คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะ ไม่คืนสถานะเดิม สิทธิเรียกร้องต้องฟ้องต่างหาก
นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้น กฎหมายหาได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนฐานะเดิมเหมือนเรื่องโมฆียะกรรมที่ถูกบอกล้างแล้วไม่ ฐานะของคู่กรณีแห่งนิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นมิได้มีการเปลี่ยนแปลง คู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่งซึ่งต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งขอมา เพียงแต่สัญญาปรากฏว่าเป็นโมฆะ จะขอให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์หรือราคากันด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่าเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้เช่าสิ้นสภาพบุคคลเนื่องจากการเสียชีวิตของผู้จัดการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์เพื่อทำการค้า ต่อมาผู้จัดการห้างจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่กรรม เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องการเลิกห้างโดยมีการชำระบัญชีจึงย่อยจะถือว่าห้างจำเลยยังคงตั้งอยู่เท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีไม่ได้ และเมื่อห้างจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าตึงรายนี้สิ้นสภาพบุคคลแล้วสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับห้างจำเลยก็ย่อยเป็นอันระงับไป บริวารของห้างจำเลยจึงย่อมไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกแถวของโจทก์ได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับเมื่อห้างหุ้นส่วนสิ้นสภาพบุคคล แม้ไม่มีการชำระบัญชี
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์เพื่อทำการค้าต่อมาผู้จัดการห้างจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่กรรมเมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องการเลิกห้างโดยมีการชำระบัญชีจึงย่อมจะถือว่าห้างจำเลยยังคงตั้งอยู่เท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีไม่ได้และเมื่อห้างจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าตึกรายนี้สิ้นสภาพบุคคลแล้วสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับห้างจำเลยก็ย่อมเป็นอันระงับไปบริวารของห้างจำเลยจึงย่อมไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกแถวของโจทก์ได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอด - คำร้องสอดเป็นทั้งคำให้การและฟ้องแย้ง - ไม่อาจใช้บทจำเลยขาดนัด
(1)บทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดยื่นคำให้การจะนำมาใช้แก่ผู้ร้องสอดหาได้ไม่
(2)คำร้องของผู้ร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 นั้น ย่อมเป็นทั้งคำให้การต่อสู้และฟ้องแย้งคดีได้อยู่ในตัวแล้วแต่กรณี
(3)เมื่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 กำหนดให้ผู้ร้องสอดทำคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความก็ย่อมใช้กระดาษแบบคำร้องตลอดถึงฟ้องแย้งในคำร้องสอดนั้นด้วยได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอด - คำร้องเป็นฟ้องแย้ง - การใช้กระดาษแบบพิมพ์ - เจ้าของที่ดิน
(1)บทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดยื่นคำให้การจะนำใช้แก่ผู้ร้องสอดหาได้ไม่
(2)คำร้องของผู้ร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 นั้น ย่อมเป็นทั้งค่ำให้การต่อสู้และฟ้องแย้งคดีได้อยู่ในตัว แล้วแต่กรณี
(3)เมื่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 กำหนดให้ผู้ร้องสอดทำคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความ ก็ย่อมใช้กระดาษแบบคำร้องตลอดถึงฟ้องแย้งในคำร้องสอดนั้นด้วยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินตามพินัยกรรม, อำนาจฟ้อง, และการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี
(1) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย ที่ดินซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมย่อมตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 โดยมิพักต้องทำพิธีรับมรดก และหรือเข้าครอบครองที่ดินนั้น โดยเหตุนี้ เจ้าของที่ดินเช่นว่านี้ย่อมมีอำนาจฟ้องให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์และขับไล่ผู้อาศัย (2) ใบนำเพื่อจะไปเสียเงินบำรุงท้องที่นั้น ไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน (3) เนื่องจากคำให้การต่อสู้ของจำเลยจึงเป็นเหตุให้โจทก์ขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี อันเป็นอำนาจที่โจทก์และศาลจะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 ดังนั้นฎีกาจำเลยที่ว่าก่อนฟ้องโจทก์มิได้บอกกล่าวจำเลยร่วมและโจทก์มิได้โต้แย้งสิทธิของจำเลย จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรม และอำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน
(1) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย ที่ดินซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมย่อมตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมทันทีตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1673 โดยมิพักต้องทำพิธีรับมรดก และหรือเข้าครอบครองที่ดินนั้น โดยเหตุนี้ เจ้าของที่ดินเช่นว่านี้ย่อมมีอำนาจฟ้องให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์และขับไล่ผู้อาศัย
(2) ใบนำเพื่อจะไปเสียเงินบำรุงท้องที่นั้น ไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
(3) เนื่องจากคำให้การต่อสู้ของจำเลยจึงเป็นเหตุให้โจทก์ขอให้ศาลเรียกจำเลยเข้ามาในคดี อันเป็นอำนาจที่โจทก์และศาลจะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 ดังนั้น ฎีกาจำเลยที่ว่าก่อนฟ้องโจทก์มิได้บอกกล่าวจำเลยร่วมและโจทก์มิได้โต้แย้งสิทธิของจำเลย จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากและการรับซื้อฝากแทนกัน ผู้รับซื้อฝากมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ แม้ตัวการจะยังไม่เปิดเผยชื่อ
โจทก์เป็นกรรมการอำนาวยการบริษัท ท. และบริษัท ทปด.โจทก์ให้ ส.ลงชื่อเป็นผู้ซื้อฝากทรัพย์รายพิพาทจากจำเลย แต่ความจริงปรากฎว่าบริษัท ทปด.เป็นผู้ซื้อฝากที่แท้จริง จำเลยมิได้ไถ่ทรัพย์คืนจนพ้นกำหนด ส.ถึงแก่กรรม ทายาทของ ส. โอนทรัพย์รายพิพาทให้แก่โจทก์เมื่อตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ คือ บริษัท ทปด.ยังมิได้แสดงตนเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์ได้ทรัพย์รายพิพาท โจทก์ก็คงมีสิทธิตามสัญญานั้นอยู่ มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและให้จำเลยส่งทรัพย์รายพิพาทให้ เมื่อโจทก์ฟ้องแล้วบริษัท ทปด.ร้องสอดขอเข้ามาในคดีเข้าแทนที่โจทก์รับเอาสัญญาจากโจทก์ โจทก์ก็ยินยอม ดังนี้ บริษัท ทปด.ก็ได้อำนาจจากโจทก์โดยตัวแทนยอมคืนทรัพย์สินให้ตัวการ จำเลยจะคัดค้านว่าโจทก์กับบริษัท ทปอ.ไม่มีอำนาจฟ้องย่อมฟังไม่ได้
และเมื่อพ้นกำหนดการไถ่แล้ว ทรัพย์รายพิพาทไม่ใช่เป็นของจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่และใช้ทรัพย์นี้ได้ต่อไป ดังนั้น โจทก์จะเป็นผู้รับซื้อฝากเองหรือผู้ใดจะอ้างว่าเป็นตัวการเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์รับซื้อฝากแทน ผลก็เท่ากัน ไม่ทำให้เสื่อมสิทธิของจำเลยในการขายฝากนี้แต่อย่างใด เพราะเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิในทรัพย์รายพิพาทแล้ว ทรัพย์นั้นจะเป็นของบริษัท ทปด.ผู้ร้องสอดดังที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้างหรือว่าเป็นของบริษัท ท. โดย ส.รับซื้อแทนดังที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะยอมรับความเป็นจริง จำเลยไม่อาจอ้างเรื่องสิทธิฟ้องร้องขึ้นต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของบริษัท ท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อฝากและสิทธิของตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ ผู้รับซื้อฝากแทนมีอำนาจฟ้องได้
โจทก์เป็นกรรมการอำนวยการบริษัท ท.และบริษัททปค.โจทก์ให้ ส.ลงชื่อเป็นผู้ซื้อฝากทรัพย์รายพิพาทจากจำเลย แต่ความจริงปรากฏว่าบริษัท ทปค.เป็นผู้ซื้อฝากที่แท้จริง จำเลยมิได้ไถ่ทรัพย์คืนจนพ้นกำหนด ส.ถึงแก่กรรม ทายาทของส. โอนทรัพย์รายพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ คือ บริษัท ทปค. ยังมิได้แสดงตนเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์ได้ทรัพย์รายพิพาท โจทก์ก็คงมีสิทธิตามสัญญานั้นอยู่ มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและให้จำเลยส่งทรัพย์รายพิพาทให้ เมื่อโจทก์ฟ้องแล้วบริษัททปค. ร้องสอดขอเข้ามาในคดีเข้าแทนที่โจทก์รับเอาสัญญาจากโจทก์ โจทก์ก็ยินยอม ดังนี้ บริษัท ทปค.ก็ได้อำนาจจากโจทก์โดยตัวแทนยอมคืนทรัพย์สินให้ตัวการ จำเลยจะคัดค้านว่าโจทก์กับบริษัท ทปค.ไม่มีอำนาจฟ้องย่อมฟังไม่ได้
และเมื่อพ้นกำหนดการไถ่แล้ว ทรัพย์รายพิพาทไม่ใช่เป็นของจำเลยแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่และใช้ทรัพย์นี้ได้ต่อไป ดังนั้น โจทก์จะเป็นผู้รับซื้อฝากเองหรือผู้ใดจะอ้างว่าเป็นตัวการเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์รับซื้อฝากแทน ผลก็เท่ากัน ไม่ทำให้เสื่อมสิทธิของจำเลยในการขายฝากนี้แต่อย่างใด เพราะเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิในทรัพย์รายพิพาทแล้วทรัพย์นั้นจะเป็นของบริษัท ทปค.ผู้ร้องสอดดังที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้าง หรือว่าเป็นของบริษัท ท.โดยส.รับซื้อแทนดังที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะยอมรับตามความเป็นจริง จำเลยไม่อาจอ้างเรื่องสิทธิฟ้องร้องขึ้นต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของบริษัทท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเรียกจำเลยใหม่ ศาลพิพากษาบังคับจำเลยใหม่ได้หากคำฟ้องเดิมครอบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 - 2 ปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกับบริวารออกจากที่ดินและรื้อถอนเรือนออกไป ต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่า เรือนเป็นของมารดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 - 2 อาศัยอยู่ด้วยในฐานะบริวาร ขอให้เรียกมารดาจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้คำขอท้ายฟ้อง ซึ่งขอให้บังคับจำเลยที่ 1 - 2 ให้รวมถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 ตามคำขอนั้นได้เพราะตามคำฟ้องเดิมของโจทก์ ประกอบคำร้องขอแก้ฟ้องก็ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 รวมทั้งขออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดแจ้งอยู่แล้ว
of 59