คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในคดีครอบครองปรปักษ์ คำสั่งขับไล่ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้ไม่ได้ฟ้องโดยตรง
คำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการเข้าเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) อันทำให้มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58(1) และ (3)การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ฟ้องผู้ร้องสอดก็ตาม คำสั่งให้ขับไล่ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)หาใช่เกินคำขอไม่
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและผู้ร้องสอดนั้นก็เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลยผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดิน การเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง และผลของการครอบครองแทนเจ้าของ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยทั้งสอง จำเลยร่วมยื่นคำให้การและฟ้องแย้งโดยยื่นรวมมาในฉบับเดียวกันกับจำเลยทั้งสองแล้วในวันเดียวกันจำเลยร่วมยังได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ด้วยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ทั้งตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมประกอบคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ที่ว่าที่พิพาท จำเลยร่วมเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยทั้งสองเพราะได้แย่งการครอบครองจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมและจำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์ทั้งสองที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเช่นนี้มีผลกระทบต่อจำเลยร่วม แม้คำร้องขอจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ก็ตาม แต่เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตาม มาตรา 57(1) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3(จำเลยร่วม) ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 กับให้เพิกถอนและมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3(จำเลยร่วม) ย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้เป็นให้รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3(จำเลยร่วม)
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่ง แล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเป็นเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาท หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้ยกคำขอในส่วนที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ไปให้ถือเอา ตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นเสีย โดยการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคดีถึงที่สุดผูกพันการครอบครอง การแย่งการครอบครองต้องแสดงเจตนาชัดเจน การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยทั้งสอง จำเลยร่วมยื่นคำให้การและฟ้องแย้งโดยยื่นรวมมาในฉบับเดียวกันกับจำเลยทั้งสองแล้ว ในวันเดียวกันจำเลยร่วมยังได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ด้วยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ทั้งตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมประกอบคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ที่ว่าที่พิพาทจำเลยร่วมเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยทั้งสองเพราะได้แย่งการครอบครองจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมและจำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์ทั้งสองที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเช่นนี้มีผลกระทบต่อจำเลยร่วม แม้คำร้องขอจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ก็ตาม แต่เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตาม มาตรา 57 (1) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม) ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 กับให้เพิกถอนและมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม) ย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้เป็นให้รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม)
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่งแล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม ก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน มิฉะนั้นศาลไม่รับพิจารณา และการฎีกาต้องไม่เกินกรอบที่อุทธรณ์ไว้
ในชั้นอุทธรณ์ ผู้ร้องสอดขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เพียง ประการเดียว ดังนี้คำขอตามมาตรา 57(2) จึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำขอตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)เป็นคำร้องสอดที่มีลักษณะเป็นคำฟ้อง ย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 172 วรรคสอง จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพ แห่งข้อหาและคำขอบังคับ แต่คำร้องสอดของผู้ร้องสอด ไม่มีคำขอบังคับ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดไม่ชอบเมื่อขาดคำขอบังคับ และการไม่อุทธรณ์ข้อกฎหมายในชั้นอุทธรณ์ทำให้ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในชั้นอุทธรณ์ ผู้ร้องสอดขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) เพียงประการเดียว ดังนี้คำขอตามมาตรา 57 (2) จึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำขอตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) เป็นคำร้องสอดที่มีลักษณะเป็นคำฟ้อง ย่อมอยู่ในบังคับ มาตรา 172 วรรคสอง จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ แต่คำร้องสอดของผู้ร้องสอดไม่มีคำขอบังคับ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด: การมอบอำนาจรัฐมนตรีช่วยฯ ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 147/2541 ที่ให้ยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองตามความหมายในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดอ้างว่าจำเลยทั้งสามออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นคำสั่งที่ลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ ดังนี้คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวย่อมเป็นการโต้แย้ง สิทธิของโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลยุติธรรมและ โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดชอบที่จะร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 271 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่นั้น ไม่ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและมิได้กำหนดห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกระทำการแทนแต่อย่างใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 และ 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 610/2540 มอบหมายอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทยปฏิบัติราชการแทนได้ เมื่อคำสั่งดังกล่าวรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือ การดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานของกรมการปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เช่นนี้ จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจ ใช้ดุลพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 147/2541 ยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้โดยเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เองได้ และอายุความการเรียกทรัพย์คืนจากผู้ถือหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์และขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีไม่ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้นั้นก็เนื่องจากศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 หาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่ การฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนด อายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องสอดที่เป็นฟ้องซ้อน กรณีมีคดีข้อพิพาทเดียวกันอยู่ระหว่างพิจารณาแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึง เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิมจึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดี เรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก และคำร้องสอด ดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) ปรากฏว่า ก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลย ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า ผู้ร้องได้ซื้อ และครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท ให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่าง พิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่อง เดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ตามมาตรา 173(1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดคดีและการชักช้าในการดำเนินคดี ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลของการร้องสอด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินค่าเสียหายแก่โจทก์ ระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่ มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์ กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความ ยินยอมจากผู้ร้องสอดขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหาย แก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหา เช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ จึงเป็นการที่ผู้ร้องสอด อ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้ง สิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้ รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่เนื่องจากผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอดหลังจากวันที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเกือบ 2 ปี และโจทก์ได้สืบพยานเสร็จแล้ว ซึ่งหากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก และสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่ อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหาก ได้อยู่แล้ว จึงสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็น คู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนได้เสียในคดีแพ่ง: จำเลยร่วมและบุคคลภายนอก ผู้ร้องต้องถูกกระทบโดยตรงจากคำพิพากษา
การที่ผู้ร้องจะขออนุญาตเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) นั้น ผู้ร้อง ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น หมายถึง จะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษา นั้นโดยตรงหรือผลคดีตามกฎหมายจะมีผลไปถึงตนด้วย ซึ่งในคดีนี้ หากศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ คำพิพากษาก็หาได้ มีผลผูกพันไปถึงผู้ร้องแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้อง ว่ากล่าวเอาแก่ผู้ร้องต่อไปอีกคดีหนึ่ง ผลแห่งคำพิพากษา หรือข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ผูกพันบังคับแก่ผู้ร้อง ผู้ร้อง จึงไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ส่วนการที่ศาล จะออกหมายเรียกให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตามมาตรา 57(3)(ก) จะต้องโดยคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งผู้ร้องยังมิใช่ คู่ความในคดีหรือตามมาตรา 57(3)(ข) โดยคำสั่งของศาลนั้นเมื่อเห็นสมควร แต่กรณีตามคำร้องยังไม่มีเหตุสมควรเพียงพอ
of 59