พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่เอื้อประโยชน์แก่กันและไม่ปฏิบัติตามระเบียบจัดซื้อของภาครัฐ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การซื้อขายสินค้าลูกโลกรายพิพาทนี้ จำเลยที่ 3 ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและ ม. ผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับบุคคลภายนอกทราบระเบียบการจัดซื้อและจัดจ้างของส่วนราชการเป็นอย่างดี เชื่อว่า ม. ทราบว่าการจัดซื้อลูกโลกรายพิพาทนี้ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ แต่โจทก์เข้ามาเสนอขายลูกโลกให้แก่จำเลยที่ 3 ได้ทั้ง ๆ ที่เป็นการผิดระเบียบ แสดงว่า ม. สนิมสนมกับผู้บริหารของจำเลยที่ 3 เป็นอย่างดี และจำเลยที่ 3 ต้องทราบว่าโจทก์มีสินค้าตรงกับตัวอย่างที่นำไปเสนอประกวดราคาต่อกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มิเช่นนั้นจำเลยที่ 3 คงไม่เสนอซื้อจากโจทก์ ยิ่งไปกว่านั้นการที่โจทก์ทำใบเสนอราคาโดยไม่มีรายละเอียดของสินค้าเป็นการชี้ให้เห็นชัดขึ้นอีกว่าคงจะได้พูดคุยรายละเอียดถึงคุณลักษณะของสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ด้วยวาจาแล้วอันเป็นการรู้กัน จึงน่าเชื่อว่าลูกโลกสินค้าตัวอย่างที่จำเลยที่ 3 นำไปแสดงต่อกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นของโจทก์ การซื้อขายลูกโลกเป็นจำนวนมากในคราวเดียวกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ ม. จะไม่สอบถามจำเลยที่ 3 ว่าซื้อไปขายให้แก่ใคร เชื่อว่า ม. ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 3 ซื้อลูกโลกไปขายให้แก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประการสำคัญโจทก์ต้องดัดแปลงตัวสินค้าเปลี่ยนฐานและแกนลูกโลกเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หากไม่แน่ใจว่าขายได้ย่อมเป็นการเสี่ยงแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ต้องไว้ใจกันเป็นพิเศษ อันมีลักษณะช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อกัน นอกจากนี้เมื่อโจทก์นำสินค้าไปส่งมอบแก่จำเลยที่ 3 คณะกรรมการตรวจรับสินค้าก็รับมอบสินค้าโดยไม่อิดเอื้อน ทั้ง ๆ ที่สินค้าไม่ตรงตามใบเสนอราคายิ่งแสดงให้เห็นว่ามีการพูดคุยกันแล้วล่วงหน้า เมื่อจำเลยที่ 3 ขอผัดผ่อนชำระราคา โจทก์ก็ยินยอม จนสุดท้ายจำเลยที่ 3 แจ้งว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต้องการให้ทำมาตราส่วนที่แกนลูกโลกและขอให้เพิ่มแขวงใหม่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โจทก์ก็ยินยอม ซึ่งการแก้ไขมีค่าใช้จ่ายไม่น้อย ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีสิทธิที่จะไม่แก้ไข แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 กระทำการเอื้อประโยชน์ให้แก่กันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนราชการ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาล อุทธรณ์คำสั่งพิจารณาคดีใหม่ และการวางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอนุญาตให้จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงมีหน้าที่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลย โดยให้เหตุผลว่า การยื่นอุทธรณ์คำสั่งคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ไม่จำต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษา จึงเป็นการไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมด หากศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ค่าธรรมเนียมศาลที่จำเลยได้รับยกเว้นย่อมรวมถึงค่าธรรมเนียมศาลซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 229 ด้วย แต่หากศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นจะต้องกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางด้วย ซึ่งหากจำเลยนำเงินมาวางตามคำสั่ง อุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยมาตรา 229 หรือหากศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนและจำเลยนำเงินส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นมาวางศาล อุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยมาตรา 229 เช่นเดียวกัน กรณีจึงมีเหตุย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลยก่อน
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมด หากศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ค่าธรรมเนียมศาลที่จำเลยได้รับยกเว้นย่อมรวมถึงค่าธรรมเนียมศาลซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 229 ด้วย แต่หากศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นจะต้องกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางด้วย ซึ่งหากจำเลยนำเงินมาวางตามคำสั่ง อุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยมาตรา 229 หรือหากศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนและจำเลยนำเงินส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นมาวางศาล อุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยมาตรา 229 เช่นเดียวกัน กรณีจึงมีเหตุย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท และผลกระทบต่อการรับฎีกาของศาล
คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา ฉบับลงวันที่ 20 กันยายน 2555 มีจำเลยที่ 1 ลงชื่อในคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงชื่อในคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกามาด้วย ฉะนั้นแม้คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาฉบับนี้จะได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 กับพวก ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 3 ด้วย การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาไปถึงจำเลยที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาในครั้งที่ 2 ฉบับลงวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปเป็นเวลา 30 วัน แต่คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวนี้ มีเพียงกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 คนเดียวลงชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 จึงขัดกับข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1 ที่ระบุว่าจำนวนหรือกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือ ก. หรือนาวาโท ช. ลงลายมือร่วมกับ ส. และประทับตราสำคัญของบริษัท การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา ถือเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณา จำเลยที่ 1 ต้องทำตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ทำตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 อันถือเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 ดังนี้ ย่อมไม่ถือเสมือนเป็นการลงชื่อของจำเลยที่ 1 การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 จึงไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขยายระยะเวลาฎีกาในครั้งที่ 2 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 จึงไม่ชอบเช่นกัน ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 จึงเป็นการยื่นฎีกาเกินกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับอนุญาตให้ยื่นฎีกา โดยปราศจากเหตุสุดวิสัยไม่ชอบที่จะรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวไว้พิจารณา ยกฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 3 คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาในครั้งที่ 2 ฉบับลงวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปเป็นเวลา 30 วัน แต่คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวนี้ มีเพียงกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 คนเดียวลงชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 จึงขัดกับข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1 ที่ระบุว่าจำนวนหรือกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือ ก. หรือนาวาโท ช. ลงลายมือร่วมกับ ส. และประทับตราสำคัญของบริษัท การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา ถือเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณา จำเลยที่ 1 ต้องทำตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ทำตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 อันถือเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 ดังนี้ ย่อมไม่ถือเสมือนเป็นการลงชื่อของจำเลยที่ 1 การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 จึงไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขยายระยะเวลาฎีกาในครั้งที่ 2 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 จึงไม่ชอบเช่นกัน ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 จึงเป็นการยื่นฎีกาเกินกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับอนุญาตให้ยื่นฎีกา โดยปราศจากเหตุสุดวิสัยไม่ชอบที่จะรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวไว้พิจารณา ยกฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 3 คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต เอื้อประโยชน์บุตรเขย ทำให้รัฐเสียหาย
จำเลยทราบดีว่านาง ล. ตกลงขายที่ดินแก่นาย พ. บุตรเขยจำเลยในราคาเพียง 220,000 บาท แต่มีการปลอมแปลงลายมือชื่อนาง ล. ในใบเสนอราคาขายที่ดินดังกล่าวเป็นเงิน 594,800 บาท แล้วนำไปยื่นต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ พร้อมกับใบเสนอราคาของเจ้าของที่ดินอีกสองแปลงซึ่งเสนอราคาสูงกว่า และเมื่อคณะกรรมการจัดซื้อเห็นสมควรซื้อที่ดินของนาง ล. ที่เสนอราคาต่ำสุด จำเลยในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ ก็ได้อนุมัติให้จัดซื้อที่ดินดังกล่าวในราคาภายหลังการต่อรองแล้ว 594,000 บาท สูงกว่าราคาที่นาง ล. ต้องการขาย 374,000 บาท และเมื่อหักเงินที่จำเลยต้องนำไปชำระเป็นค่าภาษี 5,940 บาท คงมีส่วนต่างที่เป็นประโยชน์แก่บุตรเขยของจำเลย 368,060 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บุตรเขยของจำเลย อันถือได้ว่าเป็นการแสวงประโยชน์โดยมิชอบ เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ ได้รับความเสียหายต้องซื้อที่ดินในราคาสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยจึงมีความผิดฐานเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18280/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ไม่ครอบคลุมการยกเว้นโทษปรับ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
จำเลยเป็นนักโทษเด็ดขาดและยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับก่อนที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว บัญญัติว่า "ผู้ต้องโทษ ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง..." และมาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "กรณีผู้ต้องกักขังตามวรรคหนึ่ง (1) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดและยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี" ดังนั้น จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 5 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่ไม่ต้องถูกกักขังแทนค่าปรับหากจำเลยยังไม่ชำระค่าปรับ แต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่ได้ให้จำเลยพ้นจากโทษปรับด้วย โทษปรับตามคำพิพากษาของจำเลยยังคงมีอยู่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าปรับ โจทก์จึงขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยจำนวน 100,000 บาท ได้ กรณีไม่มีเหตุที่จะยกเลิกหมายบังคับคดีและคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18161/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงาน ป.อ.มาตรา 157: สถานะหน่วยงานของรัฐและอำนาจหน้าที่ของกรรมการสถาบัน
การกระทำอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหมายถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา หรือผู้ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากได้รับแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจหน้าที่ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 39 ที่ว่าด้วยส่วนราชการของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ไม่ปรากฏว่าสถาบันแห่งนี้เป็นส่วนราชการในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย จำเลยจึงมิใช่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน และไม่ปรากฏว่ามีบทมาตราใดบัญญัติว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันแห่งนี้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามฟ้องจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ได้
แม้การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางอาญาของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นกฎหมายคนละฉบับกัน และโจทก์มิได้กล่าวมาในคำฟ้อง จะลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวย่อมมิได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่
ขณะเกิดเหตุจำเลยมีตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นข้าราชการพลเรือนและรับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน ทำหน้าที่ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยตามฟ้องเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มิได้เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน จะถือว่าการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยของจำเลยเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยมิได้
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 39 ที่ว่าด้วยส่วนราชการของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ไม่ปรากฏว่าสถาบันแห่งนี้เป็นส่วนราชการในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย จำเลยจึงมิใช่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน และไม่ปรากฏว่ามีบทมาตราใดบัญญัติว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันแห่งนี้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามฟ้องจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ได้
แม้การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางอาญาของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นกฎหมายคนละฉบับกัน และโจทก์มิได้กล่าวมาในคำฟ้อง จะลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวย่อมมิได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่
ขณะเกิดเหตุจำเลยมีตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นข้าราชการพลเรือนและรับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน ทำหน้าที่ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยตามฟ้องเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มิได้เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน จะถือว่าการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยของจำเลยเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16867/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: เจตนาทำร้าย vs. ผลเกินเจตนา และความรับผิดร่วม
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายทั้งสอง และผู้เสียหายทั้งสี่ข้ามเรือโดยสารจากคลองสานไปท่าเรือสี่พระยา ขณะเรือเทียบท่าเรือสี่พระยา กลุ่มวัยรุ่นประมาณ 10 คน มีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 รวมอยู่ด้วยลงมาที่เรือ มีผู้ชกต่อยเตะถีบโดยมีคนพูดว่าวันนี้เปิดเทอมวันแรก กลุ่มผู้เสียหายข้ามฝั่งมาทำไม ให้ว่ายน้ำกลับไป มีลักษณะข่มขู่ให้โดดลงแม่น้ำ เป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ตกลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ตายทั้งสองจมน้ำหายไป ผู้เสียหายทั้งสี่มีผู้ช่วยขึ้นจากน้ำได้ แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่และผู้ตายทั้งสองจนตกลงไปหรือยอมกระโดดลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ตาม แต่หากไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย น่าจะต้องห้ามปรามพวกของตนไม่ให้กระทำเช่นนั้น หรือหากห้ามปรามแล้วไม่ฟัง ก็น่าจะต้องรีบปลีกตัวออกมาทันที อีกทั้งเมื่อผู้เสียหายทั้งสี่และผู้ตายทั้งสองลงไปอยู่ในแม่น้ำแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกับพวกคนอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจกับพวกในการกระทำดังกล่าวด้วย แต่ก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กับผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่มีสาเหตุโกรธเคืองกันรุนแรงถึงขนาดจะต้องฆ่ากันให้ตายและเมื่อผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ลงไปอยู่ในแม่น้ำแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กับพวก ก็พากันออกมากจากเรือข้ามฟากที่เกิดเหตุ โดยไม่ได้ขัดขวางหรือห้ามไม่ให้ใครเข้าไปช่วยเหลือผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ กรณีมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 เพียงแต่มีเจตนาทำร้ายผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ด้วยความคึกคะนองเพื่อให้เกิดความอับอาย โดยมิได้ประสงค์ให้ผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ถึงแก่ความตาย ก่อนที่จะมีคนช่วยเหลือขึ้นมาจากแม่น้ำ ผู้เสียหายทั้งสี่ยังสามารถพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำได้ แสดงว่าขณะนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ไหลเชี่ยวมากนัก ขณะที่กระทำการดังกล่าวจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ไม่น่าจะเล็งเห็นอยู่แล้วว่าอาจทำให้ผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ถึงแก่ความตายได้ แต่เมื่อการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลเกินเจตนา กล่าวคือเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ย่อมต้องมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้ตายทั้งสองเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16781/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรรมการ ป.ป.ช. - ตัดสิทธิฟ้องร้องนอกกระบวนการพิเศษตามกฎหมาย
การดำเนินคดีอาญาแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 249 ที่มีผลใช้บังคับขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 17 ทั้ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (3) บัญญัติให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งประธานวุฒิสภาส่งคำร้องให้ศาลพิจารณาพิพากษาข้อกล่าวหาว่า กรรมการ ป.ป.ช. กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและมีบทบัญญัติในหมวด 4 มาตรา 36 ถึงมาตรา 44 ว่าด้วยการดำเนินคดีต่อกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดกระบวนการในการไต่สวนและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายหลังได้รับคำร้องจากประธานวุฒิสภา บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มิให้ผู้ที่ถูกตรวจสอบและไต่สวนหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช. กลั่นแกล้งฟ้องร้องคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้โดยง่าย เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้มีผลให้กรรมการ ป.ป.ช. ที่กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหลุดพ้นจากความผิดทางอาญา เพราะผู้เสียหายอาจร้องเรียนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลตามข้อกล่าวหาหรือไม่ แล้วเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป ซึ่งต้องถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีผลเป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องกรรมการ ป.ป.ช. ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาปกติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ในขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นอันสิ้นสุดลงแล้ว ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มีผลให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 249 ไม่มีผลใช้บังคับแล้ว แต่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 6 วรรคสอง บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา การดำเนินคดีอาญาแก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 17 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ หมวด 4 มาตรา 36 ถึงมาตรา 44 จึงยังสามารถดำเนินการได้
แม้ในขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นอันสิ้นสุดลงแล้ว ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มีผลให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 249 ไม่มีผลใช้บังคับแล้ว แต่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 6 วรรคสอง บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา การดำเนินคดีอาญาแก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 17 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ หมวด 4 มาตรา 36 ถึงมาตรา 44 จึงยังสามารถดำเนินการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16502/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินที่ได้มาจากการกู้ยืม และความผิดฐานลักทรัพย์ แม้มีการผิดสัญญาเช่าซื้อ
จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ร่วมกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายในการเล่นการพนันโดยยึดถือรถกระบะที่โจทก์ร่วมเช่าซื้อมาจากผู้ให้เช่าซื้อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ร่วมนำรถกระบะกลับไปใช้ และโจทก์ร่วมไม่นำรถกระบะกลับมาคืนภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำรถกระบะกลับมายึดถือครอบครองโดยโจทก์ร่วมไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 เอารถกระบะไปจากโจทก์ร่วม แม้น่าเชื่อว่าหากโจทก์ร่วมชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วน จำเลยที่ 1 คงจะคืนรถกระบะให้ แต่ก็เห็นได้ว่าถ้าโจทก์ร่วมไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 1 คงไม่คืนรถกระบะให้ การที่จำเลยที่ 1 เอารถกระบะไปดังกล่าวจึงเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ในรถกระบะของผู้ให้เช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วมตลอดไปแล้ว และเมื่อเป็นการใช้อำนาจบังคับเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และไม่ว่าโจทก์ร่วมจะผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ก็ตาม เมื่อโจทก์ร่วมเป็นผู้ครอบครองรถกระบะคันดังกล่าวในขณะที่กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเอารถกระบะของผู้ให้เช่าซื้อไปโดยทุจริต โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายและเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16001/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์โดยสุจริตตามสิทธิ ย่อมไม่เป็นละเมิด แม้จะมีการฟ้องคดีอาญา
มูลคดีเดียวกันนี้ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เคยฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกเป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ มีโจทก์ในคดีนี้ได้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โดยคดีอาญาคดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า พฤติการณ์ของโจทก์ร่วม ทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าโจทก์ร่วมถอนเงินที่วางประกันไว้ไปใช้ประโยชน์อื่น นอกจากข้อตกลงอันเป็นความผิดอาญา จำเลยที่ 1 จึงแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแก่พนักงานสอบสวน อันเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
ดังนั้น คดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนจึงไม่มีความผิดและมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ ไม่มีความผิดตามไปด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ดังนั้น คดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนจึงไม่มีความผิดและมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ ไม่มีความผิดตามไปด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์