พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าโดยมิได้จดทะเบียน: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์
จำเลยเคยรับสินค้าของโจทก์มาจำหน่ายเป็นเวลาหลายปีแล้วเลิกเสีย หันมาผลิตสินค้าประเภทเดียวกันขึ้นจำหน่ายเอง โดยใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทบทั้งหมด มีตัวอักษรส่วนประกอบปลีกย่อยผิดเพี้ยนกันไปบ้างเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์ดังนี้ฟังได้ว่าจำเลยเอาแบบรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่จำเลยจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเคยรับมาจำหน่าย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272
แม้เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะไม่ได้จดทะเบียน แต่ถ้ามีผู้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆในการประกอบการค้าของเขาไปใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าอันแท้จริง เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องได้
แม้เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะไม่ได้จดทะเบียน แต่ถ้ามีผู้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆในการประกอบการค้าของเขาไปใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าอันแท้จริง เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบจนประชาชนหลงเชื่อ แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเคยรับสินค้าของโจทก์มาจำหน่ายเป็นเวลาหลายปี แล้วเลิกเสีย หันมาผลิตสินค้าประเภทเดียวกันขึ้นจำหน่ายเอง โดยใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกัลเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทบทั้งหมด มีตัวอักษรส่วนประกอบปลีกย่อยผิดเพี้ยนกันไปบ้างเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์ดังนี้ฟังได้ว่าจำเลยเอาแบบรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่จำเลยจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเคยรับมาจำหน่ายจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272
แม้เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะไม่ได้จดทะเบียน แต่ถ้ามีผู้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของเขาไปใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าอันแท้จริง เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(9) มีอำนาจฟ้องได้
แม้เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะไม่ได้จดทะเบียน แต่ถ้ามีผู้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของเขาไปใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าอันแท้จริง เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(9) มีอำนาจฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้ายังไม่ได้จดทะเบียน: การประดิษฐ์เครื่องหมายก่อนและการไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
การที่บุคคลใดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าขึ้นเพื่อสำแดงว่าสินค้านั้น ๆ เป็นของตน แม้จะยังไม่ได้สำแดงกับสินค้าของตน ก็ย่อมถือเป็นเครื่องหมายการค้าตามนัยแห่งมาตรา 1 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
ตราบใดที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลใดยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของตนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนว่าถูกละเมิดสิทธิโดยถูกลอกหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29
ตราบใดที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลใดยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของตนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนว่าถูกละเมิดสิทธิโดยถูกลอกหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าและการคุ้มครองสิทธิ: สิทธิเกิดจากการจดทะเบียน
การที่บุคคลใดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าขึ้นเพื่อสำแดงว่า สินค้านั้นๆเป็นของตน แม้จะยังไม่ได้สำแดงกับสินค้าของตน ก็ย่อมถือเป็นเครื่องหมายการค้าตามนัยแห่ง มาตรา 3พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
ตราบใดที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลใดยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำคดีสู่ศาล เพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของตนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนว่าถูกละเมิดสิทธิ โดยถูกลอกหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29
ตราบใดที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลใดยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำคดีสู่ศาล เพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของตนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนว่าถูกละเมิดสิทธิ โดยถูกลอกหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า มาตรา 17 และการไม่นำอายุความมาใช้
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จะนำอายุความตามมาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้ เพราะกรณีต่างกัน
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอย (หอยแครง) ไม่ใช่รูปนกยูง (ยูงรำแพน) ดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันกับรูปนกยูงของโจทก็พอดี ลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนของโจทก์ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2405)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดไว้เดิมเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
หลักเกณฑ์ที่ว่าถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้น ใช้เฉพาะในกรณีที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายรายหนึ่งไว้แล้ว เจ้าของอีกรายหนึ่งที่เครื่องหมายการค้าคล้ายกันได้มาขอจดบ้าง ถ้าเครื่องหมายรายหลังนี้คล้ายกันจนถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 ก็ห้ามมิให้รับจดทะเบียนให้ กรณีจึงต่างกับกรณีตามมาตรา 17
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอย (หอยแครง) ไม่ใช่รูปนกยูง (ยูงรำแพน) ดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันกับรูปนกยูงของโจทก็พอดี ลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนของโจทก์ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2405)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดไว้เดิมเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
หลักเกณฑ์ที่ว่าถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้น ใช้เฉพาะในกรณีที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายรายหนึ่งไว้แล้ว เจ้าของอีกรายหนึ่งที่เครื่องหมายการค้าคล้ายกันได้มาขอจดบ้าง ถ้าเครื่องหมายรายหลังนี้คล้ายกันจนถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 ก็ห้ามมิให้รับจดทะเบียนให้ กรณีจึงต่างกับกรณีตามมาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สับสน ผู้ฟ้องไม่มีสิทธิเรียกร้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำของจดทะเบียนที่โจทก์ฟ้องว่าเลียนหรือลอกเบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น เมื่อไม่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายของโจทก์อันจะทำให้เกิดสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์แล้ว ก็ไม่มีเหตุที่โจทก์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่า และไม่มีเหตุที่ศาลจะบังคับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียน หรือห้ามไม่ให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยมีเจตนาไม่สุจริตและอาศัยความนิยมของเครื่องหมายผู้อื่นเพื่อแสวงหาประโยชน์
โจทก์ได้ใช้คำว่า แฟ๊บ (FAB) เป็นเครื่องหมายการค้า สำหรับผงซักฟอกมาช้านานและแพร่หลาย จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้า FAB สำหรับผงซักฟอกมาช้านานและแพร่หลาย จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้า FAB ให้เหมือนกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ สำหรับสินค้าแปรงสีฟันของจำเลย โดยจำเลยเห็นว่า สินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลาย เพื่อให้ผู้ซื้อหลงว่าสินค้าที่มีเครื่องหมายนี้เป็นสินค้าของเจ้าของสินค้ารายเดียวกัน สินค้าของจำเลยจะได้ขายได้ดีตามที่ผู้คนนิยมเชื่อถือสินค้าที่มีเครื่องหมายนี้มาแล้ว เมื่อโจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายแฟ๊บ (FAB) สำหรับสินค้าจำพวกแปรงสีฟัน ปรากฏว่าจำเลย ได้ขอจดทะเบียนคำว่าแฟ๊บ (FAG) สำหรับสินค้าจำพวกแปรงสีฟันไว้ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิง เอารูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเพื่อใช้กับสินค้าของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ดีกว่า จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2502)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันโดยเจตนาทุจริตและแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของผู้อื่น
โจทก์ได้ใช้คำว่า 'แฟ๊บ'(FAB)เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับผงซักฟอกมาช้านานและแพร่หลาย จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าFABให้เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าแปรงสีฟันของจำเลย โดยจำเลยเห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงว่าสินค้าที่มีเครื่องหมายนี้เป็นสินค้าของเจ้าของสินค้ารายเดียวกันสินค้าของจำเลยจะได้ขายได้ดีตามที่ผู้คนนิยมเชื่อถือสินค้าที่มีเครื่องหมายนี้มาแล้ว เมื่อโจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายแฟ๊บ(FAB)สำหรับสินค้าจำพวกแปรงสีฟันปรากฏว่าจำเลยได้ขอจดทะเบียนคำว่าแฟ๊บ(FAB)สำหรับสินค้าจำพวกแปรงสีฟันไว้ก่อนแล้วการกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเอารูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเพื่อใช้กับสินค้าของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เช่นนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ดีกว่าจำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2502)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิในการฟ้องร้องเมื่อยังมิได้จดทะเบียน และผลของการไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลา
คดีที่ฟ้องขอแสดงสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าผู้อื่นตามความใน ม.17 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 นั้น เป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาจริงได้ตาม ม.189 (3) แม้ในฟ้องจะได้กล่าวอ้างว่าเครื่องหมายการค้ามีราคาถึง 10,000 บาท ก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องทุนทรัพย์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง ม.258
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตาม แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม.29 วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้
ฎีกาที่ 1843/2497
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตาม แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม.29 วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้
ฎีกาที่ 1843/2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ความสำคัญของการจดทะเบียนภายในกำหนดเวลา และขอบเขตการฟ้องร้องเมื่อยังมิได้จดทะเบียน
คดีที่ฟ้องขอแสดงสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าผู้อื่นตามความใน มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 นั้น เป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ตามมาตรา 189(3) แม้ในฟ้องจะได้กล่าวอ้างว่าเครื่องหมายการค้ามีราคาถึง 10,000 บาทก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องทุนทรัพย์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตามแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้ ฎีกาที่ 1843/2497
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตามแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้ ฎีกาที่ 1843/2497