พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดไม่ใช่คำฟ้อง ต้องพิจารณาจากเนื้อหา หากเป็นการต่อสู้คดี ไม่ใช่เสนอข้อหา จึงไม่เป็นคำฟ้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ที่บัญญัติว่า "คำฟ้อง" หมายความว่า กระบวนพิจารณาใดๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล... ไม่ว่าจะเสนอในภายหลัง... โดยสอดเข้ามาในคดี ฯลฯ นั้น เป็นการกำหนดให้คำร้องสอดที่มีลักษณะในการเสนอข้อหาต่อศาลเป็นคำฟ้องด้วยเท่านั้น มิได้กำหนดให้คำร้องสอดทุกฉบับเป็นคำฟ้อง เนื่องจากการร้องสอดเข้ามาในคดีบางกรณีเป็นการเข้ามาต่อสู้คดีในฐานะจำเลย คำร้องสอดกรณีเช่นนี้ย่อมไม่อาจมีสภาพเป็นคำฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่คำร้องสอดจะเป็นคำฟ้องหรือไม่จึงต้องพิจารณาจากเนื้อหาของคำร้องสอดเป็นสำคัญ
ตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดอ้างว่า จำเลยไม่ใช่ผู้เช่าที่ดินพิพาท แต่ผู้ร้องสอดเคยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ ต่อมาผู้ร้องสอดเปลี่ยนเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนเองโดยแย่งการครอบครองก่อนปี 2539 โจทก์ไม่ได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี ผู้ร้องสอดจึงเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดจะต้องได้รับความเสียหายจากการถูกบังคับคดีขับไล่โดยผลของคำพิพากษา ขอให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในฐานะจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ดังนี้ คำร้องสอดดังกล่าวเป็นการขอเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในฐานะจำเลย ข้ออ้างสิทธิตามคำร้องสอดจึงถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลยกฟ้อง ไม่ใช่การเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับโจทก์ จึงไม่เป็นคำฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่จำต้องมีคำขอบังคับตามมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3)
ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องสอดยังไม่ได้รับความเสียหายจากการถูกบังคับคดีให้ออกจากที่ดินพิพาทตามคำร้องสอด ทั้งผู้ร้องสอดอาจยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา ได้อยู่แล้ว การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในโอกาสดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1)
ตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดอ้างว่า จำเลยไม่ใช่ผู้เช่าที่ดินพิพาท แต่ผู้ร้องสอดเคยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ ต่อมาผู้ร้องสอดเปลี่ยนเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนเองโดยแย่งการครอบครองก่อนปี 2539 โจทก์ไม่ได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี ผู้ร้องสอดจึงเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดจะต้องได้รับความเสียหายจากการถูกบังคับคดีขับไล่โดยผลของคำพิพากษา ขอให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในฐานะจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ดังนี้ คำร้องสอดดังกล่าวเป็นการขอเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในฐานะจำเลย ข้ออ้างสิทธิตามคำร้องสอดจึงถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลยกฟ้อง ไม่ใช่การเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับโจทก์ จึงไม่เป็นคำฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่จำต้องมีคำขอบังคับตามมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3)
ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องสอดยังไม่ได้รับความเสียหายจากการถูกบังคับคดีให้ออกจากที่ดินพิพาทตามคำร้องสอด ทั้งผู้ร้องสอดอาจยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา ได้อยู่แล้ว การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในโอกาสดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลหมายเรียกตัวการเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี เมื่อจำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนและมีสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบริษัท ช. และบริษัท ป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่ามูลหนี้ตามฟ้องที่เกิดจากการติดตั้งเต้าปูนและใส่ระบบลากจูงเป็นรถพ่วงเต้าปูนที่จำเลยทำกับโจทก์ จำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทนของบริษัทดังกล่าว จำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว คำร้องของจำเลยดังกล่าวย่อมเข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก) เนื่องจากเป็นอันเข้าใจได้ว่า เป็นการขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีโดยอ้างว่า ถ้าหากศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีตามฟ้อง จำเลยในฐานะตัวแทนย่อมฟ้องบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นตัวการเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน หากไม่มีถือเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสองผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย จำเลยไม่มีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของผู้ตายเนื่องจากคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป้นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องสอดกับพวกได้ยื่นคำร้องคัดค้านและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวและได้ยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องสอดเพื่อมิให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่อาจรับมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งจะทำให้โจทก์และจำเลยสมยอมกันจัดแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตาย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคู่ความขอให้ศาลไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความต่อกันหากศาลมีคำพิพากษาตามยอมจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องสอด จึงเป็นกรณีจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความนั้น เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา 57 (1) ซึ่งถือว่าเป็นคำฟ้อง เมื่อคำร้องสอดไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: การเข้าเป็นคู่ความเพื่อบังคับคดี
ผู้ร้องซื้อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีของศาลล้มละลายกลาง สิทธิของผู้ร้องจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครองและบังคับตามสิทธิดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกจำเลยไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน อันถือได้ว่าเป็นการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายมีสิทธิร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม) โดยไม่จำต้องมีผู้ใดมาโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7483/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ กรณีร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเอง แม้มีการถอนคำร้องของผู้อื่น
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านผู้คัดค้านที่ 1 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ แม้ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จะใช้ข้อความว่า ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยรับความยินยอมของโจทก์ (ผู้ร้อง) นั้น ก็เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านที่ 2 ร้องสอดใช้สิทธิของตนเองเพื่อโต้แย้งกับผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มิใช่มาตรา 57 (2) จึงสามารถใช้สิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 แม้ต่อมาผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องและคำคัดค้านและศาลจะได้สั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จากสารบบความก็คงมีผลเฉพาะคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีคำร้องและคำคัดค้านเดิมตามลำดับที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้คำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนค่าบริการจัดหางานต่างประเทศเมื่อคนหางานทำงานไม่ครบตามสัญญาและนายจ้างล้มละลาย
ในวันนัดพิจารณา ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองก็ได้แถลงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต่อศาล การแถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นคำให้การด้วยวาจา แม้ศาลจะมีคำสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การให้ยื่นคำให้การภายใน 15 วัน ก็ตาม ก็เพียงแต่ให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมจากที่ได้ให้การด้วยวาจาเท่านั้น และแม้ศาลจะระบุในคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การก็หมายความว่า จำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การเป็นหนังสือตามคำสั่งของศาลเท่านั้น เมื่อศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบตามประเด็นในคำให้การแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การอีก
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้หมายเรียก ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการเดินทางไปทำงานที่ไต้หวันให้แก่ ธ. ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการเข้ามาในคดีนี้แล้ว ธ. ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ธ. จึงไม่อาจถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศแต่ไม่ครบกำหนด เพราะนายจ้างล้มละลายไม่มีงานให้โจทก์ทำ ดังนี้ เป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถทำงานได้จนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิใช่สาเหตุจากโจทก์ และแม้เหตุดังกล่าวจะมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากโจทก์ไปแล้วเป็นอัตราส่วนกับระยะเวลาที่โจทก์ได้ทำงานตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 46
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้หมายเรียก ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการเดินทางไปทำงานที่ไต้หวันให้แก่ ธ. ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการเข้ามาในคดีนี้แล้ว ธ. ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ธ. จึงไม่อาจถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศแต่ไม่ครบกำหนด เพราะนายจ้างล้มละลายไม่มีงานให้โจทก์ทำ ดังนี้ เป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถทำงานได้จนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิใช่สาเหตุจากโจทก์ และแม้เหตุดังกล่าวจะมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากโจทก์ไปแล้วเป็นอัตราส่วนกับระยะเวลาที่โจทก์ได้ทำงานตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินสมรสหลังการขายฝากโดยไม่ยินยอม แม้ขับไล่แล้วสิทธิคู่สมรสยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาทว่าจำเลยขายฝากที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์และพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นสามีของจำเลย จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝาก ดังนี้แม้ศาลจะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารก็ไม่กระทบสิทธิของผู้ร้องในฐานะคู่สมรสที่ยังคงมีอยู่ในกรณีที่มีการขายฝากของโจทก์จำเลยตามที่ผู้ร้องอ้าง สิทธิของผู้ร้องสอดจะมีอยู่เพียงใด ก็คงมีอยู่เพียงนั้นคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ใช่คำคู่ความ ห้ามอุทธรณ์
คำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้เรียก ส. และ ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นเป็นเพียงคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความแต่อย่างใด จึงมิใช่คำคู่ความ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องนี้จึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ใช่คำคู่ความ ไม่อุทธรณ์ได้
คำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียก ส. และ ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเป็นเพียงคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี มิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงมิใช่คำคู่ความ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกโต้แย้งจากการครอบครอง: การร้องขอเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครอง การที่ผู้ร้องนำคำพิพากษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีในศาลชั้นต้น ถือได้ว่าเป็นบุคคลภายนอก จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตามมาตรา 145(2) โดยไม่ต้องให้ผู้คัดค้านไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องขอของผู้คัดค้านไว้เพื่อวินิจฉัยข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านไปตามรูปคดี