คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความกล่าวหาเท็จและการสร้างพยานหลักฐานเท็จ ต้องพิสูจน์เจตนาแกล้งแจ้งความหรือสร้างหลักฐานผิด
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเหตุสงสัยตามสมควร ไม่เช่นนั้นอาจเป็นความเท็จได้
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเจตนาแจ้งความเท็จ ไม่ใช่เพียงข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อน
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะ ทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะ ทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไปจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179 การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และทุจริตหน้าที่ กรณีอนุมัติเบิกจ่ายเงินเกินบัญชี และอำนาจการมอบอำนาจร้องทุกข์
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และหน้าที่ของธนาคาร, อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม, หนังสือมอบอำนาจ
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความไม่ถือเป็นการร้องทุกข์หากยังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวน คดีขาดอายุความตาม ป.อ.มาตรา 96
ผู้แทนโจทก์แจ้งต่อพนักงานตำรวจว่า 'จึงให้ผู้แจ้งมาร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบริษัทนิติสิทธิ์ จำกัด โดยนายวรนิติส่งสวัสดิ์และนายสิทธิพงษ์สุขะวิมลาภทั้งทางนิติบุคคลและส่วนตัว ข้อหาออกเช็คโดยมีเจตนามิให้มีการใช้เงินตามเช็คจนคดีถึงที่สุด แต่ผู้แจ้งขอรับเช็คดังกล่าวไปดำเนินการอีกทางหนึ่งก่อน ยังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแต่อย่างใด' คำของผู้แทนโจทก์ที่ว่ายังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแต่อย่างใดนั้น ไม่ต้องกับลักษณะการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7)คำแจ้งความดังกล่าวจึงไม่เป็นการร้องทุกข์
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด โดยมิได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยไว้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความไม่ถือเป็นการร้องทุกข์ หากยังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวน ทำให้คดีขาดอายุความ
ผู้แทนโจทก์แจ้งต่อพนักงานตำรวจว่า 'จึงให้ผู้แจ้งมาร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบริษัทนิติสิทธิ์ จำกัด โดยนายวรนิติ ส่งสวัสดิ์ และนายสิทธิพงษ์ สุขะวิมลาภทั้งทางนิติบุคคลและส่วนตัว ข้อหาออกเช็คโดยมีเจตนามิให้มีการใช้เงินตามเช็คจนคดีถึงที่สุด แต่ผู้แจ้งขอรับเช็คดังกล่าวไปดำเนินการอีกทางหนึ่งก่อน ยังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแต่อย่างใด' คำของผู้แทนโจทก์ที่ว่ายังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแต่อย่างใดนั้น ไม่ต้องกับลักษณะการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) คำแจ้งความดังกล่าวจึงไม่เป็นการร้องทุกข์
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด โดยมิได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยไว้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความไม่ถือเป็นร้องทุกข์หากยังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวน ทำให้คดีขาดอายุความ
ผู้แทนโจทก์แจ้งต่อพนักงานตำรวจว่า "จึงให้ผู้แจ้งมา ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบริษัทนิติสิทธิ์ จำกัด โดยนายวรนิติส่งสวัสดิ์และนายสิทธิพงษ์สุขะวิมลาภ ทั้งทางนิติบุคคลและส่วนตัว ข้อหาออกเช็คโดยมีเจตนามิให้มีการใช้เงินตามเช็คจนคดีถึงที่สุด แต่ผู้แจ้งขอรับเช็คดังกล่าวไปดำเนินการอีกทางหนึ่งก่อน ยังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแต่อย่างใด" คำของผู้แทนโจทก์ที่ว่ายังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแต่อย่างใดนั้นไม่ต้องกับลักษณะการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) คำแจ้งความดังกล่าวจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดโดยมิได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยไว้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความที่ไม่ถือเป็นการร้องทุกข์ทำให้คดีขาดอายุความ
ผู้แทนโจทก์แจ้งต่อพนักงานตำรวจว่า "จึงให้ผู้แจ้งมา ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบริษัทนิติสิทธิ์ จำกัด โดยนายวรนิติส่งสวัสดิ์และนายสิทธิพงษ์สุขะวิมลาภ ทั้งทางนิติบุคคลและส่วนตัว ข้อหาออกเช็คโดยมีเจตนามิให้มีการใช้เงินตามเช็คจนคดีถึงที่สุด แต่ผู้แจ้งขอรับเช็คดังกล่าวไปดำเนินการอีกทางหนึ่งก่อน ยังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแต่อย่างใด" คำของผู้แทนโจทก์ที่ว่ายังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแต่อย่างใดนั้นไม่ต้องกับลักษณะการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) คำแจ้งความดังกล่าวจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดโดยมิได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยไว้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: การปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรกเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ แม้จะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินใหม่
โจทก์มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารตรวจสอบบัญชีของจำเลย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2527 เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบแล้วบอกว่าไม่มีเงินจึงคืนเช็คให้โจทก์ ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินใหม่ เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์แสดงความจำนง ขอรับเงินตามเช็คจากธนาคารในวันที่ 26 มกราคม 2527 นั้นแล้ว แม้ธนาคารจะมิได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นลายลักษณ์อักษรก็ต้องถือว่าความผิดตาม พ.ร.บ. เช็คฯ พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้แต่มาฟ้องคดีเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
of 20