พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องในสินสมรส
การที่โจทก์และ ก. หย่ากันโดยทำข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินตามใบยอมความและได้กระทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะขอจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยความสมัครใจและตกลงแบ่งทรัพย์สินกัน รวมทั้งสวนยางพาราที่ดิน ส.ค.1 ตามฟ้อง เห็นได้ว่าโจทก์และ ก. ประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อใบยอมความเป็นข้อตกลงกันในเรื่องเกี่ยวกับสินสมรส จึงเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสระงับไป โจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในใบยอมความดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินตามฟ้องอีก
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้คือชั้นละ 200 บาท
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้คือชั้นละ 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การส่งมอบสินค้าเป็นน้ำเยื่อกระดาษ มีมิเตอร์วัดปริมาณชัดเจน ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบ ไม่ใช่เมื่อรับชำระเงิน
โจทก์ขายเยื่อกระดาษ มีสภาพเป็นน้ำเยื่อกระดาษส่งผ่านท่อตลอด 24 ชั่วโมง แต่ขายให้ลูกค้าเพียงรายเดียว มีมิเตอร์วัดปริมาณการขายเป็นรายวันสามารถทราบปริมาณการขายในแต่ละวันได้ชัดเจน โดยสรุปรายการไว้ใน Daily Report เป็นกรณีที่ทราบจำนวนเนื้อเยื่อกระดาษที่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแต่ละวันได้แน่นอน ความรับผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ตามมาตรา 78 (1) แห่ง ป.รัษฎากร กรณีหาใช่เป็นการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับการขายกระแสไฟฟ้า ตามมาตรา 78/3 (1) ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ข้อ 1 ไม่
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นภาษีคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษี ต้องเสียค่าขึ้นศาล โดยคิดแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นภาษีคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษี ต้องเสียค่าขึ้นศาล โดยคิดแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669-1670/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลและอำนาจศาลในการงดเบี้ยปรับ: พิจารณาเป็นรายข้อหาและใช้ดุลพินิจได้
การเรียกค่าขึ้นศาลต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาแยกจากกันได้หรือไม่ หากแยกจากกันได้ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไป จำเลยอุทธรณ์เกี่ยวกับเบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาข้อหาหนึ่งกับเบี้ยปรับของภาษีการค้าอีกข้อหาหนึ่งแยกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลแยกเป็นรายข้อหา
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 11/2529 เป็นระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินต้องถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาล การงดหรือลดเบี้ยปรับเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และศาลยังมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีมีเหตุอันสมควร
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 11/2529 เป็นระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินต้องถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาล การงดหรือลดเบี้ยปรับเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และศาลยังมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีมีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์ การขยายระยะเวลาชำระ และการใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และยังมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ถือได้ว่า คำขอส่วนแรกเป็นคำขอหลัก คำขอส่วนหลังเป็นคำขอต่อเนื่อง แต่ก็มีผลเพียงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในการอุทธรณ์ฎีกาโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงราคาทรัพย์สินพิพาทเท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้โจทก์มีสิทธิชำระค่าขึ้นศาลแบบคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่ประการใดไม่ ทั้งนี้ตามตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์พิพาทในอัตราสองบาทห้าสิบสตางค์ต่อทุกหนึ่งร้อยบาท แต่ไม่ให้น้อยกว่าสองร้อยบาท
แม้การประทับตรากำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในตราประทับดังกล่าว เป็นการยืนยันต่อศาลว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่าถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องมีหมายแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบอีก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ภายในวันที่ 5 กันยายน 2542 แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยังชำระค่าธรรมเนียมศาลได้จนถึงวันที่ 6 กันยายน 2542 หรือหากจะขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลอีก โจทก์ต้องยื่นคำร้องภายในวันดังกล่าว การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลในวันที่ 7 กันยายน 2542 จึงเป็นการยื่นเกินกำหนด และเมื่อในคำร้องฉบับดังกล่าวโจทก์มิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามป.วิ.พ. มาตรา 23
หาเป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ไม่ คดีนี้ศาลมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ว่า อนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว ย่อมชอบแล้ว
แม้การประทับตรากำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในตราประทับดังกล่าว เป็นการยืนยันต่อศาลว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่าถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องมีหมายแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบอีก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ภายในวันที่ 5 กันยายน 2542 แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยังชำระค่าธรรมเนียมศาลได้จนถึงวันที่ 6 กันยายน 2542 หรือหากจะขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลอีก โจทก์ต้องยื่นคำร้องภายในวันดังกล่าว การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลในวันที่ 7 กันยายน 2542 จึงเป็นการยื่นเกินกำหนด และเมื่อในคำร้องฉบับดังกล่าวโจทก์มิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามป.วิ.พ. มาตรา 23
หาเป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ไม่ คดีนี้ศาลมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ว่า อนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว ย่อมชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเสียหายจากละเมิดเครื่องหมายการค้า และการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน
โจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท น. ซึ่งประกอบกิจการน้ำดื่มโดยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูป คดีก่อนศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 272 (1) ฐานเอาชื่อ รูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ แต่ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์กิจการของโจทก์มีกำไรมากขึ้นจากเดิม โจทก์จึงไม่เสียหายในผลกำไรที่โจทก์ควรได้จากการจำหน่ายน้ำดื่ม
จำเลยระบุเหตุในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยเพิ่งทราบว่ามีพยานดังกล่าวที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัท น.ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการว่าระหว่างปี 2537 ถึงปี 2540 บริษัทมีกำไรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 600,000 บาทข้อเท็จจริงเหล่านั้นจะปรากฏอยู่ในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี เช่นงบดุล แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ รายงานของผู้สอบบัญชี เป็นต้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้จัดทำขึ้นและยื่นต่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่น พยานบุคคลและเอกสารที่จำเลยระบุอ้างเพิ่มเติมก็เป็นสรรพากรจังหวัดขอนแก่นกับงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในความครอบครองของสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่นทั้งสิ้น หาได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยผู้อ้างที่ต้องแนบสำเนามาท้ายคำให้การดังที่กำหนดไว้ในข้อ 7 แห่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ไม่ การอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีย่อมทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวเป็นไปโดยเที่ยงธรรม การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว จึงอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อข้อกำหนดหรือเป็นการที่จำเลยจงใจดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นการเอาเปรียบคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 3
โจทก์ดำเนินกิจการน้ำดื่มโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูปมากว่า 20 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่ผู้บริโภคว่าน้ำดื่มของโจทก์มีคุณภาพ การที่จำเลยผลิตน้ำดื่มไม่มีคุณภาพออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง แม้โจทก์ไม่อาจสืบให้เห็นได้แจ้งชัดว่าน้ำดื่มที่จำเลยผลิตไม่มีคุณภาพ และโจทก์เสียหายมากน้อยเพียงใด แต่การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหาย ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากโจทก์เกินไปจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยระบุเหตุในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยเพิ่งทราบว่ามีพยานดังกล่าวที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัท น.ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการว่าระหว่างปี 2537 ถึงปี 2540 บริษัทมีกำไรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 600,000 บาทข้อเท็จจริงเหล่านั้นจะปรากฏอยู่ในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี เช่นงบดุล แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ รายงานของผู้สอบบัญชี เป็นต้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้จัดทำขึ้นและยื่นต่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่น พยานบุคคลและเอกสารที่จำเลยระบุอ้างเพิ่มเติมก็เป็นสรรพากรจังหวัดขอนแก่นกับงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในความครอบครองของสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่นทั้งสิ้น หาได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยผู้อ้างที่ต้องแนบสำเนามาท้ายคำให้การดังที่กำหนดไว้ในข้อ 7 แห่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ไม่ การอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีย่อมทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวเป็นไปโดยเที่ยงธรรม การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว จึงอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อข้อกำหนดหรือเป็นการที่จำเลยจงใจดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นการเอาเปรียบคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 3
โจทก์ดำเนินกิจการน้ำดื่มโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูปมากว่า 20 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่ผู้บริโภคว่าน้ำดื่มของโจทก์มีคุณภาพ การที่จำเลยผลิตน้ำดื่มไม่มีคุณภาพออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง แม้โจทก์ไม่อาจสืบให้เห็นได้แจ้งชัดว่าน้ำดื่มที่จำเลยผลิตไม่มีคุณภาพ และโจทก์เสียหายมากน้อยเพียงใด แต่การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหาย ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากโจทก์เกินไปจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: คดีล้มละลาย - การขยายระยะเวลาวางเงินซื้อทรัพย์ - ค่าขึ้นศาลคำขอปลดเปลื้องทุกข์
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และมีคำสั่งให้รับเงิน 8,150,000 บาท จากผู้ร้อง กับดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์ต่อไป ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยจะมีผลเพียงให้ผู้ร้องวางเงินไว้ร้อยละห้าของราคาทรัพย์ที่ซื้อโดยวางเพิ่มอีกเป็นเงิน 8,150,000 บาท และผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงินส่วนที่เหลืออีกจำนวน 173,850,000 บาท ไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้มีผลเป็นการขอบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายและโอนที่ดินที่ผู้ร้องซื้อได้จากการขายทอดตลาดให้ผู้ร้อง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ไม่ใช่เสียตามทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลฎีกาเกินจริง: กรณีอุทธรณ์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์
แม้ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ผู้ฎีกาก็ยังมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดีที่ดิน: ใช้เนื้อที่จริงในการคิดค่าธรรมเนียมและอุทธรณ์ แม้การประมาณการในชั้นต้นจะต่างกัน
การคำนวณราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่ว่าเพื่อเสียค่าธรรมเนียมศาลหรืออุทธรณ์ฎีกา ต้องคำนวณตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ตามความเป็นจริง
ตามคำฟ้อง คำให้การ และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความได้คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ที่ดินพิพาทได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาท ราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท ต้องถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
ตามคำฟ้อง คำให้การ และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความได้คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ที่ดินพิพาทได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาท ราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท ต้องถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้ฟ้องรวมกัน
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องของคดีนั้นเป็นเกณฑ์
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัว โจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคนการที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัว โจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคนการที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์: ศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขก่อนรับคำฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้ยกฟ้อง
คดีแพ่ง คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 67 (5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนด หากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)