คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจร้องทุกข์และการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ไม่ได้รับมอบหมายอำนาจ
การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้(อ้างฎีกาที่ 755/2502) และกฎหมายก็ไม่ได้บังคับให้ร้องทุกข์ได้เฉพาะต่อพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเสมอไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการร้องทุกข์: แม้ต้องการเงินคืน แต่การบอกให้ดำเนินคดีก็ถือเป็นการร้องทุกข์เพื่อเอาโทษได้
ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินต่อพนักงานตำรวจสถานีบางซื่อตามเอกสารคำร้องทุกข์ว่า ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีจนถึงที่สุด แม้ผู้เสียหายจะเบิกความต่อศาลว่าไม่มีเจตนาจะให้เอาโทษจำเลย ขอให้ได้เงินคืนเท่านั้น และว่าเมื่อวันไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก็ได้บอกตำรวจด้วยว่า ต้องการเงินคืนเท่านั้น ไม่อยากให้เอาโทษ ตำรวจจึงยังไม่ได้สอบสวน เมื่อเห็นว่า จำเลยไม่คืนเงินจึงบอกให้ตำรวจจับจำเลย และได้เริ่มสอบสวนต่อไป เช่นนี้ ก็ยังถือได้ว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมายแล้ว คำเบิกความของผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้นนั้น หาแสดงว่าผู้เสียหายไม่เจตนาเอาโทษแก่จำเลยโดยแท้จริงไม่ เป็นแต่ผู้เสียหายอยากได้เงินคืนมากกว่า เมื่อไม่ได้เงินคืนจากจำเลย ก็ได้บอกให้ตำรวจจับจำเลยดำเนินการสอบสวนต่อไป เป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ผู้เสียหายต้องการเอาโทษจำเลยตามคำร้องทุกข์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการร้องทุกข์ ความผิดเช็ค และอายุความ การเบิกความต่อศาลไม่ทำให้การร้องทุกข์เป็นโมฆะ
ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินต่อพนักงานตำรวจสถานีตำรวจบางซื่อตามเอกสารคำร้องทุกข์ว่า ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีจนถึงที่สุด แม้ผู้เสียหายจะเบิกความต่อศาลว่าไม่มีเจตนาจะให้เอาโทษจำเลย ขอให้ได้เงินคืนเท่านั้น และว่าเมื่อวันไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก็ได้บอกตำรวจด้วยว่า ต้องการเงินคืนเท่านั้น ไม่อยากให้เอาโทษตำรวจจึงยังไม่ได้สอบสวน เมื่อเห็นว่า จำเลยไม่คืนเงินจึงบอกให้ตำรวจจับจำเลย และได้เริ่มสอบสวนต่อไปเช่นนี้ ก็ยังถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมายแล้ว คำเบิกความของผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้นนั้น หาแสดงว่าผู้เสียหายไม่เจตนาเอาโทษแก่จำเลยโดยแท้จริงไม่ เป็นแต่ผู้เสียหายอยากได้เงินคืนมากกว่าเมื่อไม่ได้เงินคืนจากจำเลย ก็ได้บอกให้ตำรวจจับจำเลยดำเนินการสอบสวนต่อไปเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่าผู้เสียหายต้องการเอาโทษจำเลยตามคำร้องทุกข์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบคดีให้พนักงานอัยการฟ้องร้อง ไม่จำเป็นต้องแสดงเอกสารมอบอำนาจ
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ความชัดตามฟ้องและชั้นพิจารณาว่า เจ้าทุกข์ผู้เสียหายได้แจ้งความมอบคดีต่อเจ้าพนักงานให้จัดการฟ้องร้องจำเลยได้ ก็เป็นการปฏิบัติชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) แล้ว ไม่จำต้องแสดงต่อศาลถึงเอกสารการมอบอำนาจหรือมอบคดีให้อัยการฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบคดีให้พนักงานอัยการฟ้องร้อง ไม่จำต้องมีเอกสารแสดงอำนาจ
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ความชัดตามฟ้องและชั้นพิจารณาว่า เจ้าทุกข์ผู้เสียหายได้แจ้งความมอบคดีต่อเจ้าพนักงานให้จัดการฟ้องร้องจำเลยได้ ก็เป็นการปฏิบัติชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) แล้ว ไม่จำต้องแสดงต่อศาลถึงเอกสารการมอบอำนาจหรือมอบคดีให้อัยการฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: การร้องทุกข์ การงดรอการดำเนินคดี และการนำสืบพฤติการณ์ใหม่เพื่อพิสูจน์การผิดสัญญา
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค. 99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย (โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านผู้ใหญ่บ้านห้ามจำเลยจำเลยว่า "เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า" ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค. 99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค. 99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค. 99 กับในวันที่ 3 พ.ค. 99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค. 99) เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พฤษภาคม 2499) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธิ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือในวันที่ 3 พฤษภาคม 2499 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น(16 มีนาคม 2499) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่2/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: ผู้ว่าฯ คนใหม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนผู้เสียหายเดิม
ผู้ว่าราชการจังหวัดถูกฉ้อโกงหลงเชื่อสั่งจ่ายเงินซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ไป เมื่อย้ายผู้ว่าราชการคนเก่าไปแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่โดยตำแหน่งย่อมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ให้เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีนั้นถือได้ว่าเป็นการร้องทุกข์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา: การร้องทุกข์โดยผู้เสียหายและผู้ปกครอง
ในคดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กนั้น เมื่อเด็กผู้เสียหายพร้อมด้วยบิดาเลี้ยงซึ่งเป็นผู้ปกครองในขณะนั้น ได้มาร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานในฐานะผู้เสียหาย และเจ้าพนักงานได้สอบสวนถ้อยคำไว้ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์คดีข่มขืนของผู้เยาว์อายุ 18 ปี ไม่ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อ
โจทก์ฟ้องจำเลยหาว่ากระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 243 ได้กล่าวยืนยันมาด้วยว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว จำเลยมิได้คัดค้านประการใด คงให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำผิดตามฟ้องเท่านั้น ดังนี้ ปัญหาข้อที่ว่าการร้องทุกข์ถูกต้องตามแบบระเบียบหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้น ไม่มีประเด็นที่คู่ความยกขึ้นกล่าวเลย ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
ผู้เยาว์อายุ 18 ปี ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน โดยไม่ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ด้วยก็ใช้ได้ (อ้างฎีกาที่ 214/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนคำร้องทุกข์ของผู้เยาว์: บิดาไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ที่ผู้เยาว์ยื่นเอง
ในกรณีที่ผู้เยาว์อายุ 17-18 ปีซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานด้วยตนเอง จนมีการสอบสวนและอัยการได้ดำเนินการฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวอันกระทำแก่ผู้เยาว์ฐานข่มขืนชำเราแล้วบิดาของผู้เยาว์ยื่นคำร้องต่อศาลขอถอนคำร้องทุกข์ ซึ่งเป็นการขัดขืนฝืนความประสงค์ของผู้เยาว์นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ตามรูปเรื่องแห่งคดีนี้เห็นว่าบิดาไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ที่ผู้เยาว์ได้ยื่นไว้โดยฝืนความประสงค์ของผู้เยาว์
of 20