พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) ศาลฎีกายกฟ้อง
ฟ้องโจทก์ที่มิได้ลงชื่อ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(7) เป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารต้องแสดงหลักฐานการสมคบร่วมกัน การให้การรับสารภาพเพียงอย่างเดียวไม่ถือเป็นความผิด
ฟ้องที่ไม่มีข้อความอันแสดงว่าจำเลยได้สมคบหรือร่วมมือกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารหรือใช้เอกสารปลอม ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 264,265,268,83 ที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเอกสารปลอม จำเป็นต้องแสดงข้อเท็จจริงการสมคบหรือร่วมมือกระทำความผิด
ฟ้องที่ไม่มีข้อความอันแสดงว่าจำเลยได้สมคบหรือร่วมมือกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารหรือใช้เอกสารปลอม ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 264, 265, 268, 83 ที่โจทก์อ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราหลังกู้ยืมเงินเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายห้ามนั้น หาใช่จะเป็นความผิดเฉพาะการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในขณะที่กู้ยืมเงินกันไม่ การเรียกภายหลังการกู้ยืมเงินก็เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือนเป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือนเป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่จำกัดเฉพาะตอนกู้ยืม การคิดดอกเบี้ยเพิ่มภายหลังก็ผิดได้
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายห้ามนั้น หาใช่จะเป็นความผิดเฉพาะการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในขณะที่กู้ยืมเงินกันไม่ การเรียกภายหลังการกู้ยืมเงินก็เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือน เป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือน เป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีเช็ค: แม้พิมพ์ชื่อ พ.ร.บ. ผิดพลาด แต่ฟ้องยังชอบด้วยกฎหมาย หากแก้ไขได้โดยไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
หน้าฟ้องลงข้อหาว่า ผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้เช็คคำบรรยายฟ้องก็ชัดแจ้งว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินโดยมีเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ในช่องกฎหมายและบทมาตราที่โจทก์ถือว่าจำเลยกระทำความผิดนั้นลงไว้แต่เพียงว่า มาตรา 3(1)(3)(5) ดังนี้ เมื่อมีพฤติการณ์แสดงว่าน่าจะเนื่องจากความพลั้งเผลอ โจทก์จึงมิได้พิมพ์หรือเขียนชื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ลงข้างหน้ามาตรา และหากให้โจทก์ทำเสียให้ครบบริบูรณ์ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายแล้ว ศาลย่อมสั่งให้โจทก์แก้ไขคำขอท้ายฟ้องให้ครบบริบูรณ์ (คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ แล้วแถลงข้อบกพร่องนี้ก่อนสืบพยานโจทก์)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีเช็ค: แม้ฟ้องอ้างมาตราไม่ครบถ้วน แต่เนื้อหาความผิดชัดเจน ศาลอนุญาตให้แก้ไขได้
หน้าฟ้องข้อหาว่า ผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้เข็ด คำบรรยายฟ้องก็ชัดแจ้งว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินโดยมีเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค แก่ในช่องกฎหมายและบทมาตราที่โจทก์ถือว่าจำเลยกระทำความผิดนั้นลงไว้แต่เพียงว่า มาตรา 3(1) (3) (5) ดังนี้ เมื่อมีพฤติการณ์แสดงว่าน่าจะเนื่องจากความพลั้งเผลอ โจทก์จึงมิได้พิมพ์หรือเขียนชื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ลงข้างหน้ามาตรา และหากให้โจทก์ทำเสียให้ครบบริบูรณ์ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายแล้ว ศาลย่อมสั่งให้โจทก์แก้ไขคำขอท้ายฟ้องให้ครบบริบูรณ์ (คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ แล้วแถลงข้อบกพร่องนี้ก่อนสืบพยานโจทก์)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894-897/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุตัวบุคคล, เขตอำนาจศาล, และความชัดเจนของข้อกล่าวหา
1. ฟ้องว่าแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานสอบสวน ตำรวจสันติบาลและสังฆมนตรี แต่ไม่ระบุว่าเป็นใคร นั้นเป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนที่หาว่าแจ้งความเท็จต่อสังฆนายกแม้ไม่ระบุว่าเป็นใคร นั้น ไม่เคลือบคลุมเพราะใครๆรวมทั้งจำเลยก็เข้าใจ และในขณะฟ้องนั้นสังฆนายกก็มีองค์เดียวเท่านั้น 2. ความผิดฐานหมิ่นประมาทใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม นั้นไม่ต้องระบุว่าบุคคลที่ 3 นั้นเป็นใคร เพราะบุคคลที่3 นี้อาจเป็นใครก็ได้ 3. เมื่อปรากฏว่าที่เกิดเหตุนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลและศาลเห็นว่าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นั้นย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894-897/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท: ความสมบูรณ์ของฟ้องและเขตอำนาจศาล
1.ฟ้องว่าแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานสอบสวนตำรวจสันติบาลแบะสังฆมนตรี แต่ไม่ระบุว่าเป็นใคร นั้นเป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนที่หาว่าแจ้งความเท็จต่อสังฆนายกแม้ไม่ระบุว่าเป็นใคร นั้น ไม่เคลือบคลุม เพราะใคร ๆ รวมทั้งจำเลยก็เข้าใจ และในขณะฟ้องนั้นสังฆนายกก็มีองค์เดียวเท่านั้น
2,ความผิดฐานหมิ่นประมาทใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 นั้น ไม่ต้องระบุว่าบุคคลที่ 3 นั้นเป็นใคร เพราะบุคคลที่ 3 นี้อาจเป็นใครก็ได้
3,เมื่อปรากฎว่าที่เกิดเหตุนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลและศาลเห็นว่าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นั้นย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161.
2,ความผิดฐานหมิ่นประมาทใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 นั้น ไม่ต้องระบุว่าบุคคลที่ 3 นั้นเป็นใคร เพราะบุคคลที่ 3 นี้อาจเป็นใครก็ได้
3,เมื่อปรากฎว่าที่เกิดเหตุนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลและศาลเห็นว่าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นั้นย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบกพร่องในฟ้องอาญา: วันที่ผิดพลาดทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ศาลต้องยกฟ้องหากไม่ขอแก้ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดวันที่ 35 เห็นได้ชัดว่าจำเลยจะกระทำผิดในวันที่โจทก์กล่าวหานั้นไม่ได้ หากโจทก์มิได้ขอแก้ฟ้องเสียให้ถูกต้องก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลก็ต้องยกฟ้อง และศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 ก็ไม่ได้ เพราะฟ้องของโจทก์กล่าวความครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 เป็นฟ้องที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว