คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554-1555/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ของผู้ดูแลทรัพย์ที่ถูกยืมไปและเกิดการยักยอก: ผู้ดูแลมีสิทธิแจ้งความดำเนินคดีอาญาได้
ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ดูแลทรัพย์พิพาทไว้ จำเลยยืมทรัพย์พิพาทไปจากโจทก์ร่วม เมื่อเกิดการเสียหายขึ้นเพราะการกระทำผิดยักยอกของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายในฐานะเป็นผู้ครอบครองดูแลทรัพย์พิพาท มีอำนาจร้องทุกข์ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) (ตามนัยฎีกาที่ 1341/2495,420/2505,562/2505) แม้ในฟ้องจะบรรยายคลาดเคลื่อนว่าใครเป็นเจ้าทรัพย์ ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความต่างกับฟ้อง
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยยืมทรัพย์ไป แล้วทุจริตยักยอกเอาไว้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเสีย ย่อมมีความผิดในทางอาญา มิใช่เป็นเพียงเรื่องยืมทางแพ่งเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อเดือนตุลาคม 2506 และต่อมาประมาณปลายเดือนเมษายน 2507 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันขอยืมเครื่องประดับไปหลายอย่าง (ห้อยคอและกลัดเสื้อรูปดอกไม้แหวนเพชรเม็ดเดียว แหวนเพชรเม็ดเล็กเป็นรูป 4 เหลี่ยมแหวนทับทิมล้อมเพชร กำไลประดับเพชร สร้อยข้อมือนพเก้า จี้เพชรพร้อมสร้อยทองคำขาว แหวนมรกตล้อมเพชร ต่างหูเพชรนาฬิกาข้อมือประดับเพชร) ต้นเดือนมีนาคม 2510 โจทก์ร่วมทั้งสองได้ทวงถามของที่จำเลยยืมไป จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธไม่ยอมคืนโดยระหว่างมีนาคม 2510 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดยักยอกเอาทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประโยชน์ส่วนตน" เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
คำแจ้งความที่มีความว่า "จึงได้มาแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อบุคคลทั้งสี่ต่อไป" นั้น เป็นการกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อเจ้าพนักงานสอบสวนบันทึกข้อความคำร้องทุกข์ไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันและผู้ร้องทุกข์ได้ลงชื่อไว้แล้ว จึงเป็นการบันทึกคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญาเช็ค - การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์แต่เพียงลำพัง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) ตอนท้ายที่บัญญัติว่า "และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ" นั้นเป็นคำกว้าง ๆ ฉะนั้นตามที่เจ้าหน้าที่บันทึกไว้ว่า "ผู้แจ้ง(โจทก์) เกรงว่าเช็คจะขาดอายุความจึงได้นำความมาแจ้งไว้เป็นหลักฐาน" นั้นจึงบ่งให้เห็นว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษแล้ว และโจทก์ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุคาม ส่วนการที่จะดำเนินคดีที่กล่าวมาเมื่อได้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการอย่างใด จนโจทก์ไปแจ้งอีกเมื่อพ้นอายุความแล้วจึงได้ทำการสอบ ไม่ทำให้คดีโจทก์ขาดอายุความ
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นเช็คลงวันที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คไม่ใช่ถือเอาวันเขียนเช็คเป็นวันออกเช็ค ดังนั้นแม้โจทก์จะรู้ในขณะจำเลยเขียนเช็คว่าจำเลยไม่มีเงินสดในธนาคารอันจะใช้ให้โจทก์ได้ความเช็ค ก็ไม่ถือว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดกับจำเลยและไม่ถือว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์โดยมีเจตนาให้ดำเนินคดี แม้มิได้มอบคดีให้เจ้าพนักงาน ก็ถือเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
การที่พนักงานตำรวจจดรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันไว้ว่า"โจทก์ได้มาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้จับกุมจำเลยหาว่าบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ คดีเรื่องนี้ผู้แจ้งจะฟ้องร้องด้วยตนเอง จึงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน" นั้น เห็นได้ว่า โจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดและแจ้งเพื่อจะให้จำเลยได้รับโทษ โดยโจทก์จะฟ้องร้องเอาความผิดแก่จำเลยเสียเอง จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำแจ้งความไม่ใช่คำร้องทุกข์, อายุความเบียดบังทรัพย์
คำแจ้งความของโจทก์ซึ่งได้แจ้งไว้ต่อสถานีตำรวจว่า "เมื่อวันที่ 31 ก.ค.05 เวลาประมาณ 16.00 น.เศษ นางทองใบหรือนางสมใจ ฤทธิ์ธรรยุทธร อายุ 31 ปี ภรรยาของผู้แจ้ง อยู่กันมา 10 ปีแล้ว ได้หนีออกจากบ้านไปพร้อมทั้งได้เอาของมีค่าไปด้วย คือ เงินสด 9,340 บาท สร้อยคอทองคำหนัก 1 สลึง พระนางพญาเลี่ยมทอง 1 องค์ และพาบุตรไปด้วย 2 คน ไม่ทราบว่าไปที่ใด ตามหาไม่พบ จึงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานตาม ป.จ.ว.นี้" ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายถือได้ว่าโจทก์มิได้ร้องทุกข์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องทุกข์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การหลอกลวงให้ถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นความผิดตาม ม.341 อาญา
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่ใช่เอกสารสิทธิตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) ฉะนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก็ดี ก็ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องทุกข์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การหลอกลวงให้ถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นความผิดฉ้อโกง
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ใช่เอกสารสิทธิตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9)ฉะนั้นแม้จะได้ความว่าจำเลยเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก็ดี ก็ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ ไม่จำเป็นต้องระบุการร้องทุกข์ในฟ้อง
คดีอาญาที่อาจยอมความกันได้ที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว เพราะไม่ใช่องค์ประกอบแห่งความผิด
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาที่อาจยอมความได้ ไม่ต้องระบุการร้องทุกข์ในฟ้อง หากมิใช่องค์ประกอบความผิด
คดีอาญาที่อาจยอมความกันได้ที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องนั้นไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว เพราะไม่ใช่องค์ประกอบแห่งความผิด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเพื่อไม่ให้ขาดอายุความถือเป็นคำร้องทุกข์ได้ คดีเช็คไม่มีการจ่ายเงิน
ผู้เสียหายแจ้งความว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาไม่ใช้เงิน ขอแจ้งความให้เจ้าพนักงานทราบไว้เป็นหลักฐาน เพราะเกรงจะขาดอายุความ เจ้าพนักงานตำรวจรับแจ้งความไว้ และเรียกจำเลยไปสอบถามบันทึกคำให้การ ต่อมาเรียกคู่กรณีไปเปรียบเทียบแต่ไม่ตกลงกัน ผู้เสียหายจึงฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ถือว่า คำแจ้งความนั้นเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2503 แต่แล้วถอนไป จึงไม่มีการลงมติ)
จำเลยออกเช็คโดยไม่ประทับตราเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็ค ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะไม่ให้มีการจ่ายเงินตามเช็คนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเพื่อรักษาอายุความฟ้องร้องคดีเช็ค และการมีเจตนาออกเช็คโดยไม่ให้ธนาคารจ่ายเงิน
ผู้เสียหายแจ้งความว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาไม่ใช้เงินขอแจ้งความให้เจ้าพนักงานทราบไว้เป็นหลักฐาน เพราะเกรงจะขาดอายุความ เจ้าพนักงานตำรวจรับแจ้งความไว้ และเรียกจำเลยไปสอบถามบันทึกคำให้การ ต่อมาเรียกคู่กรณีไปเปรียบเทียบแต่ไม่ตกลงกัน ผู้เสียหายจึงฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ถือว่าคำแจ้งความนั้นเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2503 แต่แล้วถอนไป จึงไม่มีการลงมติ)
จำเลยออกเช็คโดยไม่ประทับตราเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะไม่ให้มีการจ่ายเงินตามเช็คนั้น
of 20