คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้สับสน: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย มีข้อจำกัดไม่ให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า "ใช้งานหนักอย่างมั่นใจ"และคำว่า "คือคุณภาพ" ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่รูปช้างยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม และคำว่า "ตราช้าง"เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย ยกเข่าหน้าซ้ายงอเล็กน้อย ลดงวงลง ยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม มีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้าง ส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย ยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถัง ชูงวงขึ้นเหนือศีรษะ อยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม มีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่งของรูปหกเหลี่ยมเหมือนดาวรอบตัวช้าง เครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายในกรอบรูปหกเหลี่ยมเหมือนกัน ส่วนรูปช้างของจำเลยที่ยืนยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถัง ชูงวงขึ้น และเท้าทั้งสองคู่หน้าหลังยืนแยกออกจากกัน เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดของลักษณะการยืนและการวางงวงของรูปช้างในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวก 50 ชนิดสินค้ากระบะถือปูน ถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูน ต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ แต่ก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ในจำพวกที่ 17 ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้และได้โฆษณาทางสื่อมวลชนจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในหมู่ผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าตราช้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำว่าตราช้างดังกล่าวใน พ.ศ.2529 ถึง 10 ปีเศษเครื่องหมายการค้ารูปช้างและคำว่าตราช้างของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ จนอาจทำให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจึงมีสิทธิตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2477 ที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนและให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมจนอาจทำให้สับสนและหลงผิด
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมี ข้อจำกัดไม่ให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า"ใช้งานหนักอย่างมั่นใจ"และคำว่า"คือคุณภาพ"ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่รูปช้างยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมและคำว่า"ตราช้าง"เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายยกเข่าหน้าซ้ายงอเล็กน้อยลดงวงลงยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถังชูงวงขึ้นเหนือศีรษะอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่งของรูปหกเหลี่ยมเหมือนดาวรอบตัวช้างเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายในกรอบรูปหกเหลี่ยมเหมือนกันส่วนรูปช้างของจำเลยที่ยืนยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถังชูงวงขึ้นและเท้าทั้งสองคู่หน้าหลังยืนแยกออกจากกันเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดของลักษณะการยืนและการวางงวงของรูปช้างในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นแม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวก50ชนิดสินค้ากระบะถือปูนถังพลาสติกใส่ปูนเกรียงฉาบปูนต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์แต่ก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ในจำพวกที่17ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้และได้โฆษณาทางสื่อมวลชนจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าตราช้างมาตั้งแต่พ.ศ.2517ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำว่าตราช้างดังกล่าวในพ.ศ.2529ถึง10ปีเศษเครื่องหมายการค้ารูปช้างและคำว่าตราช้างของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์จนอาจทำให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจึงมีสิทธิตามมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2477ที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนและให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่อาจละเมิดสิทธิของผู้อื่น แม้จะมีการระบุว่าไม่ผูกขาดสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
แม้ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีข้อความว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรไทยคำว่า "น้ำมันมวย"และอักษรโรมันคำว่า "BOXINGLINIMENT" ก็ตาม แต่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" รวมทั้งรูปภาพลวดลายและรูปรอยประดิษฐ์ที่ปรากฎบนกล่องสินค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2498และผลิตน้ำมันสำหรับใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อยและเหน็บชา ออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้านั้นมาตลอดโจทก์ได้โฆษณาสินค้าผ่านสื่อสารมวลชน ป้ายโฆษณา โดยการทำของชำร่วย และโฆษณาในรายการอุปถัมภ์กีฬา จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" กับสินค้าน้ำมันสำหรับทาถูนวด แก้ปวดเมื่อยและเหน็บชาที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน จำเลยมีเจตนาใช้คำว่า "น้ำมันมวย"เป็นส่วนหนึ่งในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์สินค้าของโจทก์ได้ผลิตแล้วนำออกขายภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" มาก่อนจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" ถึง30 ปีเศษ สินค้าของโจทก์เป็นสินค้าที่แพร่หลายจนทำให้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" เกิดลักษณะบ่งเฉพาะ ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นแล้ว แม้คำว่า "น้ำมันมวย"โจทก์จะไม่มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวก็ตาม การที่จำเลยเจตนาจะใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" กับสินค้าน้ำมันนวดกล้ามอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ก็โดยอาศัยคำว่า "น้ำมันมวย" เป็นหลักอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของโจทก์และสินค้าของจำเลยที่จะผลิตต่อไปเป็นของเจ้าของเดียวกัน หากจำเลยมีเจตนาสุจริตก็สามารถใช้คำอื่นที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแทนเพื่อไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การที่จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"น้ำมันมวยมุมแดง" กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้วว่า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวก 3 น้ำมันนวดกล้ามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า 'น้ำมันมวย' เลียนแบบ สร้างความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีข้อความว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรไทยคำว่า "น้ำมันมวย" และอักษรโรมันคำว่า "BOXINGLINIMENT" ก็ตาม แต่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย"รวมทั้งรูปภาพลวดลายและรูปรอยประดิษฐ์ที่ปรากฏบนกล่องสินค้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2498และผลิตน้ำมันสำหรับใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อย และเหน็บชา ออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้านั้นมาตลอด โจทก์ได้โฆษณาสินค้าผ่านสื่อสารมวลชน ป้ายโฆษณา โดยการทำของชำร่วย และโฆษณาในรายการอุปถัมภ์กีฬาจำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" กับสินค้าน้ำมันสำหรับทาถูนวด แก้ปวดเมื่อย และเหน็บชาที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายมาเป็นวลานาน จำเลยมีเจตนาใช้คำว่า "น้ำมันมวย" เป็นส่วนหนึ่งในการ-ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์สินค้าของโจทก์ได้ผลิตแล้วนำออกขายภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย"มาก่อนจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" ถึง30 ปีเศษ สินค้าของโจทก์เป็นสินค้าที่แพร่หลายจนทำให้เครื่องหมายการค้าคำว่า"น้ำมันมวย" เกิดลักษณะบ่งเฉพาะ ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นแล้ว แม้คำว่า"น้ำมันมวย" โจทก์จะไม่มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวก็ตาม การที่จำเลยเจตนาจะใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" กับสินค้าน้ำมันนวดกล้ามอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ ก็โดยอาศัยคำว่า "น้ำมันมวย"เป็นหลักอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และสินค้าของจำเลยที่จะผลิตต่อไปเป็นของเจ้าของเดียวกัน หากจำเลยมีเจตนาสุจริตก็สามารถใช้คำอี่นที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแทนเพื่อไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การที่จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง"กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" เป็นเครื่องหมาย-การค้าในสินค้าจำพวก 3 น้ำมันนวดกล้ามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นทำให้เกิดความเสียหาย และศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายได้
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใดคงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น จะแตกต่างกันส่วนไหน อย่างไร จึงเห็นได้ชัดเจนไม่ได้ระบุไว้ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในฎีกาเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BEEBYFARRIS"และรูปหัวคนอินเดียนแดงกับกางเกงยีนของโจทก์มาตั้งแต่ปี 2525จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายเสื้อผ้ามานานถึงประมาณ 50 ปี ย่อมทราบว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน จำเลยทั้งสองนำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาทำการดัดแปลงใช้กับสินค้าประเภทกางเกงยีนเช่นเดียวกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนขึ้นเอง จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากางเกงยีนในลักษณะเป็นตราสลากติดกับสินค้าเช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะมีลักษณะของตัวอักษรคำว่า "Leeman" กับคำว่า "BEEBYFARRIS"กำกับอยู่แตกต่างกัน แต่คำว่า "Lee" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับคำว่า "BEE" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยตัวอักษรเกือบเหมือนกันทุกตัวแตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรตัวแรกระหว่าง L กับ B เท่านั้นเครื่องหมายทั้งสองอาจเรียกขานได้ว่า ตราศีรษะอินเดียนแดงเหมือนกันเมื่อใช้กับสินค้ากางเกงยีนเช่นเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้าของโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองได้ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์นำสืบว่าความเสียหายของโจทก์มีมากน้อยเพียงใดไม่ได้แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้เกิดความสับสน
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น จะแตกต่างกันส่วนไหน อย่างไร จึงเห็นได้ชัดเจนไม่ได้ระบุไว้ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในฎีกา เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BEE BYFARRIS" และรูปหัวคนอินเดียนแดงกับกางเกงยีนของโจทก์มาตั้งแต่ปี 2525 จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายเสื้อผ้ามานานถึงประมาณ 50 ปี ย่อมทราบว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์มาก่อน จำเลยทั้งสองนำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาทำการดัดแปลงใช้กับสินค้าประเภทกางเกงยีนเช่นเดียวกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนขึ้นเอง จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากางเกงยีนในลักษณะเป็นตราสลากติดกับสินค้าเช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ แม้จะมีลักษณะของตัวอักษรคำว่า "Lee man" กับคำว่า "BEE BYFARRIS" กำกับอยู่แตกต่างกัน แต่คำว่า "Lee" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับคำว่า "BEE" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยตัวอักษรเกือบเหมือนกันทุกตัว แตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรตัวแรกระหว่าง L กับ Bเท่านั้น เครื่องหมายทั้งสองอาจเรียกขานได้ว่า ตราศีรษะอินเดียนแดงเหมือนกันเมื่อใช้กับสินค้ากางเกงยีนเช่นเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้า /สินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์
เมื่อจำเลยทั้งสองได้ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์นำสืบว่าความเสียหายของโจทก์มีมากน้อยเพียงใดไม่ได้แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน โจทก์ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า จำเลยต้องถอนคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ"อายิโนะมิโชะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"บีจือซู"ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า "บีซู"ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส"และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ชู" กับ คำว่า"โมะโต๊ะ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลาง แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ" เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู"เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ"กับคำว่า"โมะโต๊ะ"ตัวอักษรญี่ปุ่นคำว่า"โนะ"มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วย แต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด: สิทธิในเครื่องหมายการค้าลำดับก่อนมีน้ำหนักกว่า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ "อายิโนะมิโซะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "บีจือซู" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า"บีซู" ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส" และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ซู" กับ คำว่า "โมะโต๊ะ"และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลางแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ"เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู" เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ" กับคำว่า"โมะโต๊ะ" ตัวอักษรญี่ปุนคำว่า "โนะ" มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์ จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วยแต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละเครื่องหมายการค้าและขอบเขตการคุ้มครอง: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าต้องถึงขนาดลวงสาธารณชน
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสละรูปภาชนะบรรจุสินค้าและข้อความที่บรรยายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยที่ 1 สละแล้วนั้นย่อมหมายความรวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าหรือสิ่งอื่นใด ในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมสละ แล้วด้วย เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CARGLO" ของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียน ได้รับจดทะเบียนเฉพาะคำเท่านั้น ไม่รวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้า ดังนั้น รูปลักษณะ ภาชนะบรรจุสินค้า รวมทั้งการวางรูปของเครื่องหมายการค้า และคำบรรยายที่ภาชนะดังกล่าว โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจ ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลยที่ 1 ผลิตสินค้า มีรูปลักษณะของภาชนะและคำบรรยายเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวกับ สินค้าของโจทก์ โจทก์จึงอ้างไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อักษรโรมันคำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" และ "DINCO" หรือ "ดิงโก้" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และ จำเลยที่ 1 ใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้าง รถยนต์ แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยจึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้า "DINCO"หรือ "ดิงโก้" ของจำเลยที่ 1 เป็นยาขัดล้าง รถยนต์ ภายใต้เครื่องหมายการค้า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" ของโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในทางการค้าของโจทก์มาใช้ และเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการสละเครื่องหมายการค้าและผลกระทบต่อการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสละรูปภาชนะบรรจุสินค้าและข้อความที่บรรยายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยที่ 1 สละแล้วนั้นย่อมหมายความรวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าหรือสิ่งอื่นใดในเครื่องหมาย-การค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมสละแล้วด้วย เครื่องหมายการค้าอักษร-โรมันคำว่า "CARGLO" ของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียน ได้รับจดทะเบียนเฉพาะคำเท่านั้น ไม่รวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้า ดังนั้นรูปลักษณะภาชนะบรรจุสินค้า รวมทั้งการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและคำบรรยายที่ภาชนะดังกล่าว โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวการที่จำเลยที่ 1 ผลิตสินค้ามีรูปลักษณะของภาชนะและคำบรรยายเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงอ้างไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าอักษรโรมันคำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" และ "DINCO" หรือ"ดิงโก้" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 ใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้างรถยนต์แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยจึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมาย-การค้า "DINCO" หรือ "ดิงโก้" ของจำเลยที่ 1 เป็นยาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" ของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในทางการค้าของโจทก์มาใช้ และเลียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์
of 11