คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ม.57(2) และสิทธิในการฟ้องแย้ง เมื่อจำเลยให้การแล้ว
ตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของจำเลยร่วมอ้างว่าจำเลยและ ท. มารดาของจำเลยร่วมได้ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก จ. มาตั้งแต่ปี 2490 แต่มิได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว จ.ได้ส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลย และ ท.จำเลยและ ท. ได้ครอบครองใช้ทำประโยชน์ตลอดมาจนได้กรรมสิทธิ์แล้วโดยการครอบครองปรปักษ์ ต่อมา ท.ถึงแก่ความตายจำเลยร่วมผู้เป็นบุตรของ ท. จึงได้ครอบครองต่อซึ่งมีลักษณะเป็นเจ้าของร่วมมีฐานะเดียวกันกับจำเลย และในตอนท้ายของคำร้องก็ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมจึงเป็นการร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ไม่ใช่เป็นการเข้ามาในฐานะที่เป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา 57(1)เมื่อขอเข้ามาตามมาตรา 57(2) จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วม เมื่อจำเลยให้การโดยมิได้ฟ้องแย้งจำเลยร่วมจึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องแย้งโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทร้องสอด, การแบ่งมรดก, สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน, เจ้าของรวม
ผู้ร้องเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของช. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของช. ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)แม้ผู้ร้องจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไปต่อศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเมินแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินคดีเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องด้วยตามมาตรา142 โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินแต่ขอให้พิพากษาว่าที่ดินมีโฉนดเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์มรดกระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์แม้จะเป็นวิธีการแบ่งทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้แล้วก็ตามก็ไม่ชอบที่จะพิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของผู้ร้องสอดที่เป็นบุตรเจ้ามรดก และผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ ส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความจึงเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (2) ไม่
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดมีอยู่อันมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัว และเมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอให้ยกฟ้องเท่านั้น จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอด ตามมาตรา172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3) อีก
ก่อนคดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก ผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีนี้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก โจทก์จะโต้แย้งว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นบุตรของเจ้ามรดกหาได้ไม่
แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งที่พิพากษาคดีนี้เคยพิพากษาคดีแพ่งในศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้พิพากษาคนนั้นพิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์หาเป็นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) ไม่ เพราะคดีดังกล่าวโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่คดีนี้โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก คดีทั้งสองเรื่องเพียงแต่เกี่ยวข้องกันมิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 11 (5) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังโอนกรรมสิทธิ์ และสิทธิของโจทก์ร่วมในคดีขับไล่
ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ได้ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวให้แก่โจทก์ร่วมอำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไปส่วนโจทก์ร่วมผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้องต่อไป และโจทก์ร่วมสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในคดีขับไล่ เมื่อมีการโต้แย้งสิทธิโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นภรรยาของ ท. ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์เพื่อปลูกบ้านพักและทำสวน ระหว่างสัญญาเช่า ท. ถึงแก่กรรมโจทก์อนุญาตให้จำเลยพร้อมบริวารอาศัยอยู่ต่อไปจนครบสัญญาเช่าจึงบอกกล่าวให้จำเลยและบริวารขนย้ายครอบครัวพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉยจึงขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไป จำเลยให้การว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรเขยของจำเลยได้ตกลงเช่าที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ต่อจากสามีจำเลยเพื่อใช้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำเลยไม่ได้เช่าที่ดินจากโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยกฟ้อง ต่อมา ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมอ้างว่า ผู้ร้องเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ต่อจากสามีจำเลย จำเลยเป็นบริวารของผู้ร้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องด้วย ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณา, สิทธิในการระบุพยานเพิ่มเติม, และผลของการไม่นำสืบพยานของจำเลย
ในคดีที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนก่อน ผู้ร้องสอดสามารถปฏิบัติได้แต่ก็ไม่ปฏิบัติ และในการยื่นคำร้องสอดครั้งที่สองก่อนที่จะสืบพยานโจทก์นัดแรก ผู้ร้องสอดก็ไม่เสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องอีก แม้ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องครั้งที่สามเมื่อสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก เหลือพยานโจทก์ที่จะสืบต่อไปอีก 2 ปากอันเป็นเวลาที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่พฤติการณ์ของผู้ร้องสอดดังกล่าวก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ได้ หาจำต้องอนุญาตทุกกรณีไม่ และที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าทนายคนเดิมไม่เคยแจ้งให้ผู้ร้องสอดทราบว่าต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างใด ผู้ร้องสอดอาศัยทนายความดำเนินคดีให้ ทนายความดำเนินคดีบกพร่องไปในทางที่ไม่ชอบนั้นผู้ร้องสอดก็ไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวได้ เพราะทนายความเป็นตัวแทนของผู้ร้องสอดเอง ผู้ร้องสอดต้องรับผิดที่ตัวแทนได้กระทำการแทนไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งการสืบพยานโจทก์ในวันดังกล่าว 2 ปาก ทนายจำเลยก็มาซักค้านพยานโจทก์ด้วยโดยมิได้คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่นำสืบและคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดนัดพิจารณาแต่อย่างใด จึงมีผลว่าจำเลยยอมรับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผ่านมาแล้ว จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบและกำหนดให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนไม่ชอบในวันหลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว การที่จำเลยคัดค้านดังกล่าวก็เพื่อจำเลยจะมีโอกาสนำพยานมาสืบใหม่นั่นเอง ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าการกำหนดหน้าที่นำสืบและหน้าที่การนำพยานเข้าสืบไม่ถูกต้องอย่างใด กรณีไม่มีเหตุที่จะกำหนดหน้าที่นำสืบและการนำพยานเข้าสืบใหม่ จำเลยโดยทนายจำเลยทราบวันนัดชี้สองสถานแล้วไม่มาศาลศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วนัดสืบพยานจำเลยแม้จะจำเลยไม่มาในวันนัดชี้สองสถานก็ถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง (เดิม)เมื่อศาลกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 14 กรกฎาคม 2531เวลา 9 นาฬิกา จึงต้องถือว่าจำเลยทราบวันเวลานัดสืบพยานจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณา ข้อที่จำเลยอ้างว่าทนายจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต จะนำมาเป็นข้ออ้างว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดหาได้ไม่เพราะทนายจำเลยเป็นตัวแทนของจำเลยเอง และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอพิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสาม (3) สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาททำที่บ้านจำเลย การต่อรองราคาทำต่อหน้าพันตรีถ.สามีจำเลย เหตุที่ไม่ได้ให้สามีจำเลยให้ความยินยอมในการซื้อขายเนื่องจากจำเลยบอกว่าจำเลยและสามีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ประกอบกับสำเนา น.ส.3ก็มีชื่อจำเลยคือนางนิตยาสงวนจิตร เพียงผู้เดียวทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ก็ยังระบุชื่อ น.ส.นิตยาสงวนจิตรพฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีเหตุผลให้โจทก์เชื่อว่า จำเลยมิได้สมรสกับสามีจึงได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับจำเลย สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันกันได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480และแม้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้โอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายโดยโจทก์ไม่ได้ขอชำระราคาที่ดินตอบแทนด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องไม่ชอบ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์โดยมีเงื่อนไขให้โจทก์ชำระราคาที่ระบุไว้ในสัญญาได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ การพิจารณาโดยขาดนัดอย่างเช่นคดีนี้เป็นการพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว ไม่มีการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อน กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88(เดิม) โจทก์จึงมีสิทธิระบุพยานเพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้มีชื่อในโฉนดเมื่อถูกฟ้องให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครอง การร้องคัดค้านในชั้นบังคับคดี
ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และได้มีคำสั่งให้ประกาศนัดไต่สวนทางหนังสือพิมพ์และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน หากประสงค์จะคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านต่อศาลภายในวันนัดไต่สวนคำร้อง แต่ก็ไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้าน จนศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งไปแล้วต่อมาผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถึงแม้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำร้องเพราะเห็นว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีของผู้ร้อง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(4) บัญญัติให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความผู้คัดค้านจึงเป็นคู่ความผู้มีส่วนได้เสียในคดีมีสิทธิอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ที่ดินมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องนำคำสั่งศาลไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อของผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิผู้คัดค้านจึงชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้าไปในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดีจึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) โดยไม่ต้องให้ผู้คัดค้านไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องของผู้คัดค้านไว้เพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดที่อ้างแต่การครอบครองปรปักษ์โดยไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งปลูกสร้างในคดี ไม่มีประโยชน์ จึงไม่ต้องรับ
คำร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงร้องขอเข้ามาเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิ์ของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) จึงเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่คำร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้าง ทั้งไม่มีคำขอบังคับมาด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิจากครอบครองปรปักษ์ต้องมีส่วนได้เสียในประเด็นที่ฟ้อง และมีคำขอบังคับ
คำร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงร้องขอเข้ามาเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิ์ของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) จึงเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาล โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่คำร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้างทั้งไม่มีคำขอบังคับมาด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีหลังจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ: สิทธิของผู้ร้องในการเข้าร่วมดำเนินคดีเมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว
แม้จะมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาที่ผู้ร้องจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อีก ไม่มีประโยชน์ที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ศาลชอบที่จะให้จำหน่ายคดีผู้ร้องเสียจากสารบบความ
of 59