พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมที่ไม่ตรงกับลักษณะข้ออ้าง และผลของการยอมความของคู่ความเดิม
คำร้องสอดกล่าวว่า ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกัน กล่าวคือ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมย่อมเป็นไปตามมาตรา 57(2) เท่านั้น แต่ลักษณะข้ออ้างของผู้ร้องสอดได้อ้างเข้ามาในทางว่า ตนเองมีสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์รายพิพาทได้โดยโจทก์และจำเลยไม่มีสิทธิดีกว่าอย่างไร การอ้างเข้ามาจึงมีลักษณะเข้าตามมาตรา57(1) ซึ่งมิใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องการขอเข้าเป็นจำเลยร่วม เมื่อคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกันอยู่ หากจะเห็นว่าความประสงค์อันแท้จริงของผู้ร้องก็คือ จะขอเข้าบังคับเอาตามสิทธิของตนดังที่มีอยู่โดยอาศัยความในมาตรา 57(1)นั้นเองแล้ว การที่จะรับให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในฐานนี้ได้ก็จำต้องมีโจทก์จำเลยเดิมว่าคดีกันต่อไป และตกอยู่ในฐานะเป็นจำเลยผู้ร้องสอดไปทั้งคู่ แต่เมื่อโจทก์จำเลยเดิมได้ยอมความเสร็จเรื่องกันไปแล้ว จึงหมดกรณีที่ผู้ร้องสอดจะอาศัยร้องสอดเข้าไปในฐานะนี้ได้เสียแล้วเป็นเรื่องของผู้ร้องสอดที่จะดำเนินคดีของตนในทางอื่นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะข้ออ้างและผลของการยอมความ
คำร้องสอดกล่าวว่า ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1). ซึ่งคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกัน. กล่าวคือ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมย่อมเป็นไปตามมาตรา 57(2) เท่านั้น. แต่ลักษณะข้ออ้างของผู้ร้องสอดได้อ้างเข้ามาในทางว่า ตนเองมีสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์รายพิพาทได้โดยโจทก์และจำเลยไม่มีสิทธิดีกว่าอย่างไร. การอ้างเข้ามาจึงมีลักษณะเข้าตามมาตรา57(1) ซึ่งมิใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องการขอเข้าเป็นจำเลยร่วม. เมื่อคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกันอยู่. หากจะเห็นว่าความประสงค์อันแท้จริงของผู้ร้องก็คือ จะขอเข้าบังคับเอาตามสิทธิของตนดังที่มีอยู่โดยอาศัยความในมาตรา 57(1)นั้นเองแล้ว. การที่จะรับให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในฐานนี้ได้ก็จำต้องมีโจทก์จำเลยเดิมว่าคดีกันต่อไป และตกอยู่ในฐานะเป็นจำเลยผู้ร้องสอดไปทั้งคู่. แต่เมื่อโจทก์จำเลยเดิมได้ยอมความเสร็จเรื่องกันไปแล้ว. จึงหมดกรณีที่ผู้ร้องสอดจะอาศัยร้องสอดเข้าไปในฐานะนี้ได้เสียแล้ว.เป็นเรื่องของผู้ร้องสอดที่จะดำเนินคดีของตนในทางอื่นต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมที่ไม่ตรงกับลักษณะข้ออ้าง และผลของการยอมความ
คำร้องสอดกล่าวว่า ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกัน กล่าวคือ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมย่อมเป็นไปตามมาตรา 57(2) เท่านั้นแต่ลักษณะข้ออ้างของผู้ร้องสอดได้อ้างเข้ามาในทางว่า ตนเองมีสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์รายพิพาทได้โดยโจทก์และจำเลยไม่มีสิทธิดีกว่าอย่างไร การอ้างเข้ามาจึงมีลักษณะเข้าตามมาตรา 57(1) ซึ่งมิใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องการขอเข้าเป็นจำเลยร่วมเมื่อคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกันอยู่ หากจะเห็นว่าความประสงค์อันแท้จริงของผู้ร้องก็คือ จะขอเข้าบังคับเอาตามสิทธิของตนดังที่มีอยู่โดยอาศัยความในมาตรา 57(1)นั้นเองแล้ว การที่จะรับให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในฐานนี้ได้ก็จำต้องมีโจทก์จำเลยเดิมว่าคดีกันต่อไป และตกอยู่ในฐานะเป็นจำเลยผู้ร้องสอดไปทั้งคู่ แต่เมื่อโจทก์จำเลยเดิมได้ยอมความเสร็จเรื่องกันไปแล้วจึงหมดกรณีที่ผู้ร้องสอดจะอาศัยร้องสอดเข้าไปในฐานะนี้ได้เสียแล้วเป็นเรื่องของผู้ร้องสอดที่จะดำเนินคดีของตนในทางอื่นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องสอดในคดีขับไล่: การบังคับรื้อถอนเมื่ออ้างสิทธิแต่พิสูจน์ไม่ได้
ผู้ร้องสอดที่เข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และ (3) มีสิทธิ์เสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ผู้ร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดนำสืบไม่สม ผู้ร้องสอดจึงต้องรับผิดตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องสอดเข้ายึดถือที่พิพาทโดยปราศจากสิทธิ์ใด ๆ อันจะพึงอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องสอดจึงต้องถูกบังคับให้รื้อถอนไป หาเป็นการบังคับคดีนอกฟ้องหรือเกินคำขอไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ผู้ร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดนำสืบไม่สม ผู้ร้องสอดจึงต้องรับผิดตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องสอดเข้ายึดถือที่พิพาทโดยปราศจากสิทธิ์ใด ๆ อันจะพึงอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องสอดจึงต้องถูกบังคับให้รื้อถอนไป หาเป็นการบังคับคดีนอกฟ้องหรือเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดี และขอบเขตการบังคับรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเมื่ออ้างสิทธิในที่ดินแต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้
ผู้ร้องสอดที่เข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และ(3) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ผู้ร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดนำสืบไม่สม ผู้ร้องสอดจึงต้องรับผิดตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องสอดเข้ายึดถือที่พิพาทโดยปราศจากสิทธิใด ๆ อันจะพึงอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องสอดจึงต้องถูกบังคับให้รื้อถอนไป หาเป็นการบังคับคดีนอกฟ้องหรือเกินคำขอไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ผู้ร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดนำสืบไม่สม ผู้ร้องสอดจึงต้องรับผิดตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องสอดเข้ายึดถือที่พิพาทโดยปราศจากสิทธิใด ๆ อันจะพึงอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องสอดจึงต้องถูกบังคับให้รื้อถอนไป หาเป็นการบังคับคดีนอกฟ้องหรือเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตถอนตัวจากจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ต้องรอจนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากผู้ร้องไม่เห็นพ้อง ก็มีสิทธิเพียงแต่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ในเมื่อศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ภายหลังมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหากผู้ร้องไม่เห็นพ้อง ก็มีสิทธิเพียงแต่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อสิทธิอุทธรณ์ในเมื่อได้พิจารณาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดีขับไล่: ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดีจึงจะได้รับการอนุญาต
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากตึกพิพาทอ้างว่าอยู่โดยละเมิด จำเลยต่อสู้ว่าอยู่ในตึกพิพาทโดยเช่าจากผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องได้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) อ้างว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ดังนี้ การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเพียงใด เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลย แม้จำเลยจะไปทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ร้องในภายหลัง ผลแห่งคดีก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องอย่างใด จึงไม่ถือว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และการที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) นั้น ก็อยู่ในอำนาจศาลที่จะพิจารณาว่าคดีมีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตหรือไม่ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดีขับไล่: ผู้ให้เช่าไม่มีส่วนได้เสียในผลคดีระหว่างผู้เช่ากับเจ้าของที่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากตึกพิพาทอ้างว่าอยู่โดยละเมิด จำเลยต่อสู้ว่าอยู่ในตึกพิพาท โดยเช่าจากผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องได้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) อ้างว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ดังนี้การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเพียงใด เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยแม้จำเลยจะไปทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ร้องในภายหลัง ผลแห่งคดีก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องอย่างใด จึงไม่ถือว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และการที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) นั้นก็อยู่ในอำนาจศาลที่จะพิจารณาว่าคดีมีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตหรือไม่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมโมฆะไม่คืนสู่ฐานะเดิม สิทธิเรียกร้องต้องฟ้องลาภมิควรได้
นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้น กฎหมายหาได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนฐานะเดิมเหมือนเรื่องโมฆียะกรรมที่ถูกบอกล้างแล้วไม่ ฐานะของคู่กรณีแห่งนิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นมิได้มีการเปลี่ยนแปลง คู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งขอมา เพียงแต่สัญญาปรากฏว่าเป็นโมฆะ จะขอให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์หรือราคากันด้วยหาได้ไม่