พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังปล่อยตัวระหว่างสอบสวน: ศาลไม่รับฟ้องหากเจ้าพนักงานยังสามารถนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้
พนักงานสอบสวนหรืออัยยการขอให้ศาลขังจำเลยระหว่างสอบสวนตาม ป.วิ.อาญามาตรา 87 จนครบกำหนด และศาลปล่อยตัวจำเลยไปแล้วเช่นนี้ จะมาขอให้ศาลสั่งขังอีกย่อมไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเจ้าพนักงานจับจำเลยใหม่เพื่อฟ้องเป็นคดี จะควบคุมผู้ต้องหาไม่ได้เสียเลย เจ้าพนักงานยังคงควบคุมผู้ต้องหาได้ตามที่จำเป็นตามพฤตติการณ์แห่งคดีตามตอนต้นแห่ง มาตรา 87 คือเพียงเท่าที่จะนำตัวจำเลยมาส่งศาลโดยแท้เท่านั้น จะควบคุมเพื่อเหตุอื่น เช่นสอบสวนต่อไปหรือรออัยยการสั่งฟ้องไม่ได้
อัยยการฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนครบกำหนดจนศาลสั่งปล่อยตัวไปแล้วเช่นนี้ ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องและออกหมายจับให้เพราะเจ้าพนักงานยังมีอำนาจที่จะดำเนินการเพื่อเอาตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องได้ มิฉะนั้นจะเป็นการยืดอายุความอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย (อ้างฎีกาที่ 126/2489)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2419)
อัยยการฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนครบกำหนดจนศาลสั่งปล่อยตัวไปแล้วเช่นนี้ ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องและออกหมายจับให้เพราะเจ้าพนักงานยังมีอำนาจที่จะดำเนินการเพื่อเอาตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องได้ มิฉะนั้นจะเป็นการยืดอายุความอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย (อ้างฎีกาที่ 126/2489)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2419)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องหาหลังศาลปล่อยชั่วคราว: อำนาจจำกัดเฉพาะการส่งตัวไปฟ้อง
พนักงานสอบสวนหรืออัยการ ไปขอให้ศาลขังจำเลยระหว่างสอบสวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 จนครบกำหนดและศาลปล่อยตัวจำเลยไปแล้วเช่นนี้ จะมาขอให้ศาลสั่งขังอีกย่อมไม่ได้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเจ้าพนักงานจับจำเลยใหม่เพื่อฟ้องเป็นคดีจะควบคุมผู้ต้องหาไม่ได้เสียเลย เจ้าพนักงานยังคงควบคุมผู้ต้องหาได้ตามที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีตามตอนต้นแห่งมาตรา 87 คือเพียงเท่าที่จะนำตัวจำเลยมาส่งศาลโดยแท้เท่านั้น จะควบคุมเพื่อเหตุอื่น เช่นสอบสวนต่อไป หรือรออัยการสั่งฟ้องไม่ได้
อัยการฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนครบกำหนดจนศาลสั่งปล่อยตัวไปแล้วเช่นนี้ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องและออกหมายจับให้ เพราะเจ้าพนักงานยังมีอำนาจที่จะดำเนินการเพื่อเอาตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องได้ มิฉะนั้นจะเป็นการยืดอายุความอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย
(อ้างฎีกาที่ 126/2489)
อัยการฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนครบกำหนดจนศาลสั่งปล่อยตัวไปแล้วเช่นนี้ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องและออกหมายจับให้ เพราะเจ้าพนักงานยังมีอำนาจที่จะดำเนินการเพื่อเอาตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องได้ มิฉะนั้นจะเป็นการยืดอายุความอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย
(อ้างฎีกาที่ 126/2489)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำโดยอัยการคนละคน ศาลฎีกาตัดสินว่ายังถือเป็นการฟ้องซ้ำ
พนักงานอัยการจังหวัดอื่นซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้แต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเรื่อง โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2478 มาตรา 20(1) ได้ยื่นฟ้องจำเลยหาว่ากระทำผิดในทางอาญา ไว้ต่อศาลท้องที่ที่เกิดเหตุแล้วอัยการประจำศาลนั้น จะยื่นฟ้องจำเลยคนนี้ในความผิดฐานเดียวกันซ้ำขึ้นอีกไม่ได้ เพราะโจทก์ในคดีก่อนและคดีที่ฟ้องใหม่ก็เป็นอัยการด้วยกัน จึงต้องถือว่าเป็นโจทก์คนเดียวกัน
แม้ศาลฎีกาตัดสินไม่รับฟ้องยืนตามศาลล่างเพราะเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องซ้ำเข้ามาอีก ศาลฎีกาก็คงให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ไม่ได้รับสำเนาฎีกา
แม้ศาลฎีกาตัดสินไม่รับฟ้องยืนตามศาลล่างเพราะเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องซ้ำเข้ามาอีก ศาลฎีกาก็คงให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ไม่ได้รับสำเนาฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71-72/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความก้าวร้าวเสียดสีศาลในฟ้องอุทธรณ์ การละเมิดอำนาจศาล และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์กล่าวข้อความก้าวร้าวเสียดสีคำพิพากษาซึ่งศาลได้กระทำในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศาลสั่งให้แก้ไขข้อความให้เรียบร้อยเสียก่อนก็ยังกล่าวความเช่นนั้นอีก ศาลสั่งให้แก้เป็นครั้งที่ 2 ก็ไม่แก้และยืนยันให้ถือฟ้องอุทธรณ์นั้น ดังนี้ ศาลมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้
ถ้อยคำที่กล่าวในฟ้อง จะมีความหมายธรรมดาถึงขนาดที่จะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
เรียงฟ้องอุทธรณ์กล่าวข้อความก้าวร้าวเสียดสี ศาลผู้ทำการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นอย่างแรง ศาลสั่งให้แก้ไขเสียให้เรียบร้อยก็คงเรียงฟ้องอุทธรณ์กล่าวข้อความอย่างเดิมมายื่นอีก จนศาลสั่งให้แก้ไขเป็นครั้งที่ 2 ก็ยังเรียงคำร้องยื่นต่อศาลขอยืนยันให้รับอุทธรณ์นั้น ดังนี้ถือว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่เรียบร้อย อันควรจะนำมายื่นต่อศาลผู้กระทำการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลและ เมื่อศาลสั่งให้แก้ไขความไม่เรียบร้อยนั้นเสียก็ไม่แก้กลับจงใจยืนยันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยตามอำนาจศาลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 นั้นอีก จึงเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 31
ถ้อยคำที่กล่าวในฟ้อง จะมีความหมายธรรมดาถึงขนาดที่จะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
เรียงฟ้องอุทธรณ์กล่าวข้อความก้าวร้าวเสียดสี ศาลผู้ทำการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นอย่างแรง ศาลสั่งให้แก้ไขเสียให้เรียบร้อยก็คงเรียงฟ้องอุทธรณ์กล่าวข้อความอย่างเดิมมายื่นอีก จนศาลสั่งให้แก้ไขเป็นครั้งที่ 2 ก็ยังเรียงคำร้องยื่นต่อศาลขอยืนยันให้รับอุทธรณ์นั้น ดังนี้ถือว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่เรียบร้อย อันควรจะนำมายื่นต่อศาลผู้กระทำการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลและ เมื่อศาลสั่งให้แก้ไขความไม่เรียบร้อยนั้นเสียก็ไม่แก้กลับจงใจยืนยันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยตามอำนาจศาลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 นั้นอีก จึงเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำนิยาม 'เจ้าพนักงาน' ในความผิดฐานให้สินบน: ต้องเป็นข้าราชการที่แต่งตั้งโดยรัฐเท่านั้น
คำว่าเจ้าพนักงานตามความหมายของกฎหมายอาญานั้น ย่อมมีความหมายถึงผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทยให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทยเท่านั้น
เมื่อฟ้องโจทก์กับคำแถลงประกอบไม่ได้ความว่า ผู้รับมอบเงินมีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมายศาลชอบที่จะไม่ประทับฟ้องเสียได้
เมื่อฟ้องโจทก์กับคำแถลงประกอบไม่ได้ความว่า ผู้รับมอบเงินมีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมายศาลชอบที่จะไม่ประทับฟ้องเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา: การแต่งตั้งโดยรัฐเท่านั้น
คำว่าเจ้าพนักงานตามความหมายของกฎหมายลักษณะอาญานั้นย่อมมีความหมายถึงผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทยให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทยเท่านั้น
เมื่อฟ้องโจทก์กับคำแถลงประกอบไม่ได้ความว่า ผู้รับมอบเงินมีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมาย ศาลชอบที่จะไม่ประทับฟ้องเสียได้
เมื่อฟ้องโจทก์กับคำแถลงประกอบไม่ได้ความว่า ผู้รับมอบเงินมีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมาย ศาลชอบที่จะไม่ประทับฟ้องเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาหลังประทับฟ้อง: ศาลต้องถามคำให้การจำเลยก่อนพิพากษา
คดีอาญาศาลประทับฟ้องแล้ว เมื่อโจทก์จำเลยมาต่อหน้าศาล ศาลจะสั่งงดการพิจารณา แล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีเสียทีเดียว โดยมิได้ถามคำให้การจำเลย หรือหาทนายให้จำเลยเสียก่อนนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาหลังประทับฟ้อง: จำเลยมีสิทธิได้รับการถามคำให้การและทนายก่อนศาลวินิจฉัย
คดีอาญา ศาลประทับฟ้องแล้ว เมื่อโจทก์จำเลยมาต่อหน้าศาล ๆ จะสั่งงดการพิจารณา แล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีเสียทีเดียว โดยมิได้ถามคำให้การจำเลย หรือหาทนายให้จำเลยเสียก่อนนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญและความเป็นกฎหมายของประกาศคณะกรรมการ: ศาลยกฟ้อง
ประกาศคณะกรรมการฉะบับหลังที่ยกเลิกการควบคุม ไม่เป็นกฎหมายยกเลิกความผิดตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 39(5)
ฟ้องว่าจำเลยมีผ้าแล้วไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บ แต่มิได้ระบุว่าจำเลยมีผ้าเท่าไร ดังนี้เป็นคำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งความผิด ต้องยกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยมีผ้าแล้วไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บ แต่มิได้ระบุว่าจำเลยมีผ้าเท่าไร ดังนี้เป็นคำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งความผิด ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งความผิด และประกาศคณะกรรมการไม่ใช่กฎหมายยกเลิกความผิด
ประกาศคณะกรรมการฉบับหลังที่ยกเลิกการควบคุม ไม่เป็นกฎหมายยกเลิกความผิดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5)
ฟ้องว่าจำเลยมีผ้าแล้วไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บ แต่มิได้ระบุว่าจำเลยมีผ้าเท่าไรดังนี้เป็นคำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งความผิดต้องยกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยมีผ้าแล้วไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บ แต่มิได้ระบุว่าจำเลยมีผ้าเท่าไรดังนี้เป็นคำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งความผิดต้องยกฟ้อง