พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเช็ค, ความรับผิดส่วนบุคคลกรรมการ, และการกู้ยืมเงินเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง
แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโดยปรากฏข้อความในรายการเอกสารทะเบียนว่า ป. ผู้ตายเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป. กับกรรมการอื่นอีก 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราของบริษัท จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารตามเช็ค โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาท เป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9679/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: การตีความข้อตกลงเรื่องการรังวัดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายมีข้อความระบุไว้ในข้อ4ว่าในการจะซื้อจะขายผู้จะขายจะต้องเป็นผู้ยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ให้กับผู้จะซื้อถ้าหากที่ดินไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะขายจะต้องคืนเงินให้แก่ผู้จะซื้อถ้าหากจำนวนที่ดินเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะซื้อจะต้องออกเงินให้ผู้จะขายจนครบจำนวนซึ่งในการจะซื้อจะขายนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะออกเงินค่าธรรมเนียมค่าภาษีเงินได้ค่าขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดออกโฉนดใหม่ฝ่ายละเท่าๆกันซึ่งไม่มีข้อความชัดเจนว่าการขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ดังนี้การที่จำเลยทั้งสองนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันว่าเมื่อจดทะเบียนโอนกันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่จึงเป็นการนำสืบประกอบข้ออ้างในการตีความหมายของข้อความในสัญญาจึงนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายหาได้เป็นนำสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา94(ข)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยคนต่างด้าว: ผลของโมฆะและสิทธิในการจำหน่าย
คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา97โจทก์จึงมีสิทธิอ้างจำเลยที่2เป็นพยานฝ่ายโจทก์และจะให้นำสืบเมื่อใดก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2ให้เบิกความเป็นพยานโจทก์ก่อนพยานอื่นจึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขณะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ย. โจทก์เป็นคนต่างด้าวนิติกรรมการซื้อขายเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)แต่ไม่ทำให้นิติกรรมเสียเปล่าไปซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา94ให้อำนาจที่จะจำหน่ายที่ดินนั้นได้และการบังคับให้จำหน่ายหมายความเฉพาะกับที่ดินพิพาทเท่านั้นไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างพิพาทด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยคนต่างด้าว การถือครองแทน และอำนาจจำหน่ายที่ดินตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา97ให้สิทธิคู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนได้ดังนั้นการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2เป็นพยานโจทก์และจะนำสืบเมื่อใดก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากป.ขณะนั้นโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวจึงไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัทย. จำกัดซึ่งมีจำเลยที่2ถือกรรมสิทธิ์แทนนั้นเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทจากบุคคลภายนอกโดยจำเลยที่2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแทนโจทก์นั่นเองไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นส่วนที่ว่าโจทก์ซื้อมาจากใครเป็นรายละเอียดไม่ทำให้การนำสืบของโจทก์ต้องเสียไป ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยจึงเชื่อว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเอาคืนที่ดินของโจทก์ที่จำเลยที่2ถือกรรมสิทธิ์แทนได้ส่วนการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2เป็นพยานก็เนื่องจากกฎหมายให้สิทธิไว้การฟ้องคดีและการดำเนินคดีของโจทก์ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับจึงเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว ในขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัทย. จำกัดโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงต้องห้ามชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86และตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)แต่ผลของการที่นิติกรรมเป็นโมฆะดังกล่าวไม่ทำให้นิติกรรมเสียเปล่าไปยังคงมีผลตามกฎหมายอยู่แต่โจทก์ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต้องจัดการจำหน่ายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา94และการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวหมายความเฉพาะที่ดินพิพาทเท่านั้นไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างพิพาทด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว, การเลิกจ้าง, สิทธิประโยชน์ลูกจ้าง, การละทิ้งหน้าที่
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้วย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเองสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำณที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใดต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่281ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวมจึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อนจึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกันจะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลยซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมายล.1เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก1วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุด วันลาหากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้องแต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้างหากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยานจำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว การเลิกจ้าง และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว ย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเอง สำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำ ณ ที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใด ต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม จึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน จึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกัน จะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลย ซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์ แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมาย ล.1 เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1
โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก 1 วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุดวันลา หากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้าง หากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยาน จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมาย ล.1 เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1
โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก 1 วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุดวันลา หากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้าง หากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยาน จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800-836/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานกรีดยางเป็นงานเกษตรกรรม ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันระบุว่ามิให้ใช้บังคับแก่งานเกษตรกรรมซึ่งได้แก่งานเพาะปลูก งานประมง ป่าไม้ และ เลี้ยงสัตว์ สำหรับงานเกษตรกรรมหรืองานเพาะปลูกนั้น เกษตรกรผู้ประกอบการดังกล่าวย่อมมุ่งหวังถึงผลิตผลของพืชที่เพาะปลูกลงเป็นสำคัญ เมื่อปลูกยางพาราแล้วมีการกรีดยางก็เป็นการเก็บเกี่ยวผลิตผลจากงานเพาะปลูก ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการเพาะปลูก ถือได้ว่าการที่จำเลยจ้างโจทก์กรีดยางพาราเป็นการจ้างทำงานเกษตรกรรมซึ่งไม่อยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดซึ่งนอกเหนือไปจากที่ตกลงกันไว้หาได้ไม่
เมื่อโจทก์ฟ้องขอสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามาน้อยกว่าที่ควรจะได้จริงตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นการผิดพลาดพลั้งเผลอ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์จึงแสดงว่าไม่มีเหตุสมควรเพื่อความเป็นธรรมที่จะพิพากษาเกินคำขอ
ศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษารวมกัน โจทก์ทุกสำนวนยื่นบัญชีระบุพยานอ้างพยานร่วมกัน โดยอ้างตัวโจทก์ทุกสำนวนเป็นพยานด้วย การที่โจทก์บางสำนวนเข้าเบิกความเป็นพยานก็เท่ากับเป็นพยานโจทก์ทุกสำนวนด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าถ้อยคำที่โจทก์บางคนดังกล่าวเบิกความเป็นพยานรับฟังได้ก็มีผลถึงโจทก์อื่นด้วย
เมื่อโจทก์ฟ้องขอสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามาน้อยกว่าที่ควรจะได้จริงตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นการผิดพลาดพลั้งเผลอ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์จึงแสดงว่าไม่มีเหตุสมควรเพื่อความเป็นธรรมที่จะพิพากษาเกินคำขอ
ศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษารวมกัน โจทก์ทุกสำนวนยื่นบัญชีระบุพยานอ้างพยานร่วมกัน โดยอ้างตัวโจทก์ทุกสำนวนเป็นพยานด้วย การที่โจทก์บางสำนวนเข้าเบิกความเป็นพยานก็เท่ากับเป็นพยานโจทก์ทุกสำนวนด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าถ้อยคำที่โจทก์บางคนดังกล่าวเบิกความเป็นพยานรับฟังได้ก็มีผลถึงโจทก์อื่นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800-836/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานกรีดยางเป็นงานเกษตรกรรม ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันระบุว่ามิให้ใช้บังคับแก่งานเกษตรกรรมซึ่งได้แก่งานเพาะปลูก งานประมง ป่าไม้ และ เลี้ยงสัตว์ สำหรับงานเกษตรกรรมหรืองานเพาะปลูกนั้น เกษตรกรผู้ประกอบการดังกล่าวย่อมมุ่งหวังถึงผลิตผลของพืชที่เพาะปลูกลงเป็นสำคัญ เมื่อปลูกยางพาราแล้วมีการกรีดยางก็เป็น การเก็บเกี่ยวผลิตผลจากงานเพาะปลูก ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ การเพาะปลูก ถือได้ว่าการที่จำเลยจ้างโจทก์กรีดยางพาราเป็นการจ้างทำงานเกษตรกรรมซึ่งไม่อยู่ในบังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดซึ่งนอกเหนือไปจากที่ตกลงกันไว้หาได้ไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขอสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามาน้อยกว่าที่ควรจะได้จริงตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นการผิดพลาด พลั้งเผลอ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์จึงแสดงว่าไม่มีเหตุสมควรเพื่อความเป็นธรรมที่จะ พิพากษาเกินคำขอ ศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษารวมกัน โจทก์ทุกสำนวนยื่นบัญชีระบุพยานอ้างพยานร่วมกัน โดยอ้างตัวโจทก์ทุกสำนวนเป็นพยานด้วย การที่โจทก์บางสำนวนเข้าเบิกความเป็นพยานก็เท่ากับเป็นพยานโจทก์ทุกสำนวนด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าถ้อยคำที่โจทก์บางคนดังกล่าวเบิกความเป็นพยานรับฟัง ได้ก็มีผลถึงโจทก์อื่นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการสืบพยานและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจเพื่อความรวดเร็วและเที่ยงธรรม
คำสั่งของศาลที่ให้สืบตัวจำเลยในฐานะเป็นพยานของโจทก์และจำเลยพร้อมกัน หลังจากที่โจทก์นำสืบพยานโจทก์คนอื่นๆหมดแล้วนั้น. หาใช่คำสั่งที่ไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานไม่. แต่เป็นคำสั่งที่ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามหน้าที่ที่เป็นผู้ควบคุมการพิจารณาคดีให้รวดเร็วและเที่ยงธรรม เป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว.
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งทำพร้อมกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ชอบที่จะทำรวมกันมาในคำฟ้องอุทธรณ์หรือในคำแก้อุทธรณ์ฉบับเดียวกันแล้วแต่กรณี. ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาทั้งหมดนั้นรวมในคำพิพากษาฉบับเดียวกันได้.ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239. เพราะมาตรานี้ใช้สำหรับกรณีที่อุทธรณ์คำสั่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น.
การที่คู่ความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลในเรื่องลำดับของการนำพยานเข้าสืบ. จึงแถลงว่าไม่สืบพยานเช่นนี้.ไม่ใช่กรณีที่ศาลปฏิเสธไม่สืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2).
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งทำพร้อมกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ชอบที่จะทำรวมกันมาในคำฟ้องอุทธรณ์หรือในคำแก้อุทธรณ์ฉบับเดียวกันแล้วแต่กรณี. ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาทั้งหมดนั้นรวมในคำพิพากษาฉบับเดียวกันได้.ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239. เพราะมาตรานี้ใช้สำหรับกรณีที่อุทธรณ์คำสั่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น.
การที่คู่ความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลในเรื่องลำดับของการนำพยานเข้าสืบ. จึงแถลงว่าไม่สืบพยานเช่นนี้.ไม่ใช่กรณีที่ศาลปฏิเสธไม่สืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลควบคุมการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
คำสั่งของศาลที่ให้สืบตัวจำเลยในฐานะเป็นพยานของโจทก์และจำเลยพร้อมกัน หลังจากที่โจทก์นำสืบพยานโจทก์คนอื่นๆหมดแล้วนั้น หาใช่คำสั่งที่ไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานไม่ แต่เป็นคำสั่งที่ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามหน้าที่ที่เป็นผู้ควบคุมการพิจารณาคดีให้รวดเร็วและเที่ยงธรรม เป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งทำพร้อมกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ชอบที่จะทำรวมกันมาในคำฟ้องอุทธรณ์หรือในคำแก้อุทธรณ์ฉบับเดียวกันแล้วแต่กรณี ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาทั้งหมดนั้นรวมในคำพิพากษาฉบับเดียวกันได้ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239 เพราะมาตรานี้ใช้สำหรับกรณีที่อุทธรณ์คำสั่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น
การที่คู่ความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลในเรื่องลำดับของการนำพยานเข้าสืบ จึงแถลงว่าไม่สืบพยานเช่นนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลปฏิเสธไม่สืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งทำพร้อมกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ชอบที่จะทำรวมกันมาในคำฟ้องอุทธรณ์หรือในคำแก้อุทธรณ์ฉบับเดียวกันแล้วแต่กรณี ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาทั้งหมดนั้นรวมในคำพิพากษาฉบับเดียวกันได้ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239 เพราะมาตรานี้ใช้สำหรับกรณีที่อุทธรณ์คำสั่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น
การที่คู่ความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลในเรื่องลำดับของการนำพยานเข้าสืบ จึงแถลงว่าไม่สืบพยานเช่นนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลปฏิเสธไม่สืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)