คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งจดทะเบียน, การเพิกถอน, และสิทธิโดยพฤตินัย
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนตามบทกฎหมายก็ถือได้เพียงว่า จำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่เมื่อจำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ จำเลยจึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าที่ไม่ต่ออายุการจดทะเบียนจนนายทะเบียนเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเสียจากทะเบียนนั้น ทำให้ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนยังคงมีอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งกันจดทะเบียน, การเพิกถอน, และสิทธิโดยพฤตินัย
โจทก์จำเลยต่างแย่งกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปมดซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากไม่ต่ออายุการจดทะเบียนก็ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น เมื่อจำเลยยัง ใช้เครื่องหมายการค้าอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนจำเลยย่อมมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าที่ไม่ต่ออายุการจดทะเบียนจนนายทะเบียนเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเสียจากทะเบียนนั้นทำให้ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนยังคงมีอยู่ อีกทั้งหากมีการแสดงเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนหรือขายหรือเสนอขายสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นความเท็จย่อมมีความผิดและอาจรับโทษตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ได้ ดังนั้น การที่กฎหมาย กำหนดเรื่องอายุการจดทะเบียน การต่ออายุและการจดทะเบียนไว้หาได้ไร้ประโยชน์เสียทีเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้การจดทะเบียนถูกเพิกถอน
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้และครบสิบปีแล้วจำเลยไม่ต่ออายุของการจดทะเบียนซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 27 ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่จำเลยยังใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะสำคัญจนสับสน และเจตนาเลียนแบบ
จำเลยนำสืบผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 บาท และนำผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาเบิกความเป็นพยานจำเลยแล้ว พยานจำเลยอีก 3 ปาก ซึ่งเป็นผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 ปากและเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตัดจึงเป็นพยานที่จะนำสืบในข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน เป็นการสืบพยานที่ฟุ่มเฟือยและทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตัดพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือ ปล่อยงวงลงและยกเท้าหน้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย กับมีเส้นลากไขว้ตัดกันจากมุ่งหนึ่งไปจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าคือรูปช้างยืนอยู่ภายใต้ในกรอบรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างสำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือกับมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่น ของเครื่องหมายอยู่ที่รูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายมืออยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นโค้งรอบตัวช้าง รวม 3 ประการ ซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเด่น คล้ายคลึงกัน แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นช้างชูงวงขึ้นขาช้างทั้งคู่หน้าหลังแยกจากกัน และขาด้านหน้าซ้ายงอเหยียบถังปูนซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น และจำเลยใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าเครื่องมือสำหรับใช้ในการก่อสร้างเช่น กระบะถือปูนถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูนเป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้านี้ตั้งแต่ปี 2517 และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึง 10 ปี แสดงว่าจำเลยเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตศาลชอบที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นทำให้สับสนและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้าน รูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "มวย" ของจำเลยใช้คำว่า "กีฬา"กล่าวคือรวมแล้วของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า"น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาว และอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTOIL" ก็ตาม แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากันสีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากันสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้" แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมากมองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกันและภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1)ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบค.ม. 8 ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ก. ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าและข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ท. เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลที่จะกำหนดให้ โดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ก็มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการขายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น โดยอายุความไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ในประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย และโจทก์ได้จดทะเบียนในประเทศไทยแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะขายสินค้าตามเครื่องหมายการค้านั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ติดมาในประเทศไทย เป็นเหตุให้การขายของโจทก์ลดลง ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ อายุความตามสิทธิของโจทก์ที่ขอให้ห้ามจำเลยมิให้จำหน่ายรวมทั้งห้ามสั่งหรือนำเข้าซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มิใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดควบคู่กัน และพฤติการณ์แห่งการใช้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปจระเข้มีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยว่าแกรนด์แสลม และตัวหนังสืออักษรโรมันว่า GRANDSLAMยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าในจำพวก 48 รายการสินค้ายาสีฟันน้ำยาสระผม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปจระเข้และมีตัวหนังสืออักษรโรมันว่า LACOSTE ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วสำหรับสินค้าจำพวก 48 รายการสินค้าน้ำหอม น้ำหอมชโลมตัวหลังอาบน้ำ น้ำหอมหลังโกนหนวด และน้ำหอมทาผิว แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปจระเข้เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งและอาจเรียกได้ว่าตราจระเข้เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าจะเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ต้องพิจารณาส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งตามลำพังหาได้ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวหนังสืออักษรโรมันเป็นชื่อยี่ห้อสินค้าอ่านออกเสียงว่า ลาคอสท์ประกอบด้วยจระเข้อยู่เหนือตัวหนังสือดังกล่าว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากตัวหนังสืออักษรโรมันแล้ว ยังมีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยอ่านได้ชัดเจนว่า แกรนด์แสลม อยู่เหนือตัวหนังสืออักษรโรมันด้วย อันเป็นการบอกให้ทราบแน่ชัดว่าสินค้าของจำเลยเรียกชื่อยี่ห้อว่า แกรนด์แสลม ชื่อยี่ห้อและการอ่านออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างจากของโจทก์เป็นอันมากย่อมเป็นที่สังเกตของสาธารณชนทั่วไป และไม่ทำให้สาธารณชนทั่วไปที่ซื้อสินค้ายี่ห้อ แกรนด์แสลม เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้ายี่ห้อลาคอสท์ของโจทก์ ส่วนคำว่าจระเข้หรือรูปจระเข้ก็มิใช่สิ่งบ่งเฉพาะ เป็นเพียงคำหรือชื่อสามัญทั่วไปโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปจระเข้ดังกล่าวไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าคนละชนิดกับของโจทก์สาธารณชนย่อมไม่เกิดความสับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ไม่อาจเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้จดทะเบียน vs. ผู้ใช้ก่อน ต้องพิสูจน์สิทธิการใช้ในไทย
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯบัญญัติไว้ตอนต้นว่า "ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้"ซึ่งรับกับมาตรา 41 ที่บัญญัติว่า "ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงว่า (1) ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของหรือ (2) ฯลฯ" ดังนั้น เมื่อจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แล้ว โจทก์ซึ่งอ้างว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: แม้ต่างจำพวกสินค้า แต่หากทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ ก็ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY" อ่านว่า"ลักกี้"แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริง ในจำพวกสินค้าประเภท 51 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า"LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้ " แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันและจำนวนตัวอักษรเท่ากันตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกันแม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียวกับโจทก์ สาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยงดใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY"อ่านว่า "ลักกี้ " แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริงในจำพวกสินค้าประเภท 50 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้" แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน และจำนวนตัวอักษรเท่ากัน ตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกัน แม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียว กับโจทก์ ดังนั้นสาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยงดใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้
of 11