คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 48 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์ของกลางของผู้รับจำนำในคดีอาญา: การดำเนินการทางแพ่งเพื่อคุ้มครองสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้คืนของกลางรวม 80 รายการ ให้แก่ผู้ร้อง โดยอ้างว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวตกเป็นสิทธิแก่ผู้ร้องตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องรับจำนำไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ซึ่งแม้ตามคำร้องขอจะไม่ต้องด้วยกรณีตาม ป.อ. มาตรา 36 แต่ตามคำร้อง ผู้ร้องประสงค์จะได้รับทรัพย์ของกลางคืนมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อคดีนี้มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม ในการทำคำพิพากษา ศาลก็ต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนทรัพย์ของกลางว่าให้คืนแก่โจทก์ร่วม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 44 หากผู้ร้องมีข้อโต้แย้งสิทธิด้วยเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริงก็ชอบที่จะไปดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 48 วรรคท้าย ด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ประกอบกับการเป็นคู่ความในคดีอาญานั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) บัญญัติคำนิยามของคำว่าคู่ความไว้ว่าหมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ไม่มีคู่ความฝ่ายที่สาม ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในกรณีเช่นว่านี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์ของกลาง: เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงต้องฟ้องคดีแพ่งเพื่อขอคืน ไม่ใช่ร้องในคดีอาญา
กรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์ของกลางแก่เจ้าของ หากผู้ร้องเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริงก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคท้าย ด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์ของกลาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์ของกลาง: การดำเนินการทางแพ่งเพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่แท้จริง หากศาลไม่ได้สั่งริบทรัพย์
กรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์ของกลางแก่เจ้าของ หากผู้ร้องเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริงก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคท้าย ด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์ของกลาง.