พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน: สิทธิติดตามทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ไม่ผูกพันอายุความทั่วไป
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้มารดาโจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อส. และล. น้องของโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์แต่มารดาโจทก์กลับไปกรอกข้อความดำเนินการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่ตนเองแล้วมารดาโจทก์จะทะเบียนยกให้แก่จำเลยต่อไปและคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือมอบอำนาจกับหนังสือสัญญาขายที่ดินตามฟ้องเป็นโมฆะให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและยกให้ดังกล่าวทั้งขอให้พิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องด้านทิศใต้เนื้อที่6ไร่เป็นของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยมิชอบโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิดังกล่าวเว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา227ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200บาทตามตาราง1ข้อ2ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230-3231/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องค่าขึ้นศาลคดีพิพาทที่ดิน เพราะฎีกาแรกไม่เป็นสาระหลังมีการยื่นฎีกาใหม่ร่วมกับจำเลยอื่น
จำเลยที่2อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาว่าการอ่านคำพิพากษาไม่ใช่การพิจารณาเมื่อคดีนี้มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วศาลชั้นต้นเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบเพื่อให้ศาลฎีกามีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ฉบับแรกซึ่งศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะถือว่ายังไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากได้เพิกถอนการอ่านแล้วแต่ต่อมาจำเลยที่2ได้ยื่นฎีการ่วมกับจำเลยที่1ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้วฎีกาจำเลยที่2ที่ว่าควรรับฎีกาของจำเลยที่2ฉบับแรกหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดี โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองเป็นการโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทแม้จะมีการดำเนินคดีเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแบ่งทรัพย์สินรวม การที่จำเลยไม่ยกข้อโต้แย้งในชั้นต้น-อุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้น จำเลยที่ 1มิได้ ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับได้
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้นจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรเพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์แม้จำเลยที่1ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวม แม้จำเลยไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับแบ่งได้ เหตุผลค่าขึ้นศาลต้องยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งทรัพย์สินรวม: เจ้าของรวมมีสิทธิขอแบ่งได้ แม้จำเลยไม่ยินยอม
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้นจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรเพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์แม้จำเลยที่1ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 224 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง คดีขับไล่และกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทที่เช่าและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจำเลยให้การว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้ม.ไปแล้วโจทก์หลอกลวงให้ม.กับจำเลยลงชื่อในสัญญาเช่าโดยไม่บรรยายว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยกรณีจึงมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหากแต่เป็นของบุคคลอื่นโจทก์จำเลยจึงมิได้พิพาทกันในกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่เป็นคดีมีทุนทรัพย์แต่เป็นคดีฟ้องขับไล่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ4,000บาทศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของม.ภรรยาจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำเลยกับภรรยาครอบครองยังไม่ครบ10ปีแม้จะครอบครองเกินกว่า10ปีก็ครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีขับไล่และการขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทที่เช่าและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยให้การว่า โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้ ม.ไปแล้ว โจทก์หลอกลวงให้ ม.กับจำเลยลงชื่อในสัญญาเช่าโดยไม่บรรยายว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย กรณีจึงมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย หากแต่เป็นของบุคคลอื่น โจทก์จำเลยจึงมิได้พิพาทกันในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ไม่เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เป็นคดีฟ้องขับไล่ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ม. ภรรยาจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยกับภรรยาครอบครองยังไม่ครบ 10 ปี แม้จะครอบครองเกินกว่า 10 ปี ก็ครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง ถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในคดีที่มีโจทก์หลายคน: ศาลฎีกาพิจารณาค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองคนละจำนวนแยกจากกันโดยเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาในอัตราสูงสุดเป็นเงินคนละ200,000บาทเมื่อจำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องในอัตราสูงสุดคนละ200,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง และการพิจารณาอำนาจฟ้องในคดีแพ่ง
จำเลยฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ไม่ว่าผลจะเป็นประการใด ก็เป็นแต่เพียงชี้ขาดว่าคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือถ้าไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกานั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาได้ จำเลยเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ก็เป็นฎีกาที่ชอบ จึงไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา ให้แก่โจทก์โดยกำหนดทุนทรัพย์ 3,000 บาทจำเลยที่ 1 คัดค้าน โจทก์กับจำเลยที่ 1 รับกันว่าที่ดินตามฟ้องราคา 150,000 บาทจึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ครึ่งหนึ่งของที่โจทก์ฟ้องคือเนื้อที่2 ไร่ 55 ตารางวา อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก
ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ก็เป็นฎีกาที่ชอบ จึงไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา ให้แก่โจทก์โดยกำหนดทุนทรัพย์ 3,000 บาทจำเลยที่ 1 คัดค้าน โจทก์กับจำเลยที่ 1 รับกันว่าที่ดินตามฟ้องราคา 150,000 บาทจึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ครึ่งหนึ่งของที่โจทก์ฟ้องคือเนื้อที่2 ไร่ 55 ตารางวา อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก