พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดคดี – การเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสิทธิ – มาตรา 57(1) vs 57(2) และข้อห้ามตามมาตรา 58
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงขอเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสงวนสิทธิของผู้ร้องโดยจะยื่นคำให้การภายใน 8 วัน นับแต่ศาลสั่งอนุญาต ดังนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องตั้งข้อพิพาทเข้ามาเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 58 ที่จะใช้สิทธิในทางขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิม ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานศาลย่อมรับคำร้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดี: สิทธิในการต่อสู้คดีเพื่อรักษาสิทธิของตน และการรับคำร้องสอดเมื่อยังไม่มีการสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทเป็นของผู้ร้องจึงขอเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสงวนสิทธิของผู้ร้องโดยจะยื่นคำให้การภายใน 8 วัน นับแต่ศาลสั่งอนุญาต ดังนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องตั้งข้อพิพาทเข้ามาเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 58 ที่จะใช้สิทธิในทางขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิมดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานศาลย่อมรับคำร้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491-2493/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การเข้าเป็นคู่ความแทน, การรังวัดที่ดินผิดพลาด, และผลกระทบต่อทายาทผู้มีส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกันรังวัดสอบเขตผิดไปจากแนวเขตที่ดินและทางเกวียนเดิมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ที่ 1, 2 ซื้อจากโจทก์ที่ 3 และการรังวัดนั้นได้กระทำมาก่อนตั้งแต่ที่ดินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 ตามคำฟ้องและคำเบิกความพยานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องพอที่จะเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายและอาจถูกโจทก์ที่ 1, 2 ฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิ์ไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 1, 2 แพ้คดี ประกอบกับรูปคดีกรณีโจทก์ที่ 3 นี้ ถึงแม้จะไม่เป็นโจทก์ร่วมฟ้องด้วย โจทก์ที่ 1, 2 ก็ยังขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้ โจทก์ที่ 3 จึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีแล้ว ควรรับฟ้องของโจทก์ที่ 3 ไว้พิจารณาต่อไป ฉะนั้น การที่ก่อนพ้นเวลา 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์ที่ 3 ถึงแก่กรรม ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และให้นัดสืบพยานโจทก์ไป ดังนี้ เป็นการตัดสิทธิ์บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 สมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ทั้งคดีส่วนแพ่งและอาญา แต่เนื่องจากโจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จึงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น ในการที่จะกำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมายเรียกบุคคลภายนอกเป็นโจทก์ร่วม กรณีสัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิการครอบครอง
โจทก์ได้เช่าตึกพิพาทจากส.แต่เข้าครอบครองตึกชั้นล่างไม่ได้เพราะจำเลยครอบครองอยู่ จึงได้มีการฟ้องคดีกันระหว่างโจทก์จำเลยหลายคดี ในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในตึกพิพาทชั้นล่างจนสิ้นเดือนมีนาคม 2519 แต่ยังไม่ครบกำหนด โจทก์ก็มาฟ้องคดีนี้และขอให้ศาลหมายเรียก ส. เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย เช่นนี้ จำเลยอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมิได้รบกวนขัดขวางสิทธิโจทก์และไม่ได้โต้แย้งสิทธิของ ส. เมื่อโจทก์ให้จำเลยอาศัยเองและหากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องหรือถูก ส. ฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี กรณีจึงไม่ชอบที่จะหมายเรียก ส. เข้ามาในคดีตามมาตรา 549 ประกอบด้วยมาตรา 477 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามมาตรา 57(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลจึงบังคับให้ขับไล่จำเลยตามคำขอของ ส. ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก, สิทธิในทรัพย์สินก่อนสมรส, การเพิกถอนการโอน, และการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องซึ่งเป็นเพียงแสดงให้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่าหากศาลเห็นเป็นการสมควรหรือจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ขอให้เรียกจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นจึงใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข เรียกเข้ามา กรณีดังนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าคำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นพร้อมกับคำฟ้องเพื่อหมายเรียกตามมาตรา 57(3)
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำขอท้ายฟ้องที่ให้ถือคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลย และการบังคับคดีตามสัญญาให้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินให้ ฉ. และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง จำเลยร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 ทั้งแปลงก่อน โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะแบ่งให้ ฉ. ครึ่งหนึ่งภายหลัง และจะระบุข้อตกลงไว้ในหนังสือสัญญาให้ด้วย โจทก์จึงลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาให้ ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่แบ่งที่ดินให้ ฉ. มิได้ระบุข้อตกลงไว้ในสัญญาให้ และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จำนองที่พิพาทไว้กับธนาคาร สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และแบ่งที่พิพาทที่ไถ่ถอนแล้วให้ ฉ. ครึ่งหนึ่ง ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ ในกรณีที่โจทก์ชนะคดีและจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะด้วยเหตุใดก็ตาม โจทก์ก็อาจไถ่ถอนที่ดินพิพาทอันมีผลผูกพันส่วนที่จะยกให้ ฉ. เสียเอง แล้วมาฟ้องเรียกร้องเอาค่าไถ่ถอนคืนจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้ สำหรับผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจร้องสอดหรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาในคดีนี้ได้อยู่แล้ว หรือคู่กรณีจะเลือกฟ้องร้องกันใหม่เป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้
ความประสงค์ของโจทก์ตามคำขอก็คือต้องการให้จำเลยโอนที่พิพาทครึ่งหนึ่งให้ ฉ. โดยปลอดจำนองเท่านั้น ซึ่งถ้าปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์รับที่ดินพิพาทไว้โดยมีข้อตกลงดังกล่าว จำเลยก็ถูกผูกมัดโดยสัญญาที่จะต้องโอนที่ดินให้ ฉ. ตามที่โจทก์ขอมา ส่วนการที่ ฉ. จะรับการให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในชั้นบังคับคดี หาทำให้คำขอของโจทก์บังคับไม่ได้แต่อย่างไรไม่
ความประสงค์ของโจทก์ตามคำขอก็คือต้องการให้จำเลยโอนที่พิพาทครึ่งหนึ่งให้ ฉ. โดยปลอดจำนองเท่านั้น ซึ่งถ้าปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์รับที่ดินพิพาทไว้โดยมีข้อตกลงดังกล่าว จำเลยก็ถูกผูกมัดโดยสัญญาที่จะต้องโอนที่ดินให้ ฉ. ตามที่โจทก์ขอมา ส่วนการที่ ฉ. จะรับการให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในชั้นบังคับคดี หาทำให้คำขอของโจทก์บังคับไม่ได้แต่อย่างไรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด: สิทธิการร้องสอดคดีตั๋วเงิน
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ในคดีที่ห้างหุ้นส่วนถูกฟ้องให้ใช้หนี้ตามตั๋วเงิน จึงร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมไม่ได้ เมื่อศาลสั่งยกคำร้องสอด และเพิกถอนคำสั่งที่รับเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องบางคนไว้แล้ว ผู้ร้องอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกที่ดินเช่า โดยการฟ้องร่วมกันระหว่างผู้เช่าช่วงและเจ้าของที่ดิน
เดิมเจ้าของที่ดินตกลงให้ ท.เช่าที่ดินเพื่อปรับปรุงก่อสร้างอาคารพาณิชย์โดยให้กรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดินนับแต่วันสร้างเสร็จ และให้ ท.มีสิทธิเก็บผลประโยชน์ได้เป็นเวลา 12 ปีนับแต่วันครบกำหนดก่อสร้าง ต่อมา ท. ได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าให้โจทก์ตามที่มีข้อตกลงอนุญาตไว้ เจ้าของที่ดินได้แจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดิน จำเลยไม่ยอมขนย้ายออกไปทำให้โจทก์เข้าก่อสร้างในที่ดินที่เช่าไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกเจ้าของที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม พร้อมกับยื่นคำฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยเข้าอยู่ในที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วม อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่เช่าโดยละเมิดได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่เช่าก่อน และแม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพัง โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้เป็นคู่กรณีทั้งหลายรวมไปเป็นคดีเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์บริบูรณ์ขึ้นได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1053/2509)
ในกรณีดังกล่าวเมื่อจำเลยทำละเมิด ย่อมต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะผลแห่งการละเมิด และศาลจะบังคับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนสถานใดเพียงใดนั้น ย่อมแล้วแต่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด และค่าสินไหมทดแทนนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ ที่จำเลยได้ก่อขึ้นนั้นด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถปลูกตึกแถวในที่เช่าให้เช่าหาประโยชน์ตามสัญญาที่ผูกพันกันระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้รับการบอกกล่าวให้ทราบแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นความเสียหายอันเนื่องจากจากการทำละเมิดของจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ในกรณีดังกล่าวเมื่อจำเลยทำละเมิด ย่อมต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะผลแห่งการละเมิด และศาลจะบังคับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนสถานใดเพียงใดนั้น ย่อมแล้วแต่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด และค่าสินไหมทดแทนนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ ที่จำเลยได้ก่อขึ้นนั้นด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถปลูกตึกแถวในที่เช่าให้เช่าหาประโยชน์ตามสัญญาที่ผูกพันกันระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้รับการบอกกล่าวให้ทราบแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นความเสียหายอันเนื่องจากจากการทำละเมิดของจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกที่ดินเช่า โดยเจ้าของที่ดินและผู้รับโอนสิทธิเช่ามีอำนาจฟ้องร่วมกัน
เดิมเจ้าของที่ดินตกลงให้ ท. เช่าที่ดินเพื่อปรับปรุงก่อสร้างอาคารพาณิชย์โดยให้กรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดินนับแต่วันสร้างเสร็จ และให้ ท.มีสิทธิเก็บผลประโยชน์ได้เป็นเวลา 12 ปีนับแต่วันครบกำหนดก่อสร้าง ต่อมา ท.ได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าให้โจทก์ตามที่มีข้อตกลงอนุญาตไว้ เจ้าของที่ดินได้แจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดิน จำเลยไม่ยอมขนย้ายออกไปทำให้โจทก์เข้าก่อสร้างในที่ดินที่เช่าไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกเจ้าของที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม พร้อมกับยื่นคำฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเข้าอยู่ในที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วม อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่เช่าโดยละเมิดได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่เช่าก่อน และแม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพัง โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้เป็นคู่กรณีทั้งหลายรวมไปเป็นคดีเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์บริบูรณ์ขึ้นได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2509)
ในกรณีดังกล่าว เมื่อจำเลยกระทำผิด ย่อมต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะผลแห่งการละเมิด และศาลจะบังคับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนสถานใดเพียงใดนั้น ย่อมแล้วแต่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด และค่าสินไหมทดแทนนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ ที่จำเลยได้ก่อขึ้นนั้นด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถปลูกตึกแถวในที่เช่าให้เช่าหาประโยชน์ตามสัญญาที่ผูกพันกันระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้รับการบอกกล่าวให้ทราบแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ในกรณีดังกล่าว เมื่อจำเลยกระทำผิด ย่อมต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะผลแห่งการละเมิด และศาลจะบังคับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนสถานใดเพียงใดนั้น ย่อมแล้วแต่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด และค่าสินไหมทดแทนนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ ที่จำเลยได้ก่อขึ้นนั้นด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถปลูกตึกแถวในที่เช่าให้เช่าหาประโยชน์ตามสัญญาที่ผูกพันกันระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้รับการบอกกล่าวให้ทราบแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นจำเลยร่วมหลังสืบพยานเสร็จสิ้น: ศาลไม่อนุญาตหากไม่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินคดีและไม่มีส่วนได้เสียเพิ่มเติม
เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ระหว่างนัดสืบพยานจำเลย บิดาจำเลยยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ดังนี้ ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องสอดที่จะเข้ามาในดคี เพราะไม่อาจใช้สิทธิใด ๆ ในการดำเนินคดีนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่เมื่อตนร้องสอด ทั้งจำเลยก็มิได้ร้องขอให้ศาลเรียกผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีตั้งแต่แรก เพื่อผลแห่งคดีที่จะต้องรับผิดร่วมกัน จึงไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาในคดี