พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดร่วมกัน: ธนาคาร, โจทก์, โจทก์ร่วม มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาเป็นกรณีร่วมกัน
จำเลยฟ้องแย้งและขอให้ศาลหมายเรียกธนาคาร ก.เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมเพื่อให้รับผิดตามฟ้องแย้ง โดยกล่าวหาว่าโจทก์ ธนาคาร ก. และบริษัทโจทก์ร่วมได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยด้วยการร่วมกันทำละเมิดต่อจำเลยโดยใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทกันขึ้นว่าโจทก์ ธนาคาร ก. และ บริษัทโจทก์ร่วม ร่วมกันทำละเมิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งหรือไม่ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องธนาคาร ก.ได้ และลำพังตามคำฟ้องแย้งของจำเลยยังไม่อาจรับฟังได้ว่าธนาคาร ก. ไม่ได้ทำละเมิดต่อจำเลยโดยแน่ชัด การที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยว่าธนาคาร ก. เป็นเพียงเจ้าหนี้เสียงข้างมากของบริษัท อ. ที่หยุดการจำหน่ายเบียร์ให้จำเลย จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องให้ธนาคาร ก. รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยได้จึงไม่ชอบคดีจึงมีเหตุสมควรหมายเรียกธนาคาร ก. เข้ามาในคดีนี้เพื่อพิจารณารวมกันไปว่าต้องร่วมกับโจทก์และบริษัทโจทก์ร่วมรับผิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7605/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัทจำกัด ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีที่จำเลยเป็นนิติบุคคล และไม่ต้องรับผิดในหนี้ของบริษัท
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในกรณีที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดนั้น ต้องนำ ป.วิ.พ.มาตรา 57 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นมีหน้าที่ต้องชำระค่าหุ้นให้บริษัทจำเลยเต็มมูลค่าของหุ้นที่ถืออยู่เท่านั้น ผู้ร้องไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำ และแม้ผู้ร้องจะเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม ผลของคำพิพากษาคดีนี้หากพึงมีให้ต้องบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ ก็หากระทบกระเทือนถึงผู้ร้องให้ต้องร่วมรับผิดด้วยไม่ และหากกรรมการอื่นของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายอันกระทบถึงประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวต่างหาก เพราะเป็นข้อโต้แย้งสิทธิต่างหากจากคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดีนี้ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเป็นจำเลยร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นมีหน้าที่ต้องชำระค่าหุ้นให้บริษัทจำเลยเต็มมูลค่าของหุ้นที่ถืออยู่เท่านั้น ผู้ร้องไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำ และแม้ผู้ร้องจะเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม ผลของคำพิพากษาคดีนี้หากพึงมีให้ต้องบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ ก็หากระทบกระเทือนถึงผู้ร้องให้ต้องร่วมรับผิดด้วยไม่ และหากกรรมการอื่นของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายอันกระทบถึงประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวต่างหาก เพราะเป็นข้อโต้แย้งสิทธิต่างหากจากคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดีนี้ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเป็นจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ จึงไม่สามารถเป็นจำเลยร่วมได้
ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) หมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายเป็นผลไปถึงตนโดยเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หากโจทก์ชนะคดีผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหามีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาไม่ การที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าร่วมประชุมและลงมติขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อนำสืบให้ศาลทราบว่าการประชุมดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจขอให้จำเลยทั้งสี่นำผู้ร้องและพยานหลักฐานที่ผู้ร้องมีเข้านำสืบอ้างส่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยได้ หาจำต้องร้องเข้ามาด้วยไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หากโจทก์ชนะคดีผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหามีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาไม่ การที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าร่วมประชุมและลงมติขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อนำสืบให้ศาลทราบว่าการประชุมดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจขอให้จำเลยทั้งสี่นำผู้ร้องและพยานหลักฐานที่ผู้ร้องมีเข้านำสืบอ้างส่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยได้ หาจำต้องร้องเข้ามาด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมฯ ไม่ใช่สินสมรสก่อนออกโฉนด คำพิพากษาเดิมใช้บังคับไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้อง ก. ขอหย่าและแบ่งสินสมรส ซึ่งมีที่ดินพิพาทนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี - ลพบุรี จัดสรรให้แก่ ก. สมาชิกนิคมทำประโยชน์รวมอยู่ด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ ก. แบ่งสินสมรส ซึ่งรวมที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง โดยขณะนั้นยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อกรมประชาสงเคราะห์เป็นบุคคลภายนอกคดีย่อมไม่ใช่คู่ความในคดีเดิม ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ระบุว่า ก่อนมีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วให้ถือว่าบุคคลที่รัฐอนุญาตให้เข้าทำกินมีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์เด็ดขาด แต่กลับมีมาตรา 12 บัญญัติว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยัง สหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ แล้วแต่กรณี" และในวรรคสองบัญญัติว่า "ภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ที่ดินนั้นไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ดังนั้น ที่ดินพิพาทยังคงเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่ ก. ในขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อ ก. เพิ่งได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์และออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทมาภายหลัง จึงไม่ใช่สินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งรับโอนมรดกจาก ก. ให้แบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ตามคำพิพากษาของศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความและการบังคับคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ห. เจ้ามรดก เป็นเจ้าของรวมกัน หลังจากโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสาม และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แบ่งที่ดินพิพาทตามรูปแผนที่ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้นำชี้อันเป็นการกระทบสิทธิของ ค. ค. ก็ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความ การมีส่วนร่วมในการแบ่งแยกที่ดินแสดงถึงการเข้ามาในคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ย. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมกันใน น.ส. 3 หลังจากโจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม ศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้แบ่ง ที่ดินพิพาทตามที่จำเลยเป็นผู้นำชี้กระทบสิทธิของ ค. ค. ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำกัด ไม่ถือเป็นส่วนได้เสียในคดีแรงงานที่จำเลยเป็นนิติบุคคล
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ร้อง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย แต่การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่มีผลโดยตรงต่อผู้ร้อง ทั้งการที่ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยและเป็นผู้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ ก็เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อไม่ปรากฏเหตุอื่นใดที่จะทำให้ผู้ร้องต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ผู้ร้องย่อมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิและไม่มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี ไม่อาจขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8992/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของร่วมที่ดินในการขอเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิเมื่อถูกโต้แย้งจากการจดทะเบียนโอนที่ดิน
จำเลยร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจไปเป็นหลักฐานการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิ ทำให้ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทได้รับความเสียหายในผลแห่งคดีหากศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ท้ายคำร้องขอจะระบุว่า ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ก็ต้องถือว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้ความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) โดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องสอด หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57(2) ไม่และศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถานและคำสั่งไม่อนุญาตเรียกกรมที่ดินเป็นโจทก์ร่วม ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากศาลชี้สองสถานแล้วตามคำให้การเดิมจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนคำให้การที่จำเลยจะขอแก้ไขใหม่จำเลยก็อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งแสดงว่า จำเลยรู้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำให้การเดิมแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ไม่ใช่จำเลยเพิ่งรู้ในวันที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยดูแผนที่วิวาทซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชี้สองสถาน จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลย จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลย จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน และคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากศาลชี้สองสถานแล้ว ตามคำให้การเดิมจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนคำให้การที่จำเลยจะขอแก้ไขใหม่จำเลยก็อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งแสดงว่า จำเลยรู้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำให้การเดิมแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ไม่ใช่จำเลยเพิ่งรู้ในวันที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยดูแผนที่วิวาทซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชี้สองสถาน จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง