พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY"อ่านว่า "ลักกี้ " แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริงในจำพวกสินค้าประเภท 50 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้" แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน และจำนวนตัวอักษรเท่ากัน ตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกัน แม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียว กับโจทก์ ดังนั้นสาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยงดใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้ผูกขาดชื่อ ‘ลิ้มจิงเฮียง’ และการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อการลวงสาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะประกอบกัน 2ประการ คือ ภาพถ่ายโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีผ้าผูกคอเป็นรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง อยู่ใต้ภาพโจทก์ที่ 1 โดยระบุว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่โจทก์แต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียงและอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยซึ่งนำอักษรจีนและอักษรไทยดังกล่าวไปใช้กับสินค้าของจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อนกลาสีอยู่ภายในวงรีกับมีอักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียง(ฮะกี่)และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง(ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว และการพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือ ภาพถ่ายโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีผ้าผูกคอเป็นรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง อยู่ใต้ภาพโจทก์ที่ 1 โดยระบุว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่โจทก์แต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยซึ่งนำอักษรจีนและอักษรไทยดังกล่าวไปใช้กับสินค้าของจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากไม่ได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 27 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียน แม้เป็นเจ้าของต่างประเทศ
เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความ และไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายยการค้าดังกล่าวในประเทศไทย อันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 27,29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากมิได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 2729 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึง, ความแตกต่าง, และการเข้าใจผิดของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างมีสองส่วนคือรูปภาพส่วนหนึ่งกับข้อความอักษรโรมันส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นรูปภาพซึ่งเป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนนั้นคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนที่สองมีข้อความว่า "E.RemyMartin&Co"อีกบรรทัดหนึ่ง และคำว่า "REMYMARTIN" อีกบรรทัดหนึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยในส่วนนี้มีเพียงคำว่า "CENTAUR"แตกต่างกับคำว่า "REMYMARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์จนเป็นที่เข้าใจทั่วไปและมีความสำคัญยิ่งกว่าหรือเท่ากับรูปภาพดังกล่าว เมื่อประชาชนไม่เห็นคำนี้อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าไม่ใช่สินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของรายละเอียดเล็กน้อยและประเภทสินค้าที่ต่างกัน ไม่ถือว่าทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างมีสองส่วนคือรูปภาพส่วนหนึ่งกับข้อความอักษรโรมันส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นรูปภาพซึ่งเป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนนั้นคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนที่สองมีข้อความว่า "E. Remy Martin & Co"อีกบรรทัดหนึ่ง และคำว่า "REMY MARTIN" อีกบรรทัดหนึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยในส่วนนี้มีเพียงคำว่า "CENTAUR"แตกต่างกับคำว่า "REMY MARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์จนเป็นที่เข้าใจทั่วไปและมีความสำคัญยิ่งกว่าหรือเท่ากับรูปภาพดังกล่าว เมื่อประชาชนไม่เห็นคำนี้อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าไม่ใช่สินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้สาธารณชนหลงผิด
สินค้าของโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า "NICCO" จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "NICCO" เป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน แตกต่างกันเพียงว่า ของโจทก์อยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกัน ของโจทก์ออกสำเนียงว่า "นิกโก้" ส่วนของจำเลยออกสำเนียงว่า "นิคโค้" การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทด้วย
มาตรา 21 และ 22 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย เมื่อไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และหาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง ที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็๋นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
มาตรา 21 และ 22 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย เมื่อไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และหาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง ที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็๋นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิด ถือเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียน
สินค้าของโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า "NICCO" จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "NICCO" เป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน แตกต่างกันเพียงว่า ของโจทก์อยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกัน ของโจทก์ออกสำเนียงว่า "นิกโก้"ส่วนของจำเลยออกสำเนียงว่า"นิคโค้"การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทด้วย มาตรา 21 และ 22 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย เมื่อไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และหาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474