คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทเดียวกัน แม้จำเลยไม่มีสินค้าชนิดเดียวกับโจทก์ ก็อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้
เมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลย ใช้สำหรับสินค้าจำพวก 3 เหมือนกันแล้ว โจทก์จะโต้เถียงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยใช้สำหรับสินค้าคนละชนิด ของโจทก์ใช้สำหรับยาหม่อง ของจำเลยไม่ได้ใช้กับยาหม่อง ไม่มีทางทำให้ประชาชนหรือสาธารณชนหลงผิดในเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า สินค้าต่างชนิดกัน ไม่ทำให้สาธารณชนหลงผิด สิทธิผู้ขอจดทะเบียนก่อนย่อมได้สิทธิ
เมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยใช้สำหรับสินค้าจำพวก 3 เหมือนกันแล้ว โจทก์จะโต้เถียงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยใช้สำหรับสินค้าคนละชนิด ของโจทก์ใช้สำหรับยาหม่อง ของจำเลยไม่ได้ใช้กับยาหม่อง ไม่มีทางทำให้ประชาชนหรือสาธาณชนหลงผิดในเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460-2461/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายใต้เงื่อนไข และการเพิกถอนทะเบียนเมื่อมีสิทธิที่ดีกว่า
ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันหลายราย และนายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งให้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาลแล้ว ไม่ได้รับแจ้งภายในกำหนดว่าผู้ขอได้ตกลงกันหรือได้นำคดีไปสู่ศาล มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 บัญญัติให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแก่ผู้ที่ขอขึ้นมาก่อนผู้อื่น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าสิทธิที่จะนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันระงับสิ้นไป เจตนารมย์ของกฎหมายเพียงเพื่อให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินไปโดยรวดเร็วเท่านั้น แม้นายทะเบียนจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แล้ว ซึ่งทำให้บุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแต่ผู้เดียวตามมาตรา 27 ก็ตาม หากมีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ดีกว่า ผู้มีสิทธิดีกว่าก็อาจขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460-2461/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: แม้จดทะเบียนแล้ว ผู้มีสิทธิดีกว่ายังขอเพิกถอนได้
ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันหลายราย และนายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งให้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาลแล้วไม่ได้รับแจ้งภายในกำหนดว่าผู้ขอได้ตกลงกันหรือได้นำคดีไปสู่ศาล มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 บัญญัติให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแก่ผู้ที่ขอซื้อมาก่อนผู้อื่น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าสิทธิที่จะนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันระงับสิ้นไป เจตนารมย์ของกฎหมายเพียงเพื่อให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินไปโดยรวดเร็วเท่านั้น แม้นายทะเบียนจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แล้ว ซึ่งทำให้บุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแต่ผู้เดียวตามมาตรา 27 ก็ตาม หากมีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ดีกว่าผู้มีสิทธิดีกว่าก็อาจขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิ: ผลของการไม่คัดค้านการจดทะเบียนและการขาดอายุความ
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยกคำร้องคัดค้านของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า หรือนำคดีไปสู่ศาลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยของนายทะเบียน นายทะเบียนจึงได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นให้แก่จำเลย ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 27 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเหมือนคล้ายเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยประการใดๆ อีกหาได้ไม่ และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย หรือบังคับให้จำเลยเลิกใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้นั้นอีกได้
ที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนได้รับจดทะเบียน แม้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ในระยะเวลานั้น แต่เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินหนึ่งปี ย่อมขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว ถ้าจำเลยได้กระทำการโดยไม่สุจริต เช่น เอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยดัดแปลงให้เหมือนของโจทก์ ก็อาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ แต่เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตามที่จดทะเบียนไว้โดย มิได้ดัดแปลงให้ผิดแผกเป็นอย่างอื่น ย่อมชอบที่จะกระทำได้ หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านหรือพูดเร็วฟังเสียงคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก และยังผลิตสินค้ากางเกงให้มีสีและใช้กระดุมสีเดียวกับสินค้าของโจทก์ ทำให้บุคคลที่พบเห็นเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โดยจำเลยมีเจตนาลวงประชาชนให้เข้าใจเช่นนั้น แม้จะเป็นความจริง ก็มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งต่างกับของโจทก์ติดอยู่ที่สินค้ากางเกงเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วจึงไม่ถึงขนาดที่จะฟังว่าเป็นการทำให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) อันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและการสร้างความเข้าใจผิด: ศาลฎีกาตัดสินว่าการใช้ชื่อและบรรจุภัณฑ์ยาที่คล้ายคลึงกันไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ทำให้ผู้ใช้หลงเชื่อว่าเป็นสินค้าเดียวกัน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "PENSTREP" และใช้คำว่า "PENSTREP 4 1/2" ลงบนหีบห่อยาของโจทก์ จำเลยใช้คำว่า P-STREPTO ลงบนหีบห่อยาของจำเลย การอ่านออกเสียงชื่อยาทั้งสองขนานห่างไกลกันมาก รูปลักษณะการวางตัวอักษรบนกล่องยาก็ไม่เหมือนกัน แถบสีขาวบนหีบห่อยาไม่ถือว่าเป็นรอยประดิษฐ์ของโจทก์ เพราะไม่เป็นสัญลักษณ์พิเศษ นอกจากนั้น กล่องยาของจำเลยยังระบุชื่อห้างหุ้นส่วนของจำเลยไว้ชัดเจนยาของโจทก์จำเลยเป็นยาอันตราย บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะใช้ยานี้ ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย ไม่มีทางที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและบรรจุภัณฑ์ยา ต้องพิจารณาความแตกต่างโดยรวมและกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า 'PENSTREP' และใช้คำว่า 'PENSTREP 41/2' ลงบนหีบห่อยาของโจทก์ จำเลยใช้คำว่า P-STREPTO ลงบนหีบห่อยาของจำเลย การอ่านออกเสียงชื่อยาทั้งสองขนานห่างไกลกันมาก รูปลักษณะการวางตัวอักษรบนกล่องยาก็ไม่เหมือนกัน แถบสีขาวบนหีบห่อยา ไม่ถือว่าเป็นรอยประดิษฐ์ของโจทก์ เพราะไม่เป็นสัญญลักษณ์พิเศษ นอกจากนั้น กล่องยาของจำเลยยังระบุชื่อห้างหุ้นส่วนของจำเลยไว้ชัดเจนยาของโจทก์จำเลยเป็นยาอันตราย บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะใช้ยานี้ ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย ไม่มีทางที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะการค้าทำให้ผู้บริโภคสับสนถือเป็นการละเมิด แม้เครื่องหมายการค้าจะแตกต่างกัน
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATEและ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่ามีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น ไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความสับสนต่อผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิ แม้จะมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATE และ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่าแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้นไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะภายนอกของสินค้าและการสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATE และ GARDENT. ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG. เห็นว่ามีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง.ตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น.ไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด.
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง. กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง. ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์. แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม. แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์. นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์.
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว. ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ. โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า. ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย. แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง. ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย.
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย. โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่.จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์. โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้.
of 11