พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมหลังสืบพยานเสร็จสิ้น ไม่อาจใช้สิทธิเกินกว่าจำเลยเดิม
เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ระหว่างนัดสืบพยานจำเลยบิดาจำเลยยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมดังนี้ ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องสอดที่จะเข้ามาในคดี เพราะไม่อาจใช้สิทธิใดๆ ในการดำเนินคดีนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่เมื่อตนร้องสอด ทั้งจำเลยก็มิได้ร้องขอให้ศาลเรียกผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีตั้งแต่แรกเพื่อผลแห่งคดีที่จะต้องรับผิดร่วมกัน จึงไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ - สิทธิของผู้เช่า - การละเมิดสิทธิ - สัญญาเช่า - กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
โจทก์ร่วมทำสัญญาให้บริษัท ว.ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ร่วม โดยตกลงให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม บริษัท ว.หรือบริษัทผู้รับช่วงจากบริษัท ว.ได้สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าจากผู้เช่าและนำผู้เช่ามาทำสัญญากับโจทก์ร่วม บริษัท ว.ให้บริษัท ส.รับช่วงก่อสร้างอาคารดังกล่าวไป บริษัท ส.ได้ก่อสร้างอาคารพิพาทหนี้แล้วบริษัท ว.และบริษัท ส.ได้ตกลงให้ ม.เช่า และนำ ม.ไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วม ต่อมา ม.โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยโจทก์ร่วมอนุญาตและทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะได้ออกเงินค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่บริษัท ส.และบริษัท ส.ตกลงจะให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท ทั้งจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในอาคารพิพาทก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมไม่ทราบถึงข้อตกลงระหว่างบริษัท ส.กับจำเลย และบริษัท ส.ไม่ได้นำจำเลยไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมข้อตกลงระหว่างจำเลยกับบริษัท ส.คงผูกพันเฉพาะจำเลยกับบริษัท ส.เท่านั้นไม่ผูกพันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ร่วมจึงไม่มีหน้าที่ให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท
อาคารพิพาทปลูกในที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อตกลงกันว่าให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นส่วนควบของที่ดินของโจทก์ร่วมและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ร่วมอีก
การที่จำเลยได้เข้าอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ฟ้องขับไล่ จำเลยทำให้โจทก์ผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเข้าอยู่ในอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท และขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบด้วยมาตรา 549 แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะตกลงกันว่าโจทก์ร่วมไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ร่วมขจัดปัดเป่าการรอนสิทธิตามมาตรา 483 ประกอบด้วยมาตรา 549 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในการรอนสิทธิ ทั้งโจทก์ร่วมก็ยินยอมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยเข้าอยู่ในอาคารพิพาทโดยมิได้เช่าจากโจทก์ร่วมและเข้าอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 566
อาคารพิพาทปลูกในที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อตกลงกันว่าให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นส่วนควบของที่ดินของโจทก์ร่วมและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ร่วมอีก
การที่จำเลยได้เข้าอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ฟ้องขับไล่ จำเลยทำให้โจทก์ผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเข้าอยู่ในอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท และขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบด้วยมาตรา 549 แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะตกลงกันว่าโจทก์ร่วมไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ร่วมขจัดปัดเป่าการรอนสิทธิตามมาตรา 483 ประกอบด้วยมาตรา 549 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในการรอนสิทธิ ทั้งโจทก์ร่วมก็ยินยอมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยเข้าอยู่ในอาคารพิพาทโดยมิได้เช่าจากโจทก์ร่วมและเข้าอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 566
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์และการเช่า การละเมิดสิทธิและผลของการทำสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมทำสัญญาให้บริษัท ว. ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ร่วม โดยตกลงให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมบริษัทว. หรือบริษัทผู้รับช่วงจากบริษัท ว. ได้สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าจากผู้เช่าและนำผู้เช่ามาทำสัญญากับโจทก์ร่วม บริษัท ว. ให้บริษัท ส. รับช่วงก่อสร้างอาคารดังกล่าวไป บริษัท ส. ได้ก่อสร้างอาคารพิพาทนี้แล้วบริษัท ว. และบริษัท ส. ได้ตกลงให้ ม. เช่าและนำ ม. ไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมต่อมา ม. โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยโจทก์ร่วมอนุญาตและทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะได้ออกเงินค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่บริษัท ส. และบริษัท ส. ตกลงจะให้จำเลยเช่าอาคารพิพาททั้งจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในอาคารพิพาทก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมก็ตามแต่เมื่อโจทก์ร่วมไม่ทราบถึงข้อตกลงระหว่างบริษัท ส.กับจำเลยและบริษัท ส. ไม่ได้นำจำเลยไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมข้อตกลงระหว่างจำเลยกับบริษัท ส. คงผูกพันเฉพาะจำเลยกับบริษัท ส. เท่านั้น ไม่ผูกพันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ร่วมจึงไม่มีหน้าที่ให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท
อาคารพิพาทปลูกในที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อตกลงกันว่าให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นส่วนควบของที่ดินของโจทก์ร่วมและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ร่วมอีก
การที่จำเลยได้เข้าอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ฟ้องขับไล่จำเลย ทำให้โจทก์ผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเข้าอยู่ในอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท และขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบด้วยมาตรา 549แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะตกลงกันว่าโจทก์ร่วมไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ร่วมขจัดปัดเป่าการรอนสิทธิตามมาตรา483 ประกอบด้วยมาตรา 549 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในการรอนสิทธิทั้งโจทก์ร่วมก็ยินยอมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีโจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยเข้าอยู่ในอาคารพิพาทโดยมิได้เช่าจากโจทก์ร่วมและเข้าอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566
อาคารพิพาทปลูกในที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อตกลงกันว่าให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นส่วนควบของที่ดินของโจทก์ร่วมและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ร่วมอีก
การที่จำเลยได้เข้าอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ฟ้องขับไล่จำเลย ทำให้โจทก์ผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเข้าอยู่ในอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท และขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบด้วยมาตรา 549แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะตกลงกันว่าโจทก์ร่วมไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ร่วมขจัดปัดเป่าการรอนสิทธิตามมาตรา483 ประกอบด้วยมาตรา 549 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในการรอนสิทธิทั้งโจทก์ร่วมก็ยินยอมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีโจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยเข้าอยู่ในอาคารพิพาทโดยมิได้เช่าจากโจทก์ร่วมและเข้าอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญา แม้จะยังมิได้ชำระหนี้
จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแบ่งที่ดินพิพาทนี้ โดยระบุว่าเป็นทรัพย์มรดก จำเลยจะแบ่งให้โจทก์ตามส่วนและข้อตกลง เมื่อโอนให้โจทก์แล้ว โจทก์จะต้องแบ่งให้บุตร4 คนของโจทก์ครึ่งหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับ โจทก์จำเลยตกลงจะไปโอนที่ดินภายใน 30 วันนับแต่วันทำสัญญาและบุตรโจทก์ 4 คนนั้นต้องชำระเงินให้จำเลย 2,000 บาท จำเลยจึงจะโอนให้ตามกำหนด โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแรกขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ตามสัญญา คดีนั้นศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือว่าสัญญาให้ และวินิจฉัยว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งฝ่ายโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ไม่ได้โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ว่าโจทก์ได้เสนอจะปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว ขอให้บังคับให้จำเลยรับเงินและโอนที่พิพาทให้โจทก์ อันมีประเด็นโต้เถียงกันว่ากรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์เพียงใดหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การที่จำเลยตกลงทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะแบ่งที่พิพาทให้บุตรโจทก์คือ น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาด้วย และได้ความว่าผู้ร้องสอดทั้งสามได้แสดงเจตนาที่จะรับที่ดินส่วนที่จำเลยแบ่งให้แล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินส่วนของตนได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ผู้เดียวก่อนหาได้ไม่ และคำร้องสอดเช่นว่านี้เป็นกรณีขอให้บังคับจำเลยตามสัญญา มิได้ขอให้บังคับโจทก์แต่อย่างใดจึงมิใช่เป็นการฟ้องโจทก์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1534
กำหนดเวลาตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีความหมายที่จะให้จำเลยปฏิบัติการโอนที่ดินให้โจทก์ภายในเวลา 30 วัน ส่วนข้อความตอนท้ายที่จะให้บุตรโจทก์ชำระเงินตอบแทนนั้น ก็มีความหมายเพียงว่าหากบุตรโจทก์ไม่ชำระเงิน จำเลยก็ยังไม่ต้องโอนที่ดินให้ตามกำหนดกำหนดเวลาตามสัญญานี้จึงมิใช่ข้อที่คู่สัญญาตกลงให้ฝ่ายโจทก์ชำระเงินภายใน 30 วันการที่โจทก์เสนอชำระเงินภายหลังจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและเมื่อโจทก์และผู้ร้องสอดได้ขอชำระเงิน 2,000 บาทให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องโอนที่ดินให้โจทก์และผู้ร้องสอด
ตามนัยของสัญญา น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 4 ของครึ่งหนึ่งของที่พิพาท บุตรโจทก์แต่ละคนจึงต่างก็มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนของตนจากจำเลยได้ เมื่อมีคนใดไม่ใช้สิทธิของตนหรือแสดงเจตนาสละสิทธิของตน ย่อมไม่เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิคนอื่นจะไปใช้สิทธิให้นอกเหนือไปจากสัญญาได้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าพวกตน 3 คนควรได้รับส่วนแบ่งรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนที่จำเลยจะต้องโอนให้หาได้ไม่
การที่จำเลยตกลงทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะแบ่งที่พิพาทให้บุตรโจทก์คือ น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาด้วย และได้ความว่าผู้ร้องสอดทั้งสามได้แสดงเจตนาที่จะรับที่ดินส่วนที่จำเลยแบ่งให้แล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินส่วนของตนได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ผู้เดียวก่อนหาได้ไม่ และคำร้องสอดเช่นว่านี้เป็นกรณีขอให้บังคับจำเลยตามสัญญา มิได้ขอให้บังคับโจทก์แต่อย่างใดจึงมิใช่เป็นการฟ้องโจทก์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1534
กำหนดเวลาตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีความหมายที่จะให้จำเลยปฏิบัติการโอนที่ดินให้โจทก์ภายในเวลา 30 วัน ส่วนข้อความตอนท้ายที่จะให้บุตรโจทก์ชำระเงินตอบแทนนั้น ก็มีความหมายเพียงว่าหากบุตรโจทก์ไม่ชำระเงิน จำเลยก็ยังไม่ต้องโอนที่ดินให้ตามกำหนดกำหนดเวลาตามสัญญานี้จึงมิใช่ข้อที่คู่สัญญาตกลงให้ฝ่ายโจทก์ชำระเงินภายใน 30 วันการที่โจทก์เสนอชำระเงินภายหลังจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและเมื่อโจทก์และผู้ร้องสอดได้ขอชำระเงิน 2,000 บาทให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องโอนที่ดินให้โจทก์และผู้ร้องสอด
ตามนัยของสัญญา น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 4 ของครึ่งหนึ่งของที่พิพาท บุตรโจทก์แต่ละคนจึงต่างก็มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนของตนจากจำเลยได้ เมื่อมีคนใดไม่ใช้สิทธิของตนหรือแสดงเจตนาสละสิทธิของตน ย่อมไม่เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิคนอื่นจะไปใช้สิทธิให้นอกเหนือไปจากสัญญาได้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าพวกตน 3 คนควรได้รับส่วนแบ่งรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนที่จำเลยจะต้องโอนให้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องที่ดินจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการฟ้องซ้ำ
จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแบ่งที่ดินพิพาทนี้ โดยระบุว่าเป็นทรัพย์มรดก จำเลยจะแบ่งให้โจทก์ตามส่วนและข้อตกลงเมื่อโอนให้โจทก์แล้ว โจทก์จะต้องแบ่งให้บุตร4 คนของโจทก์ครึ่งหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับ โจทก์จำเลยตกลงจะไปโอนที่ดินภายใน 30 วันนับแต่วันทำสัญญาและบุตรโจทก์ 4 คนนั้นต้องชำระเงินให้จำเลย 2,000 บาท จำเลยจึงจะโอนให้ตามกำหนดโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแรกขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ตามสัญญา คดีนั้นศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือว่าสัญญาให้ และวินิจฉัยว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งฝ่ายโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ไม่ได้โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ว่าโจทก์ได้เสนอจะปฏิบัติการชำระหนี้แล้วขอให้บังคับให้จำเลยรับเงินและโอนที่พิพาทให้โจทก์ อันมีประเด็นโต้เถียงกันว่ากรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์เพียงใดหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การที่จำเลยตกลงทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะแบ่งที่พิพาทให้บุตรโจทก์คือ น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาด้วย และได้ความว่าผู้ร้องสอดทั้งสามได้แสดงเจตนาที่จะรับที่ดินส่วนที่จำเลยแบ่งให้แล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินส่วนของตนได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ผู้เดียวก่อนหาได้ไม่ และคำร้องสอดเช่นว่านี้เป็นกรณีขอให้บังคับจำเลยตามสัญญา มิได้ขอให้บังคับโจทก์แต่อย่างใดจึงมิใช่เป็นการฟ้องโจทก์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1534
กำหนดเวลาตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีความหมายที่จะให้จำเลยปฏิบัติการโอนที่ดินให้โจทก์ภายในเวลา 30 วัน ส่วนข้อความตอนท้ายที่จะให้บุตรโจทก์ชำระเงินตอบแทนนั้น ก็มีความหมายเพียงว่าหากบุตรโจทก์ไม่ชำระเงิน จำเลยก็ยังไม่ต้องโอนที่ดินให้ตามกำหนดกำหนดเวลาตามสัญญานี้จึงมิใช่ข้อที่คู่สัญญาตกลงให้ฝ่ายโจทก์ชำระเงินภายใน 30 วัน การที่โจทก์เสนอชำระเงินภายหลังจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและเมื่อโจทก์และผู้ร้องสอดได้ขอชำระเงิน2,000 บาทให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องโอนที่ดินให้โจทก์และผู้ร้องสอด
ตามนัยของสัญญา น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 4 ของครึ่งหนึ่งของที่พิพาทบุตรโจทก์แต่ละคนจึงต่างก็มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนของตนจากจำเลยได้เมื่อมีคนใดไม่ใช้สิทธิของตนหรือแสดงเจตนาสละสิทธิของตนย่อมไม่เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิคนอื่นจะไปใช้สิทธิให้นอกเหนือไปจากสัญญาได้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าพวกตน 3 คนควรได้รับส่วนแบ่งรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนที่จำเลยจะต้องโอนให้หาได้ไม่
การที่จำเลยตกลงทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะแบ่งที่พิพาทให้บุตรโจทก์คือ น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาด้วย และได้ความว่าผู้ร้องสอดทั้งสามได้แสดงเจตนาที่จะรับที่ดินส่วนที่จำเลยแบ่งให้แล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินส่วนของตนได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ผู้เดียวก่อนหาได้ไม่ และคำร้องสอดเช่นว่านี้เป็นกรณีขอให้บังคับจำเลยตามสัญญา มิได้ขอให้บังคับโจทก์แต่อย่างใดจึงมิใช่เป็นการฟ้องโจทก์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1534
กำหนดเวลาตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีความหมายที่จะให้จำเลยปฏิบัติการโอนที่ดินให้โจทก์ภายในเวลา 30 วัน ส่วนข้อความตอนท้ายที่จะให้บุตรโจทก์ชำระเงินตอบแทนนั้น ก็มีความหมายเพียงว่าหากบุตรโจทก์ไม่ชำระเงิน จำเลยก็ยังไม่ต้องโอนที่ดินให้ตามกำหนดกำหนดเวลาตามสัญญานี้จึงมิใช่ข้อที่คู่สัญญาตกลงให้ฝ่ายโจทก์ชำระเงินภายใน 30 วัน การที่โจทก์เสนอชำระเงินภายหลังจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและเมื่อโจทก์และผู้ร้องสอดได้ขอชำระเงิน2,000 บาทให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องโอนที่ดินให้โจทก์และผู้ร้องสอด
ตามนัยของสัญญา น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 4 ของครึ่งหนึ่งของที่พิพาทบุตรโจทก์แต่ละคนจึงต่างก็มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนของตนจากจำเลยได้เมื่อมีคนใดไม่ใช้สิทธิของตนหรือแสดงเจตนาสละสิทธิของตนย่อมไม่เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิคนอื่นจะไปใช้สิทธิให้นอกเหนือไปจากสัญญาได้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าพวกตน 3 คนควรได้รับส่วนแบ่งรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนที่จำเลยจะต้องโอนให้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลไม่อนุญาตคู่ความร่วม: พิจารณาประเภทคำสั่งเพื่อสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วมในคดีตามคำร้องของจำเลยนั้น ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความและไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเป็นคู่ความร่วม: การจำแนกประเภทคำสั่งและการอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วมในคดีตามคำร้องของจำเลยนั้น ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความและไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องสอดของบุคคลภายนอกเมื่อสิทธิถูกโต้แย้งจากการโอนสิทธิการเช่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเดิม เพียงแต่สิทธิถูกโต้แย้งก็มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
ผู้ร้องร้องเข้ามามีใจความสำคัญว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยได้ เพราะจำเลยได้ทำนิติกรรมโอนขายให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้รับโอนพร้อมทั้งชำระเงินให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของผู้ร้องเกี่ยวกับการรับโอนสิทธิการเช่าตึกรายเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้ตกลงยอมโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้นโจทก์ยังจะคงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)
ผู้ร้องร้องเข้ามามีใจความสำคัญว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยได้ เพราะจำเลยได้ทำนิติกรรมโอนขายให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้รับโอนพร้อมทั้งชำระเงินให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของผู้ร้องเกี่ยวกับการรับโอนสิทธิการเช่าตึกรายเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้ตกลงยอมโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้นโจทก์ยังจะคงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องสอดของบุคคลภายนอกเมื่อสิทธิถูกโต้แย้งจากการโอนสิทธิเช่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเดิม เพียงแต่สิทธิถูกโต้แย้ง ก็มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
ผู้ร้องร้องเข้ามามีใจความสำคัญว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยได้ เพราะจำเลยได้ทำนิติกรรมโอนขายให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้รับโอนพร้อมทั้งชำระเงินให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของผู้ร้องเกี่ยวกับการรับโอนสิทธิการเช่าตึกรายเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้ตกลงยอมโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้น โจทก์ยังจะคงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
ผู้ร้องร้องเข้ามามีใจความสำคัญว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยได้ เพราะจำเลยได้ทำนิติกรรมโอนขายให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้รับโอนพร้อมทั้งชำระเงินให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของผู้ร้องเกี่ยวกับการรับโอนสิทธิการเช่าตึกรายเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้ตกลงยอมโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้น โจทก์ยังจะคงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ต่างจากชื่อในทะเบียน, หุ้นส่วนสามัญ, สิทธิฟ้องร่วม, ความรับผิดจากประมาท
การมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์เป็นแต่ข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าเป็นเจ้าของเท่านั้น หาใช่แสดงว่าผู้มีชื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เสมอไปไม่ เพราะทะเบียนรถยนต์มิใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์
โจทก์ร่วมได้นำรถยนต์ของตนเข้าวิ่งร่วมรับจ้างบรรทุกกับโจทก์ และมอบให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์ แต่โจทก์ร่วมยังเป็นผู้ออกค่าจ้างคนขับค่าน้ำมัน ค่าซ่อมเครื่องยนต์และยาง ซึ่งพฤติการณ์แสดงว่ารถยนต์ดังกล่าวยังเป็นของโจทก์ร่วมอยู่ การโอนทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของเป็นเพียงพิธีการจะให้รถยนต์ได้เข้ามาร่วมกิจการกับโจทก์เพื่อหาประโยชน์เท่านั้น การร่วมกิจการเพื่อหาประโยชน์ร่วมกันในกรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม เมื่อมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์ดังกล่าวเสียหาย โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นการเรียกร้องเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยทุกคน
โจทก์ร่วมได้นำรถยนต์ของตนเข้าวิ่งร่วมรับจ้างบรรทุกกับโจทก์ และมอบให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์ แต่โจทก์ร่วมยังเป็นผู้ออกค่าจ้างคนขับค่าน้ำมัน ค่าซ่อมเครื่องยนต์และยาง ซึ่งพฤติการณ์แสดงว่ารถยนต์ดังกล่าวยังเป็นของโจทก์ร่วมอยู่ การโอนทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของเป็นเพียงพิธีการจะให้รถยนต์ได้เข้ามาร่วมกิจการกับโจทก์เพื่อหาประโยชน์เท่านั้น การร่วมกิจการเพื่อหาประโยชน์ร่วมกันในกรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม เมื่อมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์ดังกล่าวเสียหาย โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นการเรียกร้องเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยทุกคน