พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนย่อมฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนของผู้อื่นได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16วรรคสองเพียงแต่บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่รับจดทะเบียนไปให้ทราบตามวรรคหนึ่งของมาตรา16มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา19ทวิได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเหตุที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนนั้นโดยมิได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาลโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทอันจดทะเบียนไว้ในประเทศฝรั่งเศสได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของส.ซึ่งนายทะเบียนได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วต่อมาส. ได้โอนให้จำเลยโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและขอให้คณะกรรมการรอการวินิจฉัยไว้ก่อนซึ่งคณะกรรมการได้มีคำสั่งให้รอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไว้เพื่อรอคำพิพากษาของศาลการที่โจทก์คดีขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าของโจทก์แพร่หลายมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้วทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ไว้ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศต่างๆไม่น้อยกว่า90ประเทศจึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยผู้ที่จดทะเบียนไว้แล้วขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา41(1)โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการที่โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16วรรคสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามิใช่เป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา22วรรคสี่(1)อันเป็นกรณีที่มีผู้คัดค้านการขอจดทะเบียนแล้วนายทะเบียนได้ให้คำวินิจฉัยกรณีนี้ไม่มีการคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์แต่เป็นเรื่องที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้โจทก์เองเพราะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนนั้นเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา22และไม่ตัดสิทธิของโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงจะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของส. และต่อมาส. โอนสิทธิเครื่องหมายการค้าให้จำเลยโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลโดยฟ้องจำเลยต่อศาลเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่สิ้นไป โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยเพราะได้ใช้มาก่อนซึ่งเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)โจทก์หาได้ฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าโจทก์ตามมาตรา29ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81-82/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้เกิดความเข้าใจผิดและละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
แม้รูปลักษณะการวางตัวอักษรโรมันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะแตกต่างกันโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันSPSในแนวนอนส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวอักษรโรมันSPSซ้อนกันในแนวตั้งก็ตามแต่การอ่านออกเสียงเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็อ่านว่า"เอสพีเอส"เช่นเดียวกันทั้งยังใช้กับสินค้าจำพวกกางเกงในเหมือนกันด้วยสาธารณชนจึงอาจหลงผิดได้โดยง่ายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์เมื่อจำเลยทราบดีอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ได้ใช้ตัวอักษรโรมันSPSอ่านว่า"เอสพีเอส"ในแนวนอนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้ากางเกงในการที่จำเลยนำตัวอักษรโรมันSPSอ่านว่า"เอสพีเอส"ซ้อนกันในแนวตั้งไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องนุ่งห่มและแต่งกายซึ่งรวมถึงสินค้ากางเกงในจึงแสดงให้เห็นว่าจำเลยมุ่งประสงค์จะแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริตเพื่อให้ผู้ซื้อซึ่งจำคำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของโจทก์เข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโจทก์ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันSPSอ่านว่า"เอสพีเอส"ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและสินค้าที่อาจทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์ตัวหนาทึบอยู่ในพื้นสีขาว เขียวและเขียวเข้มลักษณะเป็นแฉก เหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาจีนถัดลงมาเป็นภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ทั้ง ซัง ฮะ" และมีคำว่า "น้ำปลาผสม"ส่วนด้านใต้ตัวเลข 1 ระบุแหล่งผู้ผลิตคือ ผลิตโดยบริษัทไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัดส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์เป็นลายไทย เหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาไทยอ่านว่า "น้ำปลาผสมตราเลขหนึ่ง" ถัดลงมาเป็นภาษาจีนภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ตั้ง ซัง ฮะ" และมีคำว่า "แบ่งบรรจุโดยร้านมิตรไพโรจน์"ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสองอยู่ที่ตัวเลข "1" ซึ่งอยู่ในพื้นสีขาว เขียวอ่อนและเขียวเข้มซึ่งเป็นแฉกเหมือนกัน อยู่ในฉลากขนาดเดียวกัน ด้านบนของตัวเลข 1คำว่า "ตั้ง ซัง ฮะ" กับ "ทั้ง ซัง ฮะ" มีจำนวน 3 คำเท่ากัน และมีคำซ้ำกันถึง2 คำ คือ "ซัง" กับ "ฮะ" ส่วนคำที่ไม่ซ้ำกันคือคำว่า "ทั้ง" กับ "ตั้ง" ก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกัน ส่วนแหล่งผู้ผลิตซึ่งอยู่ด้านล่างของตัวเลข "1" มีคำว่า"ไพโรจน์" อย่างเดียวกัน การจัดวางรูปเครื่องหมายการค้าเลข "1" ตลอดจนส่วนประกอบอื่น ๆ คล้ายคลึงกัน และใช้กับสินค้าน้ำปลาอย่างเดียวกัน เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ใช้มาก่อนและจดทะเบียนไว้จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นจนทำให้สาธารณชนสับสนถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์ตัวหนาทึบอยู่ในพื้นสีขาว เขียวและเขียวเข้มลักษณะเป็นแฉกเหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาจีน ถัดลงมาเป็นภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ทั้ง ซังฮะ" และมีคำว่า "น้ำปลาผสม" ส่วนด้านใต้ตัวเลข 1 ระบุแหล่งผู้ผลิตคือ ผลิตโดยบริษัทไพโรจน์(ทั่งซังฮะ) จำกัด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์เป็นลายไทย เหนือตัวเลข 1เป็นภาษาไทยอ่านว่า "น้ำปลาผสมตราเลขหนึ่ง" ถัดลงมาเป็นภาษาจีน ภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ตั้ง ซังฮะ" และมีคำว่า"แบ่งบรรจุโดยร้านมิตรไพโรจน์"ลักษณะเด่น ของเครื่องหมายการค้าทั้งสองอยู่ที่ตัวเลข "1" ซึ่งอยู่ในพื้นสีขาวเขียวอ่อน และเขียวเข้มซึ่งเป็นแฉก เหมือนกัน อยู่ในฉลากขนาดเดียวกัน ด้านบนของตัวเลข 1 คำว่า "ตั้ง ซังฮะ" กับ"ทั้ง ซังฮะ" มีจำนวน 3 คำเท่ากัน และมีคำซ้ำกันถึง 2 คำคือ "ซัง"กับ"ฮะ" ส่วนคำที่ไม่ซ้ำกันคือคำว่า "ทั้ง" กับ"ตั้ง" ก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกัน ส่วนแหล่งผู้ผลิตซึ่งอยู่ด้านล่างของตัวเลข "1" มีคำว่า "ไพโรจน์" อย่างเดียวกันการจัดวางรูปเครื่องหมายการค้าเลข "1" ตลอดจนส่วนประกอบอื่น ๆคล้ายคลึงกัน และใช้กับสินค้าน้ำปลาอย่างเดียวกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ใช้มาก่อนและจดทะเบียนไว้จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้การจดทะเบียนถูกเพิกถอน
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้และครบสิบปีแล้วจำเลยไม่ต่ออายุของการจดทะเบียนซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 27 ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่จำเลยยังใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า มาตรา 41
ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ (1) ว่า โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่ และในข้อ (4) ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรไทยคำว่า "เบต้าเดอร์มครีม"และอักษรโรมันคำว่า BETADERMCREAM หรือไม่ เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวประกอบกับคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วย่อมแปลได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย อันเป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41 มิใช่มาตรา 29 ศาลจึงวินิจฉัยได้ว่า โจทก์หรือจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4030/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, ลักษณะคล้ายกัน, และข้อจำกัดระยะเวลาฟ้องร้อง
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นภาพแหวนและภาพมงกุฎ ส่วนคำขอของจำเลยเป็นภาพแหวนสวมมงกุฎประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า "NEPLUSULTRADARNERSDIMONDDRILLDEYED" และภาพมงกุฎเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์และจำเลยมีลักษณะของแหวนและมงกุฎเป็นชนิดเดียวกัน ตัวแหวน หัวแหวน รูปลักษณะ ของ มงกุฎและลวดลายของมงกุฎเหมือนกัน รูปรอยประดิษฐ์ภาพแหวนสวมมงกุฎสีขาวที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของโจทก์และของจำเลยอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมที่มีลวดลายโดยรอบคล้ายกันอยู่ในพื้นสีน้ำเงินทึบลวดลายสีขาว ลายเส้นก็คล้ายกัน ตัวอักษรโรมันสีขาวคำว่า "NEPLUSULTRADARNERSDRILLDEYED" ที่ใช้เขียนใต้เครื่องหมายการค้าก็เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงว่ามีตัวเลขอารบิค สีขาว "3000" อยู่ระหว่างคำว่า "DIMOND" กับคำว่า "DRILLDEYED" และที่ขอบสี่เหลี่ยมไม่มีลวดลายสีขาวเท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมด ทั้งปรากฏว่าได้นำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์เป็นการนำเอาส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นคำขอไว้มาใช้ เป็นการมุ่งหมายจะลวงหรือทำให้เกิดสับสนกันได้ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน นอกจากคำขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าและมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่จำเลยได้ยื่นไว้แล้วดีกว่าโจทก์ทั้งสอง และห้ามมิให้ขัดขวางการที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยแล้ว คำขออื่นตามฟ้องแย้งของจำเลยล้วนเป็นคำขอเพื่อป้องกันและเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสิ้น ดังนั้นแม้จะปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยดีกว่าโจทก์ เพราะจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังมิได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาจนถึงวันฟ้องแย้งก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ จำเลยจึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และฟ้องแย้งของจำเลยก็มิได้บรรยายให้ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองเอาสินค้าของโจทก์ทั้งสองไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย กรณีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการลวงขายที่จะต้องวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลบังคับตามคำขออื่นดังกล่าวตามฟ้องแย้งของจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกัน ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้สินค้าต่างจำพวก
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่านิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLEของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38 รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอดในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึงกัน, สิทธิเจ้าของเครื่องหมาย, การใช้ก่อน, และการลอกเลียนแบบ
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่า นิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLE ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอด ในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรีณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์ อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากมิได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 2729 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้.