คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าเป็นคู่ความในคดีเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง
คำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า WILD GEESE ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า WILD TURKY ของโจทก์จนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า อันเป็นเหตุเดียวกันกับเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสิบห้าในฐานะนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ที่ยกคำคัดค้านของโจทก์และรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง ซึ่งหากศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำวินิจฉัยเห็นพ้องด้วยกับโจทก์ให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ผลแห่งคดีย่อมกระทบถึงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องที่มีอยู่ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิตนที่มีอยู่โดยมีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินอายุความ ผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีได้
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจำเลยทั้งสองยอมผ่อนชำระเงินเป็นรายเดือนแก่โจทก์ เริ่มวันที่ 5 มิถุนายน 2536 แต่จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองนับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาได้ ต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ล้มละลาย ผู้ร้องได้ทำสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองคดีนี้ ผู้ร้องจึงได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีในวันที่ 14 กันยายน 2547 เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งการยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาลที่พิจารณาตามความจำเป็นและความสะดวกในการพิจารณาคดี คดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
คำร้องขอของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ตามเนื้อหาของคำร้องขอไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (1) มิใช่เพียงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลายและข้อยกเว้นระยะเวลาบังคับคดี ผู้ซื้อสิทธิไม่มีอำนาจบังคับคดีหากเกิน 10 ปี
ผู้ร้องประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมมาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ ผู้ร้องจึงตกอยู่ในบังคับที่จะต้องบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีเกิน 10 ปี แล้ว ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ประกอบกับการอนุญาตให้บุคคลใดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามมาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาล กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาเนื้อหาคำร้องขอของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตามมาตรา 131 (1) มิใช่ไม่รับคำร้องขอตามมาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: ผู้ซื้อทรัพย์สินมีสิทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนโจทก์
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายเป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
โจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลไว้แล้ว และการร้องสอดของผู้ร้องเพื่อเข้ามาแทนที่โจทก์เดิม การที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีกหรือไม่จะต้องพิจารณาว่าผู้ร้องได้เรียกร้องอะไรหรือไม่ด้วย เมื่อผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์โดยไม่ได้เรียกร้องอะไรเพิ่มเติมอีก จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีหลังศาลสั่งล้มละลาย ผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องมีสิทธิบังคับคดีแทนเจ้าหนี้เดิม
โจทก์ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ดินของจำเลยที่ 2 อยู่ระหว่างประกาศขายทอดตลาด เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนดสิบปีแล้ว โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เสร็จได้แม้จะเกินกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ต่อมาโจทก์ถูกศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นำสิทธิเรียกร้องของโจทก์คดีนี้ออกขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องรายนี้ได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้รายนี้แทนโจทก์และกรณีมีความจำเป็นต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อบังคับคดีต่อไปให้เสร็จสิ้นจึงร้องสอดเข้ามาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อทรัพย์สินจากการล้มละลาย: การเข้าเป็นคู่ความบังคับคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิเรียกร้อง
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่รวบรวมได้มา เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรองคุ้มครอง และบังคับตาม ดังนั้น หากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้ โดยไม่จำต้องให้มีผู้ใดมาโต้แย้งสิทธิก่อนและเมื่อผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกคดี การขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนที่มีอยู่ผู้ร้องจึงต้องร้องขอเข้ามาในคดีตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ โดยผู้ร้องไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ซ้ำซ้อนกับที่โจทก์เคยเสียไว้แล้วอีก ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยและมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกามีอำนาจส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย: การเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
โจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครองและบังคับตาม ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และสิทธิในการเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
จำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในคดีแพ่ง ต่อมาศาลในคดีล้มละลายมีคำสั่งให้โจทก์ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้ารวบรวมทรัพย์สินของโจทก์ผู้ล้มละลาย โดยได้นำสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาของโจทก์ที่มีต่อจำเลยออกขายตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผู้ร้องเป็นผู้ชนะการประมูล และได้ทำหนังสือซื้อขายสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาดังกล่าวจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ผู้ร้องย่อมได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิจำเลยร่วม: เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างก่อสร้างแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาโจทก์ได้ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 58 วรรคสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นคำให้การจนศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตนเข้ามาอันเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการผิดหลง ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 2 แล้วสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องได้ ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชำระหนี้ค่าก่อสร้างให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความในคดีด้วยหรือไม่ ไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในการต่อสู้คดีรวมทั้งไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงานระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง จึงไม่อาจเป็นจำเลยร่วม หรือขอทุเลา/ระงับการบังคับคดีได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทน จึงไม่ใช่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้าง จึงไม่ใช่นายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
of 59