พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว การพิสูจน์ทรัพย์สิน และขอบเขตความรับผิดของคู่สมรส
การยื่นฟ้องและชั้นตรวจคำฟ้องในคดีล้มละลาย ไม่มีกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 18 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่ได้บังคับว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นเอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้อง ประกอบกับโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาแล้วว่า โจทก์มอบอำนาจให้ว่าที่พันตรี ส. หรือ ข. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ อีกทั้งโจทก์ยื่นคำร้องอ้างเหตุที่มิได้ส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เนื่องจากหลงลืมและขอส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลและจำเลยทั้งสี่ ก่อนวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นเวลาประมาณ 1 ปี จำเลยทั้งสี่ย่อมมีโอกาสแก้ไขคำให้การได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ชอบ ดังนั้น แม้ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจะไม่มีหนังสือมอบอำนาจแนบมาด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์จะเคยนำหนี้ในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยทั้งสี่ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 862/2549 ของศาลจังหวัดปราจีนบุรี ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ โดยโจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความคนเดียวกันและคดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ ส่วนในคดีนี้ประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและสมควรถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ จึงเป็นการยื่นคำฟ้องคนละเรื่องกัน ฟ้องของโจทก์หาเป็นฟ้องซ้อนไม่
ในการฟ้องคดีล้มละลายเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามกระบวนการกฎหมายล้มละลาย โจทก์มีสิทธิที่ฟ้องได้ภายในอายุความที่กฎหมายกำหนด ส่วนจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ ย่อมมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยได้ตามข้อตกลงในสัญญาแห่งมูลหนี้นั้น ๆ เหตุที่ดอกเบี้ยค้างชำระจำนวนมากก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสี่ผิดนัดชำระหนี้ แม้หากดอกเบี้ยเป็นเบี้ยปรับในชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ นอกจากนี้ แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยทั้งสี่ในคดีแพ่งและขอถอนฟ้อง และจำเลยทั้งสี่คัดค้านก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีล้มละลายอีกได้ ประกอบกับศาลในคดีแพ่งได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องยังไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเพื่อบีบบังคับแก่จำเลยทั้งสี่ และใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงิน และหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 ทำหนังสือให้ความยินยอมในฐานะเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 แม้หนี้ดังกล่าวจะไม่ใช่หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสดั่งที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 4 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวที่จำเลยที่ 4 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่มีต่อโจทก์
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาวงเงินขายลดตั๋วเงินซึ่งสามารถคิดคำนวณยอดหนี้จนถึงวันฟ้องได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใดโดยหาจำต้องรอให้ศาลในคดีแพ่งพิพากษากำหนดจำนวนหนี้จนคดีถึงที่สุดแล้วนำมาฟ้องคดีล้มละลายไม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) เพียงแต่กำหนดว่าหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตามเท่านั้น โดยหาได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลต้องพิพากษากำหนดจำนวนแน่นอนเสียก่อนไม่ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์ย่อมมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ให้ล้มละลายได้
ก่อนฟ้องโจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่โดยยื่นคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาในเขตรับผิดชอบแล้วปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า จำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และ (9) แล้ว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
แม้โจทก์จะเคยนำหนี้ในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยทั้งสี่ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 862/2549 ของศาลจังหวัดปราจีนบุรี ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ โดยโจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความคนเดียวกันและคดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ ส่วนในคดีนี้ประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและสมควรถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ จึงเป็นการยื่นคำฟ้องคนละเรื่องกัน ฟ้องของโจทก์หาเป็นฟ้องซ้อนไม่
ในการฟ้องคดีล้มละลายเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามกระบวนการกฎหมายล้มละลาย โจทก์มีสิทธิที่ฟ้องได้ภายในอายุความที่กฎหมายกำหนด ส่วนจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ ย่อมมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยได้ตามข้อตกลงในสัญญาแห่งมูลหนี้นั้น ๆ เหตุที่ดอกเบี้ยค้างชำระจำนวนมากก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสี่ผิดนัดชำระหนี้ แม้หากดอกเบี้ยเป็นเบี้ยปรับในชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ นอกจากนี้ แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยทั้งสี่ในคดีแพ่งและขอถอนฟ้อง และจำเลยทั้งสี่คัดค้านก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีล้มละลายอีกได้ ประกอบกับศาลในคดีแพ่งได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องยังไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเพื่อบีบบังคับแก่จำเลยทั้งสี่ และใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงิน และหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 ทำหนังสือให้ความยินยอมในฐานะเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 แม้หนี้ดังกล่าวจะไม่ใช่หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสดั่งที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 4 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวที่จำเลยที่ 4 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่มีต่อโจทก์
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาวงเงินขายลดตั๋วเงินซึ่งสามารถคิดคำนวณยอดหนี้จนถึงวันฟ้องได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใดโดยหาจำต้องรอให้ศาลในคดีแพ่งพิพากษากำหนดจำนวนหนี้จนคดีถึงที่สุดแล้วนำมาฟ้องคดีล้มละลายไม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) เพียงแต่กำหนดว่าหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตามเท่านั้น โดยหาได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลต้องพิพากษากำหนดจำนวนแน่นอนเสียก่อนไม่ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์ย่อมมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ให้ล้มละลายได้
ก่อนฟ้องโจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่โดยยื่นคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาในเขตรับผิดชอบแล้วปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า จำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และ (9) แล้ว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลายื่นฎีกาหลังศาลอนุญาตขยายเวลา โดยคำนึงถึงวันหยุดราชการ
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 ซึ่งเป็นวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คู่ความทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ศาลชั้นต้นจึงงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าคำพิพากษานั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้ว จึงครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 23 ตุลาคม 2557 อันเป็นวันหยุดราชการ ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม 2557 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต กรณีจึงต้องเริ่มนับกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาต่อจากวันที่ 23 ตุลาคม 2557 โดยเริ่มนับวันถัดไปเป็นวันแรกคือวันที่ 24 ตุลาคม 2557 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/7 และครบ 30 วัน ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 อันเป็นวันเสาร์หยุดราชการ ต่อมาในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต กรณีจึงต้องเริ่มนับกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาต่อจากวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 โดยเริ่มนับวันถัดไปเป็นวันแรกคือวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม และครบ 30 วัน ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม 2557 ซึ่งเป็นวันจันทร์อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะมีสิทธิยื่นฎีกาตามกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557 จึงพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5696/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยที่ขัดต่อกฎหมายประกันภัย ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
คำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่านิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 และมาตรา 88 ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เป็นอันเสียเปล่าไม่มีผล ผู้ร้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ จึงหาใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่ แต่เป็นการที่ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย/จำนองเมื่อผู้ขาย/จำนองไม่มีสิทธิในที่ดิน และการไม่เกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก อ. และ อ. ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ถึงแม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ อ. จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อันมีผลให้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ อ. ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การโอนทรัพย์ให้แก่กันย่อมกระทำได้ โดยการส่งมอบการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 เมื่อ อ. ขายที่ดินพิพาทและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดย อ. ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทอีกต่อไป อันถือเป็นการแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อแต่นั้นมา โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามมาตรา 1367 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์ อ. จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. และจำเลยที่ 1 จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยที่ 1 ก็หาได้สิทธิในที่ดินพิพาทไม่ เนื่องจากเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก อ. จึงไม่มีสิทธิดีกว่า อ. ผู้โอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ให้ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้
อ. ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองกับ บ. เพราะไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลตามกฎหมาย โดยไม่คำนึงว่า บ. รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. รวมไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนการจำนองจาก บ. ด้วยได้
การที่ อ. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ บ. หลังจากนั้น บ. ได้โอนการจำนองที่ดินพิพาทไปยังจำเลยที่ 2 ย่อมถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทอยู่ในตัว โดยจำเลยทั้งสองหาจำต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททราบเรื่องดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการจำนองที่ดินพิพาท ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 และการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. ไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเสียได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในส่วนออกทับที่ดินพิพาท จึงพอถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั่นเอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปไม่ได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยที่ 1 ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอสละประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 4 เมษายน 2556 จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาในเรื่องดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
อ. ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองกับ บ. เพราะไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลตามกฎหมาย โดยไม่คำนึงว่า บ. รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. รวมไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนการจำนองจาก บ. ด้วยได้
การที่ อ. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ บ. หลังจากนั้น บ. ได้โอนการจำนองที่ดินพิพาทไปยังจำเลยที่ 2 ย่อมถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทอยู่ในตัว โดยจำเลยทั้งสองหาจำต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททราบเรื่องดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการจำนองที่ดินพิพาท ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 และการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. ไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเสียได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในส่วนออกทับที่ดินพิพาท จึงพอถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั่นเอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปไม่ได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยที่ 1 ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอสละประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 4 เมษายน 2556 จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาในเรื่องดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของตัวการและตัวแทนจากการประมาททางรถยนต์
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้าง หรือตัวแทน หรือผู้ถูกจ้างวานใช้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยในขณะกระทำการในทางที่จ้างให้จำเลยที่ 2 หรือกระทำการตามที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้กระทำการแทน และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำการตามที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าตนเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนขับรถยนต์ไปตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมายให้กระทำ และถือเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในข้อนี้ เช่นนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาท จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์คู่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานอกเหนือจากอุทธรณ์: ประเด็นการชดใช้ค่าเสียหายจากประกันภัยและการถอนฟ้องกระทบสิทธิเรียกร้อง
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 แต่ต่อมากลับถอนฟ้องจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจะไปดำเนินคดีต่างหาก ถ้ารับฟังว่ามีการรับประกันภัยจริง เท่ากับสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 มีผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ต้องไปรับชดใช้จากจำเลยที่ 4 เอง การถอนฟ้องดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เหตุดังกล่าวจึงเป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จนเป็นที่พอใจ ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีก จึงเข้าเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดใด ๆ กับโจทก์มีผลให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยเช่นกัน ทั้งจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 ไม่ถูกต้อง นั้น ถือเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากอุทธรณ์เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินต่างกัน แม้คู่ความเกี่ยวเนื่องกัน ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อน จำเลยฟ้อง ว. เป็นจำเลย อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ว. ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ว. โดยครอบครองต่อจาก ตา ยาย และบิดาของ ว. คือโจทก์ในคดีนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีดังกล่าวจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน ทั้งคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละคนกัน ว. เป็นผู้สืบสิทธิจากโจทก์ คำพิพากษาในคดีก่อนย่อมไม่ผูกพันโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและการใช้สิทธิทางศาล การพิสูจน์เจตนาและหลักฐานที่ต้องนำสืบ
การฟ้องคดีต่อศาลตามปกติย่อมไม่เป็นการละเมิด เพราะเป็นการใช้สิทธิทางศาลที่กฎหมายให้กระทำได้ เว้นแต่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งฟ้องโดยมิได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล
การที่จำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนเรียกให้ชำระหนี้ฐานผิดสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ โดยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องคดีนี้ไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยฟ้องโจทก์โดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งฟ้องโดยมิได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่จำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนเรียกให้ชำระหนี้ฐานผิดสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ โดยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องคดีนี้ไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยฟ้องโจทก์โดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งฟ้องโดยมิได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำร้องครอบครองปรปักษ์ที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ผู้คัดค้านทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ได้ยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นว่า ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 12730 และ 12732 เป็นของผู้คัดค้านทั้งสามที่ได้รับมรดกมาจาก ก. ขอให้ผู้ร้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้คัดค้านทั้งสาม ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสามและผู้ร้องตกลงกันได้โดยมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลจังหวัดขอนแก่นพิพากษาตามยอมเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1627/2549 ระบุให้มีการรังวัดเนื้อที่ดินในโฉนดเลขที่ 12730 และ 12732 ให้ได้เนื้อที่ครบตามหน้าโฉนด หากปรากฏว่ามีที่ดินเหลือจากการรังวัดให้ถือว่าส่วนที่เหลือเป็นที่ดินของผู้ร้อง คดีถึงที่สุด ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการรังวัดที่ดินกับมีการปักหลักเขตเรียบร้อยแล้ว การที่ผู้ร้องมาร้องขอครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีนี้ซึ่งเป็นที่ดินที่เดียวกับที่พิพาทและมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1627/2549 ของศาลจังหวัดขอนแก่น โดยที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นที่ต้องพิจารณาในคดีนี้กับคดีดังกล่าวก็เป็นประเด็นเนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ซึ่งผู้ร้องในคดีนี้มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มิได้วินิจฉัยประเด็นนี้ให้แก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องกลับหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาฎีกาว่า ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษาตามยอม หาได้เป็นการกระทบกระเทือนการครอบครองปรปักษ์ของผู้ร้องไม่ คำร้องขอของผู้ร้องไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าอาคาร - การร่วมรับผิดของผู้เช่าและกรรมการผู้มีอำนาจ - อายุความค่าเช่าค้างชำระ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าปรับตามสัญญาเช่า จำเลยทั้งสองก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาเช่าตามฟ้อง เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระค่าเช่า และไม่ต้องชำระค่าปรับตามฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าตามฟ้องจริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้แล้วว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าตามฟ้องจริง โดยโจทก์ไม่จำต้องอ้างหนังสือสัญญาเช่าตามฟ้องเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ฎีกาว่าสัญญาเช่าตามฟ้องมิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้จะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยที่ 1 มีอำนาจยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้ก็ตาม การวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 563 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้า ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือนตามมาตรา 193/12
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 563 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้า ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือนตามมาตรา 193/12