คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและการใช้สิทธิโดยสุจริต การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
บริษัทจำเลยจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2456 โดยใช้คำว่า ครอมพ์ตัน เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2480 จำเลยจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ใช้สำหรับโคมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ต่อจากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ที่ประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 17 ประเทศ จำเลยได้ส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2511 และยังมีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายตลอดมา ส่วนโจทก์เพิ่งจะคิดชื่อ ครอมพ์ตัน ขึ้นใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2521 จำเลยจึงใช้เครื่องหมายการค้า "ครอมพ์ตัน" มาก่อนโจทก์หลายสิบปี ทั้งคำว่า ครอมพ์ตันเป็นคำประดิษฐ์แปลไม่ได้ ยากที่โจทก์จะคิดขึ้นมาพ้องกับจำเลย โจทก์ย่อมทราบว่า มีผู้ใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันสำหรับเครื่องไฟฟ้าแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทย จึงได้ขอจดทะเบียนเสียก่อน ดังนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันดีกว่าโจทก์
แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ในประเทศไทย ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 27 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยมีสิทธิดีกว่า จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 22 มิใช่เป็นการอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนอันจะต้องห้ามตามมาตรา 27
จำเลยส่งสินค้าเครื่องไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมานาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชน โจทก์นำเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน มาใช้กับสินค้าเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายใด ๆ แสดงให้เห็นที่เครื่องไฟฟ้านั้นว่าเป็นของโจทก์เลย พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เอาสินค้าของโจทก์ไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยชอบที่จะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์เลิกใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 29 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้สับสน ห้ามจดทะเบียนซ้ำ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวและคอม้าลาย และคำว่าหัวม้าลายกับอักษรโรมันว่า HEAD ZEBRA ส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นรูปม้าลายทั้งตัวยืนอยู่ในวงกลม และคำว่า ตราม้าลายและอักษรโรมันว่า ZEBRA BRAND สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 คือรูปม้าลายประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราม้าลาย เมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันจะทำให้เกิดสับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่ 13 ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงจนทำให้สับสนและเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวและคอม้าลายและคำว่าหัวม้าลายกับอักษรโรมันว่าHEADZEBRAส่วนของจำเลยที่1เป็นรูปม้าลายทั้งตัวยืนอยู่ในวงกลมและคำว่าตราม้าลายและอักษรโรมันว่าZEBRABRANDสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่1คือรูปม้าลายประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่าตราม้าลายเมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันจะทำให้เกิดสับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจำเลยที่1จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่13ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ถอนฟ้องก่อนจำเลยให้การ ไม่สละสิทธิฟ้องใหม่, สิทธิเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ
ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคแรก โจทก์เพียงแต่ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใด การที่โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีกตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกันหรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกัน ฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้ว และขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 27 หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าก่อนจำเลยให้การ ไม่ถือเป็นการสละสิทธิฟ้องคดีใหม่ และการฟ้องโดยไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทย
ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคแรกโจทก์เพียงแต่ ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใดการที่ โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่า ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับ คดีนั้นเท่านั้นหาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกัน หรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกันฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41(1) โจทก์หาได้ ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้วและขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวตามมาตรา27หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหาย ในการล่วงสิทธิ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนรูปภาพตัวการ์ตูนจนเกิดความสับสนแก่สาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืชกุ๊ก ส่วนเครื่องหมายค้าของจำเลยเป็นรูปตุ๊กตาประดิษฐ์มีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัวมือขวาถือตะหลิวหงายขึ้น ทรงลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก โดยจำเลยลอกเลียนเอาจุดเด่นของรูปตัวการ์ตูนที่ประดิษฐ์ขึ้นของโจทก์ไปดัดแปลงบางส่วน เมื่อพิจารณารวมทั้งเครื่องหมายจะเห็นความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายทั้งสองอย่างเห็นได้ชัด ถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ ทำให้สาธารณชนเสื่อมความเชื่อถือในสินค้าของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าได้รับความเสียหาย ศาลย่อมวินิจฉัยค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนแบบลักษณะสำคัญของเครื่องหมายการค้าผู้อื่นจนเกิดความเข้าใจผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืชกุ๊ก ส่วนเครื่องหมายค้าของจำเลยเป็นรูปตุ๊กตาประดิษฐ์ มีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัวมือขวา ถือตะหลิวหงายขึ้น ทรงลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก โดยจำเลยลอกเลียนเอาจุดเด่นของรูปตัวการ์ตูนที่ประดิษฐ์ขึ้นของโจทก์ไปดัดแปลงบางส่วน เมื่อพิจารณารวมทั้งเครื่องหมายจะ เห็นความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายทั้งสองอย่างเห็นได้ชัด ถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ ทำให้สาธารณชนเสื่อมความเชื่อถือในสินค้าของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าได้รับความเสียหาย ศาลย่อมวินิจฉัยค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความ ร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อ/เครื่องหมายคล้ายกัน ทำให้สาธารณชนสับสน และแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงผู้อื่น
จำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้นามภาษาไทยว่า "บริษัทยอร์ค จำกัด" แม้จำเลยจะใช้นามเป็นภาษาอังกฤษซึ่งส่วนหนึ่งมีคำว่า "YORK" ตรงกับส่วนหนึ่งของนามโจทก์ที่ 2 แต่นามภาษาไทยและนามเต็มภาษาอังกฤษก็แตกต่างกับนามโจทก์ที่ 2 จำแนกได้ชัดแจ้งว่ามิใช่นิติบุคคลเดียวกัน อนึ่ง โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศ ไม่ปรากฏว่าได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งไม่ได้ความว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ประการใด จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "YORK" ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า "YORK INC. LTD." สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า "YORK" ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า "INC. LTD." ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่าจำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า "YORK" ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่ทำให้สับสน: ห้ามใช้ชื่อ/เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของผู้อื่นจนเกิดความเสียหาย
จำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้นามภาษาไทยว่า 'บริษัทยอร์ค จำกัด' แม้จำเลยจะใช้นามเป็นภาษาอังกฤษซึ่งส่วนหนึ่งมีคำว่า 'YORK' ตรงกับส่วนหนึ่งของนามโจทก์ที่2 แต่นามภาษาไทยและนามเต็มภาษาอังกฤษก็แตกต่างกับนามโจทก์ที่ 2 จำแนกได้ชัดแจ้งว่ามิใช่นิติบุคคลเดียวกันอนึ่ง โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศไม่ปรากฏว่าได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งไม่ได้ความว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ประการใด จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'YORK' ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า 'YORKINC.LTD.' สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า 'YORK' ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า 'INC.LTD.' ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่างๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่า จำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า'YORK' ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยการกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน สินค้าต่างประเภท ไม่ทำให้สับสน ไม่ละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นภาพหัวสิงห์โตอยู่ในวงกลม แต่รูปวงกลมและส่วนประกอบอื่นๆผิดกันมากใช้กับสินค้าต่างจำพวกกัน ไม่เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ไม่มีลักษณะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิด
of 11