พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นสินสมรสและการละเมิดสิทธิ
แม้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 33ซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะเกิดข้อพิพาทจะได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้า CLOY เครื่องหมายการค้าตราหัวช้าง และเครื่อง-หมายการค้าตราหญิงกระโดดเชือก แล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อสามีโจทก์เป็นผู้-จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภริยากันเช่นนี้ เครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะเป็นทรัพย์สินที่สามีโจทก์กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสทั้งสามีโจทก์และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าทั้งสามลักษณะดังกล่าวแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสามในทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าก็ตาม และแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลง การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะไปแสดงให้ปรากฏที่ถุงกระดาษที่จำเลยใช้ใส่สินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้าของตนในระหว่างที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทร่วมกับสามีโจทก์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
ตามปกติโจทก์ก็ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง อย่างไรก็ดี เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงให้สาธารณชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสภาพ และคุณภาพของสินค้า ย่อมเป็นการละเมิดและทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลชอบที่จะกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามควร
ตามปกติโจทก์ก็ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง อย่างไรก็ดี เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงให้สาธารณชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสภาพ และคุณภาพของสินค้า ย่อมเป็นการละเมิดและทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลชอบที่จะกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นสินสมรส แม้จดทะเบียนในชื่อคู่สมรสอื่น การละเมิดสิทธิและค่าเสียหาย
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 33 ได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้า แล้วนำไปจดทะเบียน โดยใช้ชื่อ ส. สามีโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินที่ส.กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส ส. และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้า แม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในทะเบียนเครื่องหมายการค้าและต่อมาได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลง การที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา 27 ตามปกติโจทก์ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือว่าค่าโฆษณาสินค้าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยย่อมทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือน เสียหาย ศาลจึงกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามพฤติการณ์ แห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายที่ไม่จดทะเบียน vs. ผู้จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า BENIHANA กับเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยคำว่า BENNI-HANA หากวิญญูชนไม่ได้สังเกตอย่างรอบคอบโดยถี่ถ้วนแล้ว ย่อมหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าอย่างเดียวกัน โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ต่างประเทศมาก่อนจำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนานนับสิบปี โดยใช้กับสินค้าอาหารประเภทเนื้อ ปลา เป็ด ไก่ และผักและโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นชื่อโรงแรมและภัตตาคารที่โจทก์เปิดบริการอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยได้มีโอกาสเห็นเครื่องหมายการค้าคำว่า BENIHANA ของโจทก์ที่ต่างประเทศมาก่อน แล้วนำมาเป็นแนวประดิษฐ์คำขึ้นใหม่ว่า BENNI-HANA การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า BENIHANA ของโจทก์และคำว่า BENNI-HANAที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดีกว่าของจำเลย แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยไว้แล้วและโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ก็ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 42 ประเภทอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งซึ่งประกอบด้วยเนื้อ เป็ด ไก่ ปลา และผัก เช่นเดียวกับสินค้าที่ใช้มานานในต่างประเทศ แม้สินค้าดังกล่าวจะแตกต่างกับสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นลูกกวาด ขนมปังกรอบ ขนมปังช็อกโกแล็ตและนม แต่สินค้าของจำเลยอยู่ในจำพวกที่ 42 และถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวทั้งหมดอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกัน เป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยต่อสาธารณชนว่าเป็นสินค้าของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้
โจทก์มิได้ฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างในชั้นฎีกาแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247
โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 42 ประเภทอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งซึ่งประกอบด้วยเนื้อ เป็ด ไก่ ปลา และผัก เช่นเดียวกับสินค้าที่ใช้มานานในต่างประเทศ แม้สินค้าดังกล่าวจะแตกต่างกับสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นลูกกวาด ขนมปังกรอบ ขนมปังช็อกโกแล็ตและนม แต่สินค้าของจำเลยอยู่ในจำพวกที่ 42 และถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวทั้งหมดอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกัน เป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยต่อสาธารณชนว่าเป็นสินค้าของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้
โจทก์มิได้ฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างในชั้นฎีกาแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึง และความเป็นคำสามัญ
คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊กแต่เพียงผู้เดียว จำเลยจึงนำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีผลต่อสิทธิโจทก์และเจตนาจำเลย
ปัญหาที่ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาพิพาทไม่มีทางที่จะสับสนหลงผิดว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์ และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะลักษณะและสีของฉลาก การใช้ตัวอักษรของยากับลักษณะของเม็ดยาเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเนื่องจากยาของโจทก์มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์กำกับทุกเม็ดส่วนของจำเลยไม่มี เมื่อจำเลยทราบว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายของโจทก์ จำเลยเลิกผลิตยาในชื่อเดิมทันที การที่ชื่อยาพิพาทมีความใกล้เคียงกันเป็นเหตุบังเอิญหาใช่จำเลยมีเจตนาทุจริตไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า กรมทะเบียนการค้าโดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงต้องถือว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ถูกต้องมาแต่แรก โจทก์ไม่มีสิทธิอ้างเครื่องหมายการค้านี้แต่ผู้เดียว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์นั้น แม้จะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลังจากจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เพิ่งปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
เหตุที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่ขัดต่อนโยบายแห่งรัฐในอันที่จะต้องให้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก ดังนั้น การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจึงหากระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ในการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนที่จะถูกเพิกถอนไม่และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการละเมิดมาแต่เดิมกลายเป็นไม่ละเมิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า กรมทะเบียนการค้าโดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงต้องถือว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ถูกต้องมาแต่แรก โจทก์ไม่มีสิทธิอ้างเครื่องหมายการค้านี้แต่ผู้เดียว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์นั้น แม้จะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลังจากจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เพิ่งปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
เหตุที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่ขัดต่อนโยบายแห่งรัฐในอันที่จะต้องให้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก ดังนั้น การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจึงหากระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ในการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนที่จะถูกเพิกถอนไม่และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการละเมิดมาแต่เดิมกลายเป็นไม่ละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ แม้มีการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายหลัง
ปัญหาที่ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาพิพาทไม่มีทางที่จะสับสนหลงผิดว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพราะลักษณะและสีของฉลากการใช้ตัวอักษรของยากับลักษณะของเม็ดยาเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเนื่องจากยาของโจทก์มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์กำกับทุกเม็ดส่วนของจำเลยไม่มีเมื่อจำเลยทราบว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายของโจทก์จำเลยเลิกผลิตยาในชื่อเดิมทันทีการที่ชื่อยาพิพาทมีความใกล้เคียงกันเป็นเหตุบังเอิญหาใช่จำเลยมีเจตนาทุจริตไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่ากรมทะเบียนการค้าโดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงต้องถือว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ถูกต้องมาแต่แรกโจทก์ไม่มีสิทธิอ้างเครื่องหมายการค้านี้แต่ผู้เดียวการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์นั้นแม้จะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแต่เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลังจากจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้วปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เพิ่งปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง เหตุที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่ขัดต่อนโยบายแห่งรัฐในอันที่จะต้องให้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกดังนั้นการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจึงหากกระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ในการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนที่จะถูกเพิกถอนไม่และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการละเมิดมาแต่เดิมกลายเป็นไม่ละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนและเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกเมื่อพ.ศ.2520คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับกุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จัดแพ่งหลายของสาธารณชนส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อพ.ศ.2532ในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือคำว่าCOOKMATE กับกุ๊คเมท โดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำมีอักษรโรมันคำว่าCOOK ซ้ำกันและเขียนด้วยอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่ากุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่ากุ๊คแต่การออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกันเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่าCOOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่ายการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK และกุ๊ก ของCOOKที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตโจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันจนอาจทำให้เกิดความสับสนและหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกเมื่อ พ.ศ.2520 คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับ กุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายของสาธารณชน ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อ พ.ศ.2532 ในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือ คำว่า COOK MATE กับ กุ๊คเมทโดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายประเภทคำ มีอักษรโรมันคำว่า COOKซ้ำกันและเขียนด้วยตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่า กุ๊ค แต่การ-ออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่า COOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่าย การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าคำว่า COOK MATE และ กุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า COOK และ กุ๊ก ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK MATE และ กุ๊คเมท ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนสินค้าทดแทน ไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ทำให้ประชาชนสับสน
แม้ที่กล่องบรรจุสินค้าผงหมึกและฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่ายจะมีคำว่า MITA ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยสำหรับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสารแต่จำเลยทั้งห้ามิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ สินค้าผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายมิได้ระบุว่าเป็นผงหมึกและผงเหล็กภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า mita ของโจทก์ที่ 1สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุหรือติดไว้ที่กล่องหรือขวดบรรจุสินค้า สิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 1 เป็นสิทธิแต่ผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของโจทก์ที่ 1 และแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่ 1 แตกต่างจากสินค้าของผู้ผลิตอื่นเท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะผลิตสินค้า ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าที่ผลิตขึ้นนั้นอันเป็นสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไม่ ประกอบกับกล่องและขวดบรรจุผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่ายก็มิได้เขียนคำว่า MITA ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า mita เช่นเดียวกับของโจทก์ที่ 1 แต่เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ว่า MITA และคำว่า TONER กับ DEVELOPER ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกัน รวมทั้งข้อความว่า FOR USE IN ซึ่งหมายความว่า ใช้กับหรือใช้สำหรับ ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจน แม้กล่องและขวดบรรจุสินค้าดังกล่าวจะมิได้ระบุชื่อบริษัท ผู้ผลิต แต่ก็มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ที่ 1 ว่าเป็นผู้ผลิตผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่าย ส่วนกล่องบรรจุผงหมึกของโจทก์ที่ 1คำว่า TONER เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษร T เพียงตัวเดียว ตัวอักษรนอกนั้นเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า Toner มีเครื่องหมายการค้าคำว่า mitaเขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แนว แถวละ 8 คำ อยู่ส่วนบนของกล่อง มีคำว่าmita เขียนด้วยตัวอักษรสีขาวบนพื้นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงเห็นได้เด่นชัดทั้งหกด้านของกล่องสีดำและมีชื่อบริษัทโจทก์ที่ 1 อยู่ด้วย แต่ไม่มีข้อความว่า FOR USE INส่วนที่ฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงหมึกของโจทก์ที่ 1 ก็เป็นฉลากสีฟ้า มีคำว่าmita เป็นตัวอักษรสีขาวเห็นเด่นชัด คำว่า TONER เป็นตัวอักษรเล็กกว่าคำว่าmita มาก และฝาขวดเป็นสีน้ำเงิน แต่ฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงหมึกของจำเลยที่ 1 เป็นสีน้ำตาลเข้ม มีคำว่า TONER FOR USE IN MITA เห็นได้เด่นชัดและฝาขวดเป็นสีน้ำตาลเข้ม กล่องและขวดสินค้าผงหมึกที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่ายกับของโจทก์ที่ 1 จึงแตกต่างอย่างชัดเจน สำหรับขวดบรรจุสินค้าผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่ายและของโจทก์ที่ 1 ก็แตกต่างกันชัดเจนเช่นกัน ดังนี้ จากข้อความที่ระบุข้างกล่องและขวดบรรจุสินค้าที่จำเลยที่ 1จำหน่ายอย่างชัดเจนว่า FOR USE IN MITA ซึ่งหมายถึงสินค้าที่ใช้กับเครื่อง-ถ่ายเอกสารมิต้า ประชาชนผู้ต้องใช้สินค้าผงหมึกและผงเหล็กดังกล่าวย่อมทราบดีว่าสินค้าที่จำเลยทั้งห้าจำหน่ายมิใช่สินค้าของโจทก์ที่ 1 เพียงแต่เป็นสินค้าที่อาจใช้แทนกันได้เท่านั้น ประชาชนจึงไม่สับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าที่จำเลยทั้งห้าจำหน่ายเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้นำผงหมึกและผงเหล็กเข้ามาจำหน่ายและเสนอจำหน่ายในประเทศไทยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งห้าได้จำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ทั้งสองเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ที่ 1การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า mita ของโจทก์ที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้านำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย หรือเสนอจำหน่ายสินค้าผงหมึกและผงเหล็กที่นำเข้าดังกล่าวและเรียกให้จำเลยทั้งห้าชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'mita' บนผงหมึก/ผงเหล็ก ไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ได้ระบุเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะ
แม้ที่กล่องบรรจุสินค้าผงหมึกและฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงเหล็กที่จำเลยที่1นำเข้ามาจำหน่ายจะมีคำว่า MITA ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่1ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยสำหรับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสารแต่จำเลยทั้งห้ามิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้ากล่าวคือสินค้าผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่1นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายมิได้ระบุว่าเป็นผงหมึกและผงเหล็กภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า mita ของโจทก์ที่1สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุหรือติดไว้ที่กล่องหรือขวดบรรจุสินค้าสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่1เป็นสิทธิแต่ผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของโจทก์ที่1และแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่1แตกต่างจากสินค้าของผู้ผลิตอื่นเท่านั้นหาได้รวมไปถึงสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะผลิตสินค้าขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าที่ผลิตขึ้นนั้นอันเป็นสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไม่ประกอบกับกล่องและขวดบรรจุผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่1นำเข้ามาจำหน่ายก็มิได้เขียนคำว่า MITA ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า mita เช่นเดียวกับของโจทก์ที่1แต่เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ว่า MITA และคำว่า TONEกับDEELOPER ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งข้อความว่า FORUSEIN ซึ่งหมายความว่าใช้กับหรือใช้สำหรับก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนแม้กล่องและขวดบรรจุสินค้าดังกล่าวจะมิได้ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตแต่ก็มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ที่1ว่าเป็นผู้ผลิตผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่1นำเข้ามาจำหน่ายส่วนกล่องบรรจุผงหมึกของโจทก์ที่1คำว่า TONER เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษร T เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้นเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กโดยเขียนว่า Toner มีเครื่องหมายการค้าคำว่า mita เขียนเรียงกันตามแนวนอน6แนวแถวละ8คำอยู่ส่วนบนของกล่องมีคำว่า mitaเขียนด้วยตัวอักษรสีขาวบนพื้นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงเห็นได้เด่นชัดทั้งหกด้านของกล่องสีดำและมีชื่อโจทก์ที่1อยู่ด้วยแต่ไม่มีข้อความว่าFORUSEINส่วนที่ฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงหมึกของโจทก์ที่1ก็เป็นฉลากสีฟ้ามีคำว่า mita เป็นตัวอักษรสีขาวเห็นเด่นชัดคำว่า toner เป็นตัวอักษรเล็กกว่าคำว่า mita มากและฝาขวดเป็นสีน้ำเงินแต่ฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงหมึกของจำเลยที่1เป็นสีน้ำตาลเข้มมีคำว่า TONERFORUSEINMITAเห็นได้เด่นชัดและฝาขวดเป็นสีน้ำตาลเข้มกล่องและขวดสินค้าผงหมึกที่จำเลยที่1นำเข้ามาจำหน่ายกับของโจทก์ที่1จึงแตกต่างอย่างชัดเจนสำหรับขวดบรรจุสินค้าผงเหล็กที่จำเลยที่1นำเข้ามาจำหน่ายและของโจทก์ที่1ก็แตกต่างกันชัดเจนเช่นกันดังนี้จากข้อความที่ระบุข้างกล่องและขวดบรรจุสินค้าที่จำเลยที่1จำหน่ายอย่างชัดเจนว่า FORUSEINMITA ซึ่งหมายถึงสินค้าที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร มิต้า ประชาชนผู้ต้องใช้สินค้าผงหมึกและผงเหล็กดังกล่าวย่อมทราบดีว่าสินค้าที่จำเลยทั้งห้าจำหน่ายมิใช่สินค้าของโจทก์ที่1เพียงแต่เป็นสินค้าที่อาจใช้แทนกันได้เท่านั้นประชาชนจึงไม่สับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าที่จำเลยทั้งห้าจำหน่ายเป็นสินค้าของโจทก์ที่1แต่อย่างใดการที่จำเลยที่1โดยจำเลยที่2ที่3ที่4และที่5ได้นำผงหมึกและผงเหล็กเข้ามาจำหน่ายและเสนอจำหน่ายในประเทศไทยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้าได้จำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่1และข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ทั้งสองเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ที่1การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า mita ของโจทก์ที่1โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้านำเข้ามาในราชอาณาจักรจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าผงหมึกและผงเหล็กที่นำเข้าดังกล่าวและเรียกให้จำเลยทั้งห้าชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้