พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดและการฟ้องคดีใหม่: เมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว ผู้ร้องสอดต้องฟ้องคดีใหม่เพื่อคุ้มครองสิทธิ
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยทั้งหมดและบริวารออกจากห้องแถวพิพาท และจำเลยทั้งหมดได้ออกจากห้องแถวพิพาทแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องสอดจะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ก็ตามแต่การที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมดก็จะทำให้คดีล่าช้าไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี จึงสมควรให้ผู้สอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านผลเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลต้องยื่นภายใน 15 วันตามกฎหมายเฉพาะ แม้เข้าเป็นคู่ความร่วมก็ไม่ช่วย
พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482มาตรา 57 ผู้สมัครที่จะคัดค้านการประกาศผลของการเลือกตั้งจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับตั้งแต่เทศบาลประกาศผลของการเลือกตั้ง ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องสอดทั้งสามยื่นคำร้องสอดคัดค้านการประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อพ้นกำหนด15 วัน นับแต่วันที่เทศบาลประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงไม่มีสิทธิที่จะคัดค้านการประกาศผลดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นจำกัด ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีล้มละลายของบริษัท จึงไม่มีสิทธิร้องสอด
การที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดล้มละลาย ย่อมมีผลกระทบเฉพาะต่อสิทธิของจำเลยในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของจำเลยเท่านั้น หาได้มีผลทำให้ผู้ถือหุ้นซึ่งรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายด้วยไม่ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดี ไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ และป่าสงวนฯ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ครอบครองที่ดินพิพาท เป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ จำเลยอาศัยสิทธิของกรมป่าไม้จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เรียกกรมป่าไม้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินเขาแหลมหญ้าตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติออกใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2524 ที่ดินพิพาทก็อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 893(2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 16(1) ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้างแผ้วถางหรือเผาป่า โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องขอกันที่พิพาทออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติหรืออุทยานแห่งชาติ ดังนั้นการที่โจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดิน ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง แม้จะรับโอนมาจากผู้ที่ครอบครองอยู่ก่อนนานเท่าใดก็ตามเพราะเป็นที่ดินที่ไม่อาจโอนกันได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งมารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: นับจากวันเกิดวินาศภัย ตาม พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 882 ไม่ใช่อายุความละเมิด
จำเลยร่วมที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 1ที่ให้จำเลยร่วมที่ 1 เช่าซื้อไป และลูกจ้างได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปชนรถยนต์ของโจทก์ การฟ้องให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรกจึงนำอายุความในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้ไม่ได้เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกันวันที่ 28 ตุลาคม 2524 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมที่ 1ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2526 ถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 2 ใช้ค่าทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และอยู่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยร่วมที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยและการรับผิดของจำเลยร่วมในคดีซื้อขายรถยนต์ที่เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ตามสัญญาซื้อขายคืน หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองใช้ราคาในส่วนที่ยังค้างชำระให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การว่ารถยนต์ได้รับความเสียหายเพราะชนกับรถยนต์บุคคลอื่น ต่อมาได้เกิดไฟลุกไหม้ จำเลยทั้งสองไม่อาจคืนรถยนต์ให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี ซึ่งหากจำเลยทั้งสองต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยร่วมโดย โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1ชดใช้ราคารถยนต์ให้โจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของรถยนต์จากจำเลยร่วมกับผู้รับประกันภัยรถยนต์ได้จำเลยทั้งสองจึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และเมื่อศาลได้มีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้ว ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยร่วมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้โจทก์ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเป็นคู่ความ: ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ตามความเหมาะสมของคดี
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ศาลไม่จำต้องอนุญาตทุกกรณีไป ต้องแล้วแต่ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการหลอกลวงและปกป้องทรัพย์สินจากหนี้สินที่ถูกสร้างขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปแก่โจทก์ สหกรณ์ผู้ร้องร้องสอดว่า ในขณะที่จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ของผู้ร้องได้ทุจริตเบียดบังเอาเงินของผู้ร้องไป ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อเรียกเงินคืนคดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันได้สมคบกับโจทก์แสดงเจตนาลวงทำสัญญากู้ยืมเงินแกล้งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ตามฟ้อง เพื่อมิให้ผู้ร้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ ขอให้พิพากษาว่าสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นโมฆะ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องมีความจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ไม่ให้จำเลยทั้งสองโอนทรัพย์ไปเสียอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย จึงร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องเรียกทายาทบุคคลภายนอกเข้าสู่คดีไม่ใช่คำคู่ความ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้
คำร้องที่จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นเรียกทายาทของบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5)เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและศาลชั้นต้นยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีจำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 226(1) ประกอบกับมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดขอให้บุคคลซึ่งเป็นคู่ความในคดีอยู่แล้วเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข
กรณีที่จะมีการเข้ามาเป็นคู่ความโดยการร้องสอดตามป.วิ.พ. มาตรา 57 ได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอเข้ามาเองหรือถูกหมายเรียกเข้ามาก็ดี ผู้ที่จะเข้ามานั้นต้องเป็นบุคคลนอกคดีจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 ขอให้เรียกเข้ามานั้นเป็นคู่ความอยู่ในคดีนี้แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่โจทก์ก็ยังดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลภายนอกที่จำเลยที่ 2 จะเรียกเข้ามาโดยการร้องสอดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57(3) ได้.