พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทจากการแจ้งความ: เจตนาใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียง แม้แจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน
จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐานหากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จหรือผิดความจริงไปบ้างก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้
คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้
คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่การเงิน: โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชีผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเงินต่าง ๆ ของโจทก์ร่วม เมื่อคณะกรรมการของโจทก์ร่วมอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่สมาชิก หรือเงินกู้ตามสัญญากู้ใหม่ซึ่งจะต้องหักเงินบางส่วนชำระหนี้เก่าที่ยังค้างชำระอยู่ รวมทั้งเงินของสมาชิกผู้ขอลาออกจากสมาชิกโจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมจะต้องหักเงินของสมาชิกใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจะอนุมัติให้ลาออก เงินเหล่านี้ล้วนยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวยังมิได้โอนไปยังสมาชิกของโจทก์ร่วมเพราะยังมิได้มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่กันโดยชอบ เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & การยอมความ: สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้มีการตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้จ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่งเมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความ ทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์กล่าวโทษยักยอกทรัพย์: เพียงพอด้วยการแจ้งความด้วยวาจา แม้ไม่มีตราบริษัท
บันทึกคำร้องทุกข์ของโจทก์ระบุว่า ศ. (จำเลย) ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยักยอกเงินของผู้แจ้งไป เท่าที่ตรวจพบขณะนี้เป็นจำนวนเงิน 230,000บาท ทำให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย จึงมาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้กับพนักงาน-สอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และลงชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ แม้มิได้ระบุว่ากระทำในนามโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏรอยตราเครื่องหมายโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในช่องผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์โดย ส.กรรมการผู้จัดการได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด้วยวาจา มิได้ยื่นคำร้องทุกข์เป็นหนังสือ โดยพนักงาน-สอบสวนได้จัดทำคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษตามแบบฟอร์มของกรมตำรวจไว้และพนักงานสอบสวนจดบันทึกในคำร้องทุกข์ไม่ครบถ้วนตามที่ ส.แจ้งไว้ แล้วให้ส.ลงชื่อไว้โดยไม่ได้ประทับตราบริษัทโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกบันทึกคำร้องทุกข์ซึ่งพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นหลักฐานมาตำหนิและวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำของ ส.เป็นส่วนตัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้ศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยปัญหานี้ไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า การร้องทุกข์ของโจทก์เป็นไปโดยชอบและพิพากษาให้คดีมีมูลจึงเป็นการไม่ชอบ
การที่ ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้พบพนักงาน-สอบสวนแล้วแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของโจทก์ ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่า โจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้พบพนักงาน-สอบสวนแล้วแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของโจทก์ ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่า โจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์กล่าวโทษทางอาญา: การพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของคำร้องทุกข์และการนับอายุความ
การที่ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์พบพนักงานสอบสวน แล้วแจ้งความว่าผู้แจ้งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ มาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้น เป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่าโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องทุกข์ภายหลังคดีขาดอายุความคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาแผ่นดิน เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด แม้หนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผิด
ข้อหาหรือฐานความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรในคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดหรือไม่ แม้จะปรากฏในหนังสือมอบอำนาจว่าผู้เสียหายมอบอำนาจให้ป. แจ้งความดำเนินคดีแก่บุคคลที่ชื่อว่า ส. แต่เนื่องจากการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาเป็นอาญาแผ่นดิน เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายหรือผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหายอาจจะกล่าวโทษต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าหนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผู้กระทำความผิดหรือไม่ เจ้าพนักงานตำรวจก็ดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดได้อยู่แล้ว การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ลำพังแต่หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายระบุชื่อผู้กระทำความผิดไม่ถูกต้องไม่ทำให้การดำเนินคดีไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การร้องทุกข์ไม่ชัดเจนถึงความเสียหายของโจทก์ ทำให้ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามสามยอดตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายเลข 9 ท้ายฟ้อง ซึ่งมีข้อความสำคัญว่าส. ผู้แจ้งได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าผู้แจ้งประกอบอาชีพค้าขาย ฯลฯ และมาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 โดยกล่าวหาว่า ฯลฯ เป็นเหตุให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งจึงได้มาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เมื่อข้อความในบันทึกคำร้องทุกข์ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยดังนี้ต้องถือว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ร้องทุกข์ในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เสียหายในนามตนเองเมื่อคำร้องทุกข์ของ ส. ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการนิติบุคคลโจทก์ได้มาร้องทุกข์แทนโจทก์ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า ส.ได้กระทำแทนโจทก์และเมื่อคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้โจทก์ผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยมิได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบภายในกำหนดเวลา 3 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว vs. แทนบริษัท, ผลต่อการฟ้อง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามสามยอดตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายเลข 9 ท้ายฟ้อง ซึ่งมีข้อความสำคัญว่า ส.ผู้แจ้งได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าผู้แจ้งประกอบอาชีพค้าขาย ฯลฯ และมาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 โดยกล่าวหาว่า ...ฯลฯ...เป็นเหตุให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งจึงได้มาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เมื่อข้อความในบันทึกคำร้องทุกข์ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยดังนี้ต้องถือว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ร้องทุกข์ในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เสียหายในนามตนเอง เมื่อคำร้องทุกข์ของ ส.ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการนิติบุคคลโจทก์ได้มาร้องทุกข์แทนโจทก์ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า ส.ได้กระทำแทนโจทก์และเมื่อคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยมิได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบภายในกำหนดเวลา 3 เดือน ตาม ป.อ.มาตรา 96ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วมผู้เสียหาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้าน คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นเมื่อปรากฏตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมและจำเลยสามารถตกลงกันได้แล้ว โดยจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่โจทก์ร่วมจนพอใจแล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ติดใจที่จะ ดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีกต่อไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเองแต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเพราะคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายและการระงับการดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้าน คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมและจำเลยสามารถตกลงกันได้แล้ว โดยจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมจนพอใจแล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีกต่อไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเพราะคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)