คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการติดตามเอาทรัพย์คืนเมื่อขายฝากไม่ไถ่ และอายุความฟ้องร้องที่แตกต่างกัน
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์ การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง 1 ปีไม่
การที่จำเลยเป็นผู้ขอให้เรียกกรมการศาสนาเข้ามาเป็นคู่ความเองและคำฟ้องของกรมการศาสนาก็เป็นเรื่องให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์เช่าจากกรมการศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพียงขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยเท่านั้นและคดีนี้ก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายซ้ำซ้อนเพราะจำเลยยอมรับมาเองว่า กรมการศาสนาได้รับความเสียหาย ซึ่งศาลชั้นต้นก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่กรมการศาสนาตามนั้น จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดประเด็นข้อพิพาท, ตัวแทน, หน้าที่ส่งมอบเงิน, และการผิดนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนโจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นตัวแทนจำเลยร่วมประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่าโจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนหรือไม่ส่วนที่จำเลยให้การเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท. จำเลยร่วมซึ่งร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยโดยอ้างเหตุว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)มีฐานะเสมอด้วยจำเลยและมีสิทธิต่อสู้คดีได้เพียงเท่าที่จำเลยมีอยู่เท่านั้นจึงไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่เพื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท และหน้าที่ของตัวแทนในการส่งมอบทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนโจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นตัวแทนจำเลยร่วมประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่าโจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนหรือไม่ส่วนที่จำเลยให้การเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท จำเลยร่วมซึ่งร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยโดยอ้างเหตุว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามป.วิ.พ.มาตรา57(2)มีฐานะเสมอด้วยจำเลยและมีสิทธิต่อสู้คดีได้เพียงเท่าที่จำเลยมีอยู่เท่านั้นจึงไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่เพื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิการต่อสู้คดีของจำเลยในคดีแพ่งที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา โดยต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
จำเลยขับรถยนต์ชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลย ฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องไว้ คดีเฉพาะตัวจำเลยศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลย การที่จำเลยขอให้เรียกเจ้าของรถยนต์คันอื่นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยอ้างว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของรถยนต์คันดังกล่าว ไม่ใช่ความประมาทของจำเลยนั้น หากศาลอนุญาตให้เรียกก็จะเท่ากับเป็นการยอมรับให้จำเลยนำสืบโต้แย้งว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันครั้งนี้ไม่ใช่ความผิดของจำเลย ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิจะกระทำเช่นนั้นศาลจึงชอยที่จะไม่อนุญาตให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งและเรียกจำเลยร่วมต้องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับคำฟ้องแย้งและคำขอเรียกจำเลยร่วมได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และมีคำสั่งให้เรียกบริษัทร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องขอของจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งต้องกันให้จำเลยที่ 1 ไปฟ้องโจทก์และจำเลยร่วมเป็นคดีใหม่ โดยอาศัยเหตุที่ว่าคำฟ้องแย้งและคำร้องขอให้เรียกบริษัทร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ย่อมมีผลเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องแย้งและที่ให้เรียกบริษัทร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เข้ามาเป็นจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถบรรทุกของโจทก์นำไปให้ อ. ลูกจ้างขับในทางการที่จ้างชนกับรถคันอื่นโดยประมาท เป็นเหตุให้รถของโจทก์พลิกคว่ำไฟไหม้เสียหาย จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกร้องเงินค่ารถบรรทุกของจำเลยที่ 1ที่ขายให้โจทก์ ค่าตัวถังรถค่าเช่าซื้อรถที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้ว ค่าขายซากรถที่คาดว่าจะขายได้และค่าสินไหมทดแทนซึ่งโจทก์ได้รับจากผู้รับประกันภัย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1ดังกล่าวเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่มีเหตุที่จะรับคำฟ้องแย้งไว้พิจารณา
เมื่อศาลไม่รับพิจารณาคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีคำฟ้องแย้งที่จะบังคับเอาแก่จำเลยร่วมเหลืออยู่ต่อไปไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะร้องขอให้เรียกบริษัทร.ส.พ.ประกันภัย จำกัดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องแย้งและคำขอเรียกจำเลยร่วมต้องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณาหากไม่มีความเชื่อมโยง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และมีคำสั่งให้เรียกบริษัทร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องขอของจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งต้องกันให้จำเลยที่ 1 ไปฟ้องโจทก์และจำเลยร่วมเป็นคดีใหม่ โดยอาศัยเหตุที่ว่าคำฟ้องแย้งและคำร้องขอให้เรียกบริษัทร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ย่อมมีผลเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องแย้งและที่ให้เรียกบริษัทร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถบรรทุกของโจทก์นำไปให้ อ. ลูกจ้างขับในทางการที่จ้างชนกับรถคันอื่นโดยประมาท เป็นเหตุให้รถของโจทก์พลิกคว่ำไฟไหม้เสียหาย จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกร้องเงินค่ารถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ที่ขายให้โจทก์ ค่าตัวถังรถค่าเช่าซื้อรถที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้วค่าขายซากรถที่คาดว่าจะขายได้ และค่าสินไหมทดแทนซึ่งโจทก์ได้รับจากผู้รับประกันภัย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1ดังกล่าวเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่มีเหตุที่จะรับคำฟ้องแย้งไว้พิจารณา
เมื่อศาลไม่รับพิจารณาคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีคำฟ้องแย้งที่จะบังคับเอาแก่จำเลยร่วมเหลืออยู่ต่อไปไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะร้องขอให้เรียกบริษัทร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยร่วมและการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วมให้การว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุกับจำเลยร่วม จำเลยร่วมรับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 3 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย คำให้การของจำเลยร่วมเป็นปรปักษ์ทั้งต่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย จำเลยร่วมก็ได้อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ในชั้นอุทธรณ์คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยร่วม จำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าเป็นจำเลยอุทธรณ์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยร่วมเฉพาะโจทก์ ไม่ส่งแก่จำเลยที่ 2ด้วย จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยมิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้อง ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 247 ประกอบด้วย มาตรา 243(2) และการส่งสำเนาอุทธรณ์จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 229 แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ขึ้นมา ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำระหว่างคู่ความในคดี
บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี จะเข้ามาเป็นคู่ความได้ก็แต่ด้วยการร้องสอดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลได้พิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว ถึงหากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นนิติกรรมอันลูกหนี้ (จำเลย) ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้ (ผู้ร้อง) เสียเปรียบ ซึ่งศาลอาจเพิกถอนเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ก็จะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกคดี ไม่มีสิทธิร้องขอเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี จะเข้ามาเป็นคู่ความได้ก็แต่ด้วยการร้องสอดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว ถึงหากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นนิติกรรมอันลูกหนี้ (จำเลย) ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้ (ผู้ร้อง) เสียเปรียบ ซึ่งศาลอาจเพิกถอนเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ก็จะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่แจ้งคู่ความร่วมรับทราบการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ ทำให้การพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยร่วมได้รับสำเนาอุทธรณ์แล้ว หรือได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยร่วมโดยการปิดประกาศไว้หน้าศาลแทนการส่งหมายแต่อย่างใด การพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น โดยไม่มีจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ด้วย ทั้ง ๆ ที่จำเลยร่วมยังเป็นคู่ความอยู่ และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมตามอุทธรณ์ของจำเลยอยู่ด้วยทั้งศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยร่วมทราบแต่อย่างใด จึงเป็นอันว่าจำเลยร่วมพ้นจากคดีไปลอย ๆ เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2), 247
of 59