเบี้ยเงินมัดจำ
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเองแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสีย ไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าว ซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อน และถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้ และเมื่อปรากฎว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาหากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉล, สัญญาจะซื้อจะขาย, หน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูล, การผิดสัญญา, ดอกเบี้ยเงินมัดจำ
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง
กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้ จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124
แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด
ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน:หน้าที่เปิดเผยความจริงของผู้ขายและผลของการนิ่งเสีย
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6378/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีครอบครองปรปักษ์: ศาลคำนวณผิดพลาด ต้องคืนเงินส่วนเกิน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ครอบครองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยโดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์คือ ราคาที่ดินซึ่งโจทก์ก็เสียมาถูกต้องแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุที่ว่าที่ดินตามฟ้องยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงขอบังคับให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มิได้ก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับโดยไม่คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาทแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินอัตราที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ฟ้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดิน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมว่าเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิแต่เป็นการใช้สิทธิทางศาลศาลก็ชอบที่จะเรียกค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ขอให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่เกินเป็นการอุทธรณ์ว่าการที่ศาลชั้นต้นสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวมีผลเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินอันเป็นการกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว และในกรณีอุทธรณ์ว่า ค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายเช่นนี้ แม้จะมิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาโดยตรงของคดีด้วย ก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: การโต้แย้งสิทธิในกองมรดกของจำเลยที่ 1 ในฐานะบุคคลภายนอก ไม่ใช่การจัดการมรดก
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขายกับจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อโดยอ้างว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ร. กึ่งหนึ่งจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ร่วมกับโจทก์ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ได้ครอบครองมาโดยตลอด หากฟังว่าที่ดินเป็นมรดกของ ร. สิทธิของทายาท ร. ก็ขาดอายุความแล้ว การโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมิได้กระทำในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. แต่เป็นการโต้แย้งโดยอ้างอำนาจของตนเอง จึงมิใช่เป็นการทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกของร.กรณีมิใช่เป็นเรื่องความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการจัดการมรดกของร. ซึ่งต้องถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก ถ้าเสียงเท่ากันเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ทั้งระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ก็ได้ถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ร.แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ที่เหลืออยู่แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ตามสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์อุทธรณ์ฎีกาเพียงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามลำดับ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากความเจ็บป่วยของทนาย และการพิจารณาความเกี่ยวข้องของการยื่นบัญชีพยาน
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยมีใบรับรองแพทย์แสดงว่าทนายจำเลยป่วย ทนายโจทก์ไม่ได้คัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ได้ป่วยจริง แต่กลับแถลงว่าทนายจำเลยขอเลื่อนเพื่อหาโอกาสระบุพยานจำเลยเพราะจำเลยไม่ได้ระบุบัญชีพยานไว้ เช่นนี้หาเป็นเหตุที่จะมาเป็นข้อพิจารณาว่าควรอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ เนื่องจากการยื่นบัญชีระบุพยานต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 20 เมื่อทนายจำเลยขอเลื่อนคดีครั้งแรก จึงควรอนุญาตให้เลื่อนคดีได้ จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกคำพิพากษาของศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท อย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้ปฏิเสธการออกเช็คชัดแจ้ง ถือว่ารับสภาพหนี้ตามเช็ค และข้อต่อสู้เรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่นใช้ไม่ได้ผล
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินตามเช็คฉบับเดียว จำเลยให้การว่า เคยออกเช็ค 2 ฉบับชำระหนี้ค่าซื้อรถยนต์และค่าเบี้ยประกันภัยแก่ น. ต่อมาผู้รับประกันภัยไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ตามที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงห้ามธนาคารจ่ายเงิน ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่อาจทราบได้ว่า เช็ค 2 ฉบับ มีฉบับที่โจทก์ฟ้องรวมอยู่ด้วยหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธให้ชัดแจ้งจึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คตามฟ้องจริง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การโอนเช็คให้โจทก์มีขึ้นด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลหรือโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยไม่สุจริต จำเลยจะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับ น.ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท มิใช่คิดตามทุนทรัพย์พิพาท
of 13