คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ และผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล
คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานและการสืบพยานเนื่องจากศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ดังนั้นตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา ถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยที่ 2แก้ไขคำให้การได้ หาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ไม่ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 181 ซึ่งหมายถึงให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 เสียใหม่นั้น เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การทั้งสองครั้งและมีโอกาสคัดค้านทั้งในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นควรสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอีก และเมื่อจะต้องรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การและดำเนินคดีต่อไปเช่นนี้แล้ว ก็เป็นอันยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งโจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเช่นเดียวกัน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดี และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเช่นเดียวกัน จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ซึ่งที่ถูกจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ 200 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อขายสินสมรส จำเลยให้การไม่ชัดเจน ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 (เดิม) ส่วนข้อที่จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 นั้น หามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท ก่อนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใด ซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2533 ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 วรรคสอง (เดิม) เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่14 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนี้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ภริยาโจทก์และจำเลยที่ 2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7679/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ ไม่ใช่แค่ตัวอักษรหรือสำเนียง
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ของจำเลยที่ 1 มีตัวอักษรโรมันตรงกับตัวอักษรโรมัน 5 ตัวท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTAของโจทก์ก็ตาม แต่การที่เครื่องหมายการค้ารายใดจะเหมือนกันหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจำต้องพิเคราะห์องค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน จะพิเคราะห์แต่ตัวอักษรหรือสำเนียงที่ออกเสียงแต่อย่างเดียวมาเป็นข้อวินิจฉัยหาได้ไม่ สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA และ ALACTA-NF ของโจทก์เป็นนมผงสำหรับเลี้ยงทารก ปัจจุบันในประเทศไทยไม่มีสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTAจำหน่าย คงมีจำหน่ายเฉพาะสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA-NFซึ่งประชาชนเรียกขานกันสั้น ๆ ว่า นมอะแล็คต้า โดยสินค้าดังกล่าวบรรจุอยู่ในภาชนะกระป๋องโลหะทรงกลมขนาดต่าง ๆ สินค้าของโจทก์ขนาดเล็กสุดจำหน่ายในราคากระป๋องละ 62.50 บาท ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA เป็นนมสดพร้อมดื่มบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษสี่เหลี่ยมจำหน่ายในราคากล่องละ 5 ถึง 6 บาท นอกจากการวางรูปตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTAสำหรับสินค้าของจำเลยที่ 1 มีลักษณะไม่เหมือนกันแล้ว ยังปรากฏว่ามีรูปวัวอยู่ที่ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ของกล่องกระดาษบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ทั้งมีการระบุไว้โดยชัดแจ้งบนกล่องกระดาษนั้นด้วยว่าผลิตโดยจำเลยที่ 1 ในขณะที่กระป๋องโลหะทรงกลมบรรจุสินค้าของโจทก์มีชื่อโจทก์ปรากฏอยู่และมีข้อความระบุว่าผลิตจากประเทศนิวซีแลนด์ ดังนี้ เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีข้อแตกต่างกันโดยเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 5 ตัว และเป็นคำมี 2 พยางค์ โดยมีตัวอักษรตัวแรกเป็นตัว "L" ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่าALACTA ของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 6 ตัว และเป็นคำมี 3 พยางค์ โดยมีตัวอักษรตัวแรกเป็นตัว "A" สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองนั้นเป็นสินค้าคนละชนิด บรรจุอยู่ในภาชนะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีราคาแตกต่างกันมาก สาธารณชนย่อมไม่หลงผิดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTAเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA ของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ที่จำเลยที่ 1 โอนให้จำเลยที่ 2 แล้ว เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ดีกว่าจำเลยทั้งสองและไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA
คดีนี้จำเลยทั้งสองต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์โดยไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคตมาด้วย จำเลยทั้งสองจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาต้องคืนแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7133/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความสูญหาย/เสียหายของสินค้า และอายุความฟ้องร้อง
ในการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น ใบตราส่งเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงว่าผู้ใดเป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว เพราะเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับของที่ส่ง จุดหมายปลายทาง ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า นอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดถึงชื่อหรือยี่ห้อของผู้ส่ง จำนวนค่าระวาง พาหนะ สถานที่และวันที่ออกใบตราส่ง และลายมือชื่อผู้ขนส่งด้วย จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินเรือและดำเนินการพาณิชย์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศและในต่างประเทศ เมื่อใบตราส่งมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นใบตราส่งของจำเลย แม้จะปรากฏชื่อบริษัทย.ประทับไว้ และมีลายมือชื่อผู้จัดการอยู่ใต้ข้อความที่ระบุว่า "กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น วันที่ 19 มิถุนายน 2532" อันเป็นสถานที่และวันที่ออกใบตราส่งแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ย.เป็นผู้มีหน้าที่ออกใบตราส่งและเมื่อการสั่งซื้อสินค้ารายพิพาทผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยทางเรือดังนั้น ที่ปรากฏชื่อบริษัท ย. และลายมือชื่อผู้จัดการในใบตราส่งดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่บริษัท ย.โดยผู้จัดการลงชื่อในฐานะผู้ร่วมขนส่งเพื่อแสดงว่าใบตราส่งนั้นได้ออกที่ใดและเมื่อใดเท่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยและบริษัท ย.ร่วมกันขนส่งสินค้ารายพิพาท
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งร่วม การมอบอำนาจและการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์มีผลต่อการรับผิดชอบค่าเสียหาย
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่1จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่1ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วแต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งฎีกาจำเลยที่1ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ใบตราส่งเป็นแบบ ฟลูไลเนอร์เทอม ซึ่งหมายความว่าหน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือ ฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือ เกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเองจำเลยที่1ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่2ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วยส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้ารวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจคนเข้าเมืองนั้นกิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่2ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเองการที่จำเลยที่1ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือยังไม่พอถือว่าจำเลยที่1เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่2และเรือใหญ่ด้วยจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่1ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ283,734.40บาทซึ่งจำเลยที่1ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง7,092.50บาทแต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน359,497.31บาทด้วยและให้จำเลยที่1เสียค่าขึ้นศาลฎีกาเป็นเงิน8,987.50บาทจำเลยที่1จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน1,895บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจขนส่งสินค้าและการรับผิดชอบความเสียหาย: การที่จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมขนส่งโดยตรง จึงไม่ต้องรับผิดชอบ
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่ 1 จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้ว แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ใบตราส่งเป็นแบบฟูลไลเนอร์ เทอม ซึ่งหมายความว่า หน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วย ส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้า รวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจ-คนเข้าเมืองนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือ ยังไม่พอถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 และเรือใหญ่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และให้จำเลยที่ 1เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด & ค่าขึ้นศาลฎีกา
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 4 ตุลาคม 2536 แม้จะเป็นเวลาน้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันชี้สองสถาน แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานได้จนถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2536 แต่วันดังกล่าวเป็นวันอาทิตย์หยุดราชการ รุ่งขึ้นวันที่ 4โจทก์ก็ยื่นบัญชีระบุพยานทันที ทั้งปรากฏด้วยว่าโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอส่งสำเนาเอกสารที่โจทก์ได้อ้างเป็นพยานตามบัญชีระบุพยานให้แก่ศาลและจำเลยได้รับไปจากศาลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 แล้วเช่นนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มิได้จงใจฝ่าฝืนและเอาเปรียบจำเลยฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานน้อยกว่าสิบห้าวันและมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานต่อศาล แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สมควรให้รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)
จำเลยฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้รับบัญชีระบุพยานของโจทก์เป็นการไม่ชอบ เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง 200 บาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์สินที่พิพาทจึงเสียเกินมา ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งคืนแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายโจทก์ป่วย: ศาลรับฟังเหตุผลและอำนาจการไต่สวน/ตรวจสอบของศาล
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่น อ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อ่อนเพลีย อันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้ว มิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริง จึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 21 (4)หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บ จึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง
คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเนื่องจากทนายจำเลยหลงลืม และการงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมาย
การที่ทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาตามกฎหมายนั้นเพราะทนายจำเลยหลงลืมนับว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานได้ตามขอและคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้โดยให้เหตุผลประการหนึ่งว่าฮ.ไปดำเนินการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทไม่ตรงตามที่ช.บอกไว้แต่ตามคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยจำเลยอ้างว่าเพื่อจะนำพยานเข้าสืบในประเด็นข้อสำคัญว่าช. มอบอำนาจให้ฮ. ไปโอนที่ดินแทนหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องนอกประเด็นที่จำเลยให้การไว้กรณีจึงไม่มีเหตุผลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและจำเป็นที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานตามคำร้องของจำเลยได้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ประการใดและเมื่อจำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิจะนำพยานเข้าสืบการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว ตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำขอท้ายอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจำเลยมิได้ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีเพียงแต่ขอให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบเท่านั้นแม้จำเลยจะใช้ถ้อยคำในคำขอว่าพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็เป็นการใช้คำที่ไม่ถูกต้องเท่านั้นไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาลถือเป็นการทิ้งฟ้อง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลใหม่อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องภายใน15 วัน โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่า เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ จึงให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องมาวางศาลภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาใหม่ให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพื่อที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยชอบคำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
แม้โจทก์จะเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ให้ครบภายในเวลาที่กำหนดอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์กระทำได้แต่เพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในโอกาสต่อไปเท่านั้น การที่โจทก์มีข้อโต้แย้งหรือเห็นว่าคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลแต่อย่างใด มิฉะนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาจะเป็นไปโดยไม่สะดวกและเรียบร้อย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
of 6