พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีฉ้อโกง: ศาลพิจารณาองค์ประกอบความผิดในคำฟ้องเดิม หากไม่ชัดเจนถือว่ายังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด
เหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเนื่องมาจากคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าข้อความเท็จที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้แสดงหรือข้อความจริงที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้ปกปิดเป็นอย่างไรทั้งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยคนใดหลอกลวงโจทก์ให้สั่งจ่ายเช็คภายหลังที่จำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยที่3ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเห็นได้ว่าคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยทั้งสองว่าได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ถือไม่ได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ตามฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำฟ้องไม่ชัดเจนถึงการกระทำผิดและเจตนาหลอกลวง
เหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เนื่องมาจากคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าข้อความเท็จที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้แสดงหรือข้อความจริงที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้ปกปิดเป็นอย่างไร ทั้งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยคนใดหลอกลวงโจทก์ให้สั่งจ่ายเช็คภายหลังที่จำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยที่ 3ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เห็นได้ว่า คำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยทั้งสองว่าได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ถือไม่ได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ตามฟ้องตามป.วิ.อ.มาตรา 39(4) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับฟ้องถึงที่สุด ทำให้โจทก์ไม่สามารถฎีกาได้ตามมาตรา 220
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพราะต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับคำฟ้องถือเป็นการยกฟ้อง ห้ามฎีกาตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วสั่งไม่รับคำฟ้องย่อมถือได้ว่าเป็นคำสั่งไม่ประทับฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับฟ้องถือเป็นคำสั่งยกฟ้อง ห้ามฎีกาตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมิได้อยู่ในเขตอำนาจ สั่งไม่รับคำฟ้อง กรณีย่อมถือได้ว่าเป็นคำสั่งประทับฟ้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 161 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่แก้ไขใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องลงนามด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนในฐานะกรรมการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเป็นกรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว กรรมการจึงต้องกระทำการด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการบริษัทหาได้ไม่ เมื่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ระบุว่ากรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ นาย ช. ดังนั้นการที่ นาง ก. ลงลายมือชื่อในนามตนเองและลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนาย ช. ในคำฟ้อง จึงไม่มีผลผูกพันบริษัทโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องกระทำการด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนในฐานะกรรมการไม่ผูกพันบริษัท
การเป็นกรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว กรรมการจึงต้องกระทำการด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการบริษัทหาได้ไม่ เมื่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ระบุว่ากรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ นาย ช. ดังนั้นการที่ นาง ก. ลงลายมือชื่อในนามตนเองและลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนาย ช.ในคำฟ้อง จึงไม่มีผลผูกพันบริษัทโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และทุจริตหน้าที่ กรณีอนุมัติเบิกจ่ายเงินเกินบัญชี และอำนาจการมอบอำนาจร้องทุกข์
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และหน้าที่ของธนาคาร, อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม, หนังสือมอบอำนาจ
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2422/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องชิงทรัพย์ไม่ชัดเจนขาดองค์ประกอบสำคัญ ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี โดยมิได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายเป็นของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดของกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงตัวบุคคลผู้ถูกจำเลยขู่เข็ญ และเป็นเจ้าของทรัพย์ไว้เลยถือได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีอีกด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5).