พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน และประเด็นค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นผู้รับมอบอำนาจโดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ธ. จึงย่อมมีอำนาจตั้งทนายความยื่นฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมี ธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้น แม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ แต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบ พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่า โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างปรเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKKO HORN กับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด 2 คำ โดยคำหลังคือ HORN มีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัว ส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงว่าคำว่า NIKKO ของโจทก์มีอักษร K อยู่ 2 ตัว ส่วนคำว่าNIKO ของจำเลยมีอักษร K เพียง 1 ตัว อักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกัน โดยของโจทก์อ่านออกเสียงว่า นิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงว่า นิโก้ ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่อง-หมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำ โดยมีอักษรโรมันว่า NIKKO และ NIKO ตามลำดับ กำกับอยู่ด้านล่างของรูปประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกัน คงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้น เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์สายฟ้าแลบของจำเลยจึงแทบจะไม่มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูป N ประดิษฐ์ของโจทก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่า Mighty-mate VFD-150อยู่ด้วยก็ตาม แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่า NIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย แม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่า NIKO Mighty-mate VFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKO Power-mate SFD-100 แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกัน ก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากได้พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว การที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์ โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKD HORN และรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่าย ทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท ดังนี้ โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้น ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 เท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมี ธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้น แม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ แต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบ พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่า โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างปรเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKKO HORN กับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด 2 คำ โดยคำหลังคือ HORN มีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัว ส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงว่าคำว่า NIKKO ของโจทก์มีอักษร K อยู่ 2 ตัว ส่วนคำว่าNIKO ของจำเลยมีอักษร K เพียง 1 ตัว อักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกัน โดยของโจทก์อ่านออกเสียงว่า นิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงว่า นิโก้ ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่อง-หมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำ โดยมีอักษรโรมันว่า NIKKO และ NIKO ตามลำดับ กำกับอยู่ด้านล่างของรูปประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกัน คงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้น เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์สายฟ้าแลบของจำเลยจึงแทบจะไม่มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูป N ประดิษฐ์ของโจทก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่า Mighty-mate VFD-150อยู่ด้วยก็ตาม แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่า NIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย แม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่า NIKO Mighty-mate VFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKO Power-mate SFD-100 แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกัน ก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากได้พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว การที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์ โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKD HORN และรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่าย ทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท ดังนี้ โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้น ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เหนือกว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ ญี่ปุ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2499ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสองแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า5ปีแล้วดังนั้นโจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า, สิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า, การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต, อายุความฟ้องร้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกัน การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศ ตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้ว จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 16 วรรคสอง แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าเหนือกว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ ญี่ปุ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2499ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสองแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า5ปีแล้วดังนั้นโจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าจากการเลียนแบบและเจตนาไม่สุจริต แม้ยังมิได้รับการจดทะเบียน
รูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปคนในเรือ 2 คน อยู่ตรงกลาง คนหนึ่งเป็นผู้หญิงกำลังพายเรืออยู่กลางลำน้ำซึ่งอยู่ด้านขวาของรูป ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายถือถ่อช่วยอยู่ท้ายเรือลำเดียวกันที่ด้านซ้ายของรูป กลางลำเรือมีรูปดอกไม้ ที่ด้านหัวและท้ายเรือก็มีรูปดอกไม้ มีภาพทิวทัศน์ ภูเขา และเรือใบ 2 ลำ ภาพดังกล่าวอยู่ในกรอบวงรี ด้านบนกรอบวงรีมีอักษรภาษาจีนอ่านว่า ลีคุมกี และด้านล่างมีวงกลมอยู่ด้านซ้ายและขวาข้างละ 1 วงภายในวงกลมมีอักษรภาษาจีน ตรงกลางด้านล่างกรอบวงรีมีถ้อยคำว่า OYSTERFLAVORED SAUCE อยู่ในกรอบประดิษฐ์รูปสี่เหลี่ยม และที่มุมด้านในของกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปดอกไม้อยู่ทั้งสี่มุม ส่วนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเป็นรูปชายกับหญิงพายเรือสวนกันกลางน้ำซึ่งมีภาพภูเขา 3 ลูก และเมฆเป็นทิวทัศน์อยู่ภาย-ในวงกลม และมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมนั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนก็เป็นรูปคน 2 คน พายเรือสวนกันกลางน้ำ มีภูเขา3 ลูก เป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลม ด้านข้างซ้ายและขวาของวงกลมมีดอกไม้วางเรียงกันลงมาด้านละ 3 ดอก และมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมไว้อีกชั้นหนึ่ง ภาพเรือ 2 ลำแล่นสวนกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยซ้อนกัน หากไม่สังเกตให้ดีจะดูคล้ายคน2 คน นั่งอยู่ในเรือลำเดียวกัน ตำแหน่งของคนทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกับคนทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมาใช้กับสินค้าซอสหอยนางรม จะเห็นได้ชัดเจนว่าฉลากเครื่องหมายการค้าที่ปิดข้างขวดคล้ายกับฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างมาก เครื่องหมายการค้าของจำเลยและสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ ภาพถ่ายสินค้า และสลากเครื่องหมายการค้า เมื่อโจทก์ได้ส่งซอสน้ำมันหอยมาจำหน่ายในประเทศไทย 40 ปีเศษแล้ว และโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศ การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อปี 2529 และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้อย่างหนึ่ง แต่เวลานำไปใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ จำเลยได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นลงไปให้เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่จะเลียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย แม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือ โจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่อง-หมายการค้านั้นและในเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของจำเลย และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการ-จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 รายการสินค้าซอสน้ำมันหอย โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. เดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้
เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการ-จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 รายการสินค้าซอสน้ำมันหอย โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. เดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน: การเพิกถอนทะเบียนและการเลียนแบบเครื่องหมาย
รูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปคนในเรือ2คนอยู่ตรงกลางคนหนึ่งเป็นผู้หญิงกำลังพายเรืออยู่กลางลำน้ำซึ่งอยู่ด้านขวาของรูปส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายถือถ่อช่วยอยู่ท้ายเรือลำเดียวกันที่ด้านซ้ายของรูปกลางลำเรือมีรูปดอกไม้ที่ด้านหัวและท้ายเรือก็มีรูปดอกไม้มีภาพทิวทัศน์ภูเขาและเรือใบ2ลำภาพดังกล่าวอยู่ในกรอบวงรีด้านบนกรอบวงรีมีอักษรภาษาจีนอ่านว่า ลีคุมกี และด้านล่างมีวงกลมอยู่ด้านซ้ายและขวาข้างละ1วงภายในวงกลมมีอักษรภาษาจีนตรงกลางด้านล่างกรอบวงรีมีถ้อยคำว่าOYSTERFLAVOREDSAUCEอยู่ในกรอบประดิษฐ์รูปสี่เหลี่ยมและที่มุมด้านในของกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปดอกไม้อยู่ทั้งสี่มุมส่วนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเป็นรูปชายกับหญิงพายเรือสวนกันกลางน้ำซึ่งมีภาพภูเขา3ลูกและเมฆเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมนั้นไว้อีกชั้นหนึ่งส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนก็เป็นรูปคน2คนพายเรือสวนกันกลางน้ำมีภูเขา3ลูกเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมด้านข้างซ้ายและขวาของวงกลมมีดอกไม้วางเรียงกันลงมาด้านละ3ดอกและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมไว้อีกชั้นหนึ่งภาพเรือ2ลำแล่นสวนกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยซ้อนกันหากไม่สังเกตให้ดีจะดูคล้ายคน2คนนั่งอยู่ในเรือลำเดียวกันตำแหน่งของคนทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกับคนทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมาใช้กับสินค้าซอสหอยนางรมจะเห็นได้ชัดเจนว่าฉลากเครื่องหมายการค้าที่ปิดข้างขวดคล้ายกับฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยและสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ภาพถ่ายสินค้าและสลากเครื่องหมายการค้าเมื่อโจทก์ได้ส่งซอสน้ำมันหอยมาจำหน่ายในประเทศไทย40ปีเศษแล้วและโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศการที่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อปี2529และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้อย่างหนึ่งแต่เวลานำไปใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์จำเลยได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นลงไปให้เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่จะเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยแม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือโจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นและในเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของโจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของจำเลยและให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่42รายการสินค้าซอสน้ำมันหอยโจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรกและโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฎว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทโจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีเครื่องหมายการค้ายังไม่ได้จดทะเบียน และประเด็นการยกข้อไม่ขึ้นว่ากันในศาล
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีข้อใดไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดข้อนั้นเป็นประเด็นข้อพิพาท ก็หาก่อให้เกิดมีประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาไม่ ต้องถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าAdmiral และรูปประดิษฐ์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 38 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่า จำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แต่โจทก์หาได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าไม่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้ ทั้งไม่อาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ. เดียวกัน
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าAdmiral และรูปประดิษฐ์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 38 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่า จำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แต่โจทก์หาได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าไม่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้ ทั้งไม่อาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ. เดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน และการพิสูจน์การลวงขายเพื่อเรียกค่าเสียหาย
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีข้อใดไว้แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดข้อนั้นเป็นประเด็นข้อพิพาทก็หาก่อให้เกิดมีประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาไม่ต้องถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าAdmiralและรูปประดิษฐ์สำหรับสินค้าจำพวกที่38โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าวโจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่โจทก์หาได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าไม่โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้ทั้งไม่อาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา29วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายที่ไม่จดทะเบียน vs. ผู้จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า BENIHANA กับเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยคำว่า BENNI-HANA หากวิญญูชนไม่ได้สังเกตอย่างรอบคอบโดยถี่ถ้วนแล้ว ย่อมหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าอย่างเดียวกัน โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ต่างประเทศมาก่อนจำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนานนับสิบปี โดยใช้กับสินค้าอาหารประเภทเนื้อ ปลา เป็ด ไก่ และผักและโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นชื่อโรงแรมและภัตตาคารที่โจทก์เปิดบริการอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยได้มีโอกาสเห็นเครื่องหมายการค้าคำว่า BENIHANA ของโจทก์ที่ต่างประเทศมาก่อน แล้วนำมาเป็นแนวประดิษฐ์คำขึ้นใหม่ว่า BENNI-HANA การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า BENIHANA ของโจทก์และคำว่า BENNI-HANAที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดีกว่าของจำเลย แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยไว้แล้วและโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ก็ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 42 ประเภทอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งซึ่งประกอบด้วยเนื้อ เป็ด ไก่ ปลา และผัก เช่นเดียวกับสินค้าที่ใช้มานานในต่างประเทศ แม้สินค้าดังกล่าวจะแตกต่างกับสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นลูกกวาด ขนมปังกรอบ ขนมปังช็อกโกแล็ตและนม แต่สินค้าของจำเลยอยู่ในจำพวกที่ 42 และถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวทั้งหมดอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกัน เป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยต่อสาธารณชนว่าเป็นสินค้าของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้
โจทก์มิได้ฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างในชั้นฎีกาแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247
โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 42 ประเภทอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งซึ่งประกอบด้วยเนื้อ เป็ด ไก่ ปลา และผัก เช่นเดียวกับสินค้าที่ใช้มานานในต่างประเทศ แม้สินค้าดังกล่าวจะแตกต่างกับสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นลูกกวาด ขนมปังกรอบ ขนมปังช็อกโกแล็ตและนม แต่สินค้าของจำเลยอยู่ในจำพวกที่ 42 และถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวทั้งหมดอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกัน เป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยต่อสาธารณชนว่าเป็นสินค้าของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้
โจทก์มิได้ฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างในชั้นฎีกาแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้และของจำเลยที่ได้รับการจดทะเบียนไว้มีคำในอักษรโรมันและอักษรไทยรวมทั้งสำเนียงเรียกขานคล้ายคลึงกันมากหากไม่ได้สังเกตอย่างรอบคอบโดยถี่ถ้วนย่อมหลงผิดได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอย่างเดียวกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลจึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าขึ้นเองจนคล้ายคลึงกับของโจทก์ซึ่งใช้มาก่อนโดยไม่ได้เจตนาการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยแม้จำเลยจะจดทะเบียนไว้แล้วและโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยโจทก์ก็ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1) โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่42ประเภทอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งซึ่งประกอบด้วยเนื้อเป็ดไก่ปลาและผักแม้จะแตกต่างกับสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นลูกกวาดขนมปังกรอบขนมปังช็อกโกแล็ตและนมแต่ก็อยู่ในจำพวกที่42และถือว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารด้วยผู้ซื้อสินค้าอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกันได้ถือว่าจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยต่อสาธารณชนว่าเป็นของโจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา29วรรคสองได้ แม้โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่เมื่อยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา29วรรคแรกทั้งโจทก์มิได้ฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วยจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5),246และ247