คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน และสิทธิเรียกร้องจากบริษัทประกันภัย
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่เบิกความว่าในการสอบสวนจำเลยที่ 1 รับว่าขับรถกลับจากไปรับจ้างบรรทุกดิน ใน ทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ขณะนำรถกลับมาไว้ที่อู่ก็เกิดเหตุขึ้นแม้จะเป็นพยานบอกเล่าแต่ก็เป็นคำบอกเล่าที่เป็นคำรับของคู่ความ รับฟังได้ การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยแทนจำเลยที่ 2 เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้วจะต้องเริ่มต้นสืบพยานกันใหม่ และแม้ศาลไม่เรียกบริษัทดังกล่าวเข้าเป็นจำเลยร่วม จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องจากบริษัทดังกล่าวได้อยู่แล้วจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเรียกบริษัทดังกล่าวเข้ามาเป็นจำเลยร่วม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการไม่อาจเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหลังสืบพยานเสร็จ
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่เบิกความว่าในการสอบสวนจำเลยที่ 1 รับว่าขับรถกลับจากไปรับจ้างบรรทุกดินในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ขณะนำรถกลับมาไว้ที่อู่ก็เกิดเหตุขึ้นแม้จะเป็นพยานบอกเล่าแต่ก็เป็นคำบอกเล่าที่เป็นคำรับของคู่ความรับฟังได้
การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยแทนจำเลยที่ 2 เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้วจะต้องเริ่มต้นสืบพยานกันใหม่ และแม้ศาลไม่เรียกบริษัทดังกล่าวเข้าเป็นจำเลยร่วม จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องจากบริษัทดังกล่าวได้อยู่แล้วจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเรียกบริษัทดังกล่าวเข้ามาเป็นจำเลยร่วม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระหน้าที่นำสืบในคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และสิทธิการได้รับค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยให้การว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้วดังนี้โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก)นั้นศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54 การที่โจทก์ทำงานบกพร่องขาดความสามารถหรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่นเป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์มีหน้าที่นำสืบ, ศาลมีดุลยพินิจเรียกจำเลยร่วม, การทำงานบกพร่องไม่เป็นเหตุยกเว้นค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม, สิทธิการได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และการร้องสอดในคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลัก
โจทก์จำเลยต่างอ้าง อ.เป็นพยานร่วมกันในฐานะคนกลางแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ก็ตาม แต่เป็นเวลาภายหลังที่พยานเบิกความแล้ว จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงน้ำหนักคำพยานดังกล่าวในฐานะพยานร่วมให้เสียไปแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ และในการทำแผนที่พิพาท โจทก์ได้นำชี้ที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทว่าเป็นของโจทก์ด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลย เจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าในฐานะเป็นจำเลยร่วมหรือคู่ความฝ่ายที่สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน & การร้องสอดคดี: ศาลฎีกาเน้นการพิจารณาเฉพาะประเด็นพิพาทตรงระหว่างโจทก์จำเลย
โจทก์จำเลยต่างอ้างอ.เป็นพยานร่วมกันในฐานะคนกลางแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ก็ตามแต่เป็นเวลาภายหลังที่พยานเบิกความแล้วจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงน้ำหนักคำพยานดังกล่าวในฐานะพยานร่วมให้เสียไปแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์และในการทำแผนที่พิพาทโจทก์ได้นำชี้ที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทว่าเป็นของโจทก์ด้วยนั้นถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยเจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าในฐานะเป็นจำเลยร่วมหรือคู่ความฝ่ายที่สาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน & การร้องสอดคดี: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเจ้าของที่ดินเดิม & ยกคำร้องสอดที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท
โจทก์จำเลยต่างอ้าง อ.เป็นพยานร่วมกันในฐานะคนกลางแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ก็ตาม แต่เป็นเวลาภายหลังที่พยานเบิกความแล้ว จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงน้ำหนักคำพยานดังกล่าวในฐานะพยานร่วมให้เสียไปแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ และในการทำแผนที่พิพาท โจทก์ได้นำชี้ที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทว่าเป็นของโจทก์ด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลย เจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าในฐานะเป็นจำเลยร่วมหรือคู่ความฝ่ายที่สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการติดตามเอาทรัพย์คืนเมื่อขายฝากไม่ไถ่ และอายุความฟ้องร้องที่แตกต่างกัน
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์ การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง 1 ปีไม่
การที่จำเลยเป็นผู้ขอให้เรียกกรมการศาสนาเข้ามาเป็นคู่ความเองและคำฟ้องของกรมการศาสนาก็เป็นเรื่องให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์เช่าจากกรมการศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพียงขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยเท่านั้นและคดีนี้ก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายซ้ำซ้อนเพราะจำเลยยอมรับมาเองว่า กรมการศาสนาได้รับความเสียหาย ซึ่งศาลชั้นต้นก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่กรมการศาสนาตามนั้น จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืนและอายุความฟ้องร้อง: การซื้อขายฝาก การครอบครอง และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้วจำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตามแต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง1ปีไม่ การที่จำเลยเป็นผู้ขอให้เรียกกรมการศาสนาเข้ามาเป็นคู่ความเองและคำฟ้องของกรมการศาสนาก็เป็นเรื่องให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์เช่าจากกรมการศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพียงขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยเท่านั้นและคดีนี้ก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายซ้ำซ้อนเพราะจำเลยยอมรับมาเองว่ากรมการศาสนาได้รับความเสียหายซึ่งศาลชั้นต้นก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่กรมการศาสนาตามนั้นจำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้.
of 59