คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากไม่ได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 27 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียน แม้เป็นเจ้าของต่างประเทศ
เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความ และไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายยการค้าดังกล่าวในประเทศไทย อันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 27,29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้สาธารณชนหลงผิด
สินค้าของโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า "NICCO" จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "NICCO" เป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน แตกต่างกันเพียงว่า ของโจทก์อยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกัน ของโจทก์ออกสำเนียงว่า "นิกโก้" ส่วนของจำเลยออกสำเนียงว่า "นิคโค้" การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทด้วย
มาตรา 21 และ 22 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย เมื่อไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และหาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง ที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็๋นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิด ถือเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียน
สินค้าของโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า "NICCO" จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "NICCO" เป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน แตกต่างกันเพียงว่า ของโจทก์อยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกัน ของโจทก์ออกสำเนียงว่า "นิกโก้"ส่วนของจำเลยออกสำเนียงว่า"นิคโค้"การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทด้วย มาตรา 21 และ 22 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย เมื่อไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และหาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า รูปธงและตัวอักษรที่หลากหลาย ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปธงมีเสา ชายธงสะบัดไปทางขวา มีอักษรโรมัน วี.เอฟ.(V.F.) อยู่ในธง ใต้ธงมีอักษรภาษาไทยว่า ตราธงชนะ และมีภาษาอังกฤษอ่านว่าวิกตอรีแฟล็กแบรนด์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปธงมีเสา ชายธงสะบัดไปทางขวามีอักษรโรมัน เจ.อาร์ (J.R.)อยู่ในธง ไม่มีอักษรโรมันใต้ธง แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะเป็นรูปธงมีเสา สะบัดชายธงไปทางขวาเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันจนอย่างมากอยู่หลายประการประการแรกคือการวางรูปโดยรูปธงของโจทก์เป็นรูปธงติดเสาตั้งตรงส่วนรูปธงของจำเลยติดเสาเอียงไปทางซ้าย ใต้ธงของโจทก์มีอักษรหรือข้อความถึงสองบรรทัด บรรทัดแรกเป็นภาษาไทยว่า "ตราธงชนะ" และบรรทัดที่สองเป็นภาษาโรมันว่า"VICTORYFLAGBRAND" ภาพรวมทั้งหมดนี้จะเห็นว่าแตกต่างกันมากส่วนรูปและตัวอักษรในชายธงนั้นก็แตกต่างกันมากเช่นเดียวกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์สะบัดพลิ้วแรง และเป็นธงสองสีอักษรโรมันตัว V อยู่มุมซ้ายด้านบนติดกับปลายเสาธงอยู่ในส่วนของสีบน ส่วนอักษรตัว F อยู่มุมขวาด้านล่าง ในส่วนของสีล่างห่างกันมาก และอักษรตัวเล็ก ๆ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นธงที่แทบจะไม่มีลักษณะสะบัด และเป็นธงพื้นสีเดียวทั้งผืน ตัวอักษรโรมันอยู่ตรงกลางใหญ่เกือบเต็มผืนธง และอักษร J และ R อยู่ในลักษณะตัวอักษรเชื่อมต่อเป็นตัวเดียวกันหรือทับกันครึ่งตัว รูปร่างลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยแตกต่างกันมากเช่นนี้ ย่อมไม่อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ การที่ประชาชนเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยว่าตรงธงเช่นเดียวกัน เป็นเพียงสื่อความหมายมิใช่การหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบจนสับสนและการจดทะเบียนก่อนย่อมได้รับความคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 3 แบบ ปรากฏอยู่ที่กระป๋องบรรจุขนมปังกรอบกับที่กล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ เมื่อนำกล่องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ กับนำกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์จะเห็นได้ว่ากล่องและกระป๋องดังกล่าวของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องและกระป๋องดังกล่าวของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องและกระป๋องตลอดจนฝาก็เหมือนกันสีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่งเดียวกันก็เหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีตัวอักษรที่เหมือนกันคือคำว่า "CREAMCRACKERS" และคำว่า "EXTRALIGHT"ด้วย ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันก็คือของโจทก์ใช้คำว่า "JACOB&COS"ส่วนของจำเลยใช้คำว่า "CHITCHATCO.,LTD." ของโจทก์ใช้คำว่า"JACOB'S" ของจำเลยใช้คำว่า "DRAGONBRAND" สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากัน ก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าได้เลย เครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่กล่องขนมปังกรอบและกระป๋องขนมปังกรอบของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เริ่มมีการจดทะเบียนในประเทศไทยไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการ จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนเกิดความสับสน และการไม่ได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าโดยการครอบครองปรปักษ์
รูปร่างลักษณะของกล่องฝากับกระป๋องขนมปังกรอบของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน สีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่งเดียวกันเหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันเท่ากัน และมีคำที่เหมือนกัน 2 คำ ถึงจะมีคำอักษรโรมันอีก 2 คำ ที่ต่างกัน แต่แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างเวลากัน ก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังนั้น การที่จำเลยผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์
เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญามิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าจากสัญญาซื้อขายกิจการ สิทธิในเครื่องหมายการค้าตกเป็นของผู้รับโอน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRALM(ฮอร์วีราลเอ็ม)ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ. เป็นกรรมการ จำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ. ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRALM ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆ ไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRALM และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าจากการโอนกิจการและสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก คดีไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41 มิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRALM(ฮอร์วีราลเอ็ม) ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ.เป็นกรรมการจำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ.ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRALM ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRALM และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านสัญญาสัมปทานและผลของการโอนสิทธิไปยังโจทก์ ทำให้โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRAL M (ฮอร์วีราล เอ็ม)ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ. เป็นกรรมการ จำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ. ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRAL M ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆ ไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRAL M และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้.
of 10