คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (15)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความ: จำเลยต้องเป็นผู้รับทราบ ไม่ใช่ทนายความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2(15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ"ไว้ว่าหมายถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมาตรา 2(3) บัญญัติคำว่า "จำเลย"หมายถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ฉะนั้นทนายจำเลยจึงมิได้เป็นจำเลยหรือเป็นคู่ความตามความหมายดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีฟัง โดยมีล่ามแปลให้จำเลยเข้าใจผลแห่งคำพิพากษานั้น และให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้วเช่นนี้ เป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทราบจะขัดต่อระเบียบหรือวิธีปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ก็หาเป็นเหตุให้การอ่านคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฎีกาจำกัดเฉพาะโจทก์/โจทก์ร่วม การฎีกาขอลงโทษจำเลยโดยผู้ไม่เกี่ยวข้องเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าจำเลยที่ 3 ที่ 5และที่ 7 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าจำเลยที่ 7 จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ เพราะมิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วมศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 7 ข้อนี้มาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องมีสิทธิโดยกฎหมายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30,31ได้บัญญัติเกี่ยวกับ การร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการและกรณีที่พนักงานอัยการร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ ผู้เสียหายสำหรับคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นส่วนกรณีที่ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายด้วยกันมิได้มีกฎหมายบัญญัติ ให้อำนาจไว้สิทธิการ ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญานอกจากสองกรณี ดังกล่าวนี้แล้วย่อมไม่อาจมีได้ดังนั้นในคดีอาญาที่ผู้เสียหายคนหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องคดีไว้ก่อนแล้ว ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งไม่อาจยื่นคำร้องขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับโจทก์ในคดีนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบโจทก์ที่ 2ที่3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และจำหน่ายคดี ต่อมาได้
ปัญหาเกี่ยวกับการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม เป็นปัญหาที่เกี่ยว ด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตามคำสั่ง คปถ. และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 22 ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่า บุคคลผู้ถูกควบคุมนั้นมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ โดยเฉพาะในคำสั่งก็ไม่มีข้อความระบุว่าให้อำนาจในการจับกุมและควบคุมของเจ้าพนักงานเป็นที่สุด หรือห้ามบุคคลใด ๆ นำกรณีดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าบุคคลใดมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ อันจะนำข้อเท็จจริงไปสู่ข้อวินิจฉัยว่าการที่เจ้าพนักงานควบคุมบุคคลผู้นั้น เป็นการควบคุมโดยชอบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 และศาลได้หมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งก่อให้เกิดการควบคุมหรือขังเข้ามาในคดีแล้ว ย่อมถือว่ามีข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดค้าน และเป็นคู่ความ เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไร หากผู้ร้องหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยตามคำสั่ง ก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นภัยต่อสังคม และสิทธิในการร้องขอความเป็นธรรม
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 22 ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าบุคคลผู้ถูกควบคุมนั้นมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่โดยเฉพาะในคำสั่งก็ไม่มีข้อความระบุว่าให้อำนาจในการจับกุมและควบคุมของเจ้าพนักงานเป็นที่สุด หรือห้ามบุคคลใด ๆ นำกรณีดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าบุคคลใดมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ อันจะนำข้อเท็จจริงไปสู่ข้อวินิจฉัยว่าการที่เจ้าพนักงานควบคุมบุคคลผู้นั้น เป็นการควบคุมโดยชอบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90และศาลได้หมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งก่อให้เกิดการควบคุมหรือขังเข้ามาในคดีแล้ว ย่อมถือว่ามีข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดค้าน และเป็นคู่ความ เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไร หากผู้ร้องหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยตามคำสั่งก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม ผู้เสียหายระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) คำว่า'โจทก์หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน' เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าวก็ย่อมเป็น 'คู่ความ' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2(15) จึงชอบที่จะระบุพยานหรือสืบพยานเพิ่มเติมได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และ 228
of 2