คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับฟังข้อเท็จจริงเรื่องยักยอกเงิน, อายุความไม่ขาด, และไม่มีเหตุรอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยยังไม่ได้ความชัดแจ้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ตามคำขอของโจทก์ เห็นสมควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยยักยอกเอาเงินตามจำนวนที่โจทก์ขอมาจริงฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานว่าควรเชื่อได้เพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่ 15สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาอาญา: ข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และการคำนวณอายุความในคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยยังไม่ได้ความชัดแจ้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ตามคำขอของโจทก์ เห็นสมควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยยักยอกเอาเงินตามจำนวนที่โจทก์ขอมาจริงฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานว่าควรเชื่อได้เพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่15 สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกันจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการกล่าวหาในความผิดอาญา และอำนาจการสอบสวน/ฟ้องคดี
ปรากฏตามสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า นาย ส.ร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาเงินโจทก์ร่วมไป ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย จึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์ และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุด เป็นการกล่าวหาเฉพาะนาย ส.กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วย ทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของนาย ส.จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นที่ยังไม่ทราบชื่อร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่เป็นการกล่าวหาที่โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษ ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา2 (7), 123 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอาญา: คำร้องทุกข์ไม่ครอบคลุมจำเลยอื่น แม้มีส่วนร่วมกระทำผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าถูก ส.หลอกลวงเอาเงินไป โจทก์ร่วมได้ติดตามสืบหาตัว ส.ตลอดมาแต่ไม่พบ จึงไม่มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้ติดตามตัวส. มาเจรจากัน หากการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกันจะได้มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป ต่อมาโจทก์ร่วมไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมว่าในการหลอกลวงนี้มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยา ส.ได้ร่วมทำการหลอกลวงด้วย โจทก์ร่วมได้ติดตาม ส.กับจำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่ยังไม่พบ โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการกล่าวหาเฉพาะ ส. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่ร่วมกระทำผิด ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วย ทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของ ส.จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่เป็นการกล่าวหาที่โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7),127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอาญา: คำร้องทุกข์ต้องระบุตัวผู้กระทำผิดชัดเจน พนักงานสอบสวนและอัยการจึงมีอำนาจสอบสวนและฟ้องได้
ปรากฏตามสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า นายส.ร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาเงินโจทก์ร่วมไป ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย จึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการกล่าวหาเฉพาะนายส. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของนายส. จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นที่ยังไม่ทราบชื่อร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่เป็นการกล่าวหาที่ โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7),123 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่างจากฟ้อง ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความจริง
ป. ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ. โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง พนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน แม้ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ศาลต้องพิจารณาความผิดจำเลยตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295,83 ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเหตุคดีนี้เกิดจากผู้เสียหายเริ่มก่อเหตุก่อนและสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันกับจำเลยทั้งสาม ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และพิพากษายกฟ้องเช่นนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์มีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า คดีนี้การสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องความผิดอาญาแผ่นดินประเด็นเรื่องผู้เสียหายจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลชั้นต้นจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นเหตุให้เพิกถอนคำสั่งประทับฟ้องเดิม ขอให้ยกกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและสั่งให้ศาลชั้นต้นรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปตามรูปคดีนั้น ถือได้ว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงแสดงไว้ชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวนั้น พนักงานสอบสวนมีอำนาจทำการสอบสวนได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบดังนั้นแม้ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุและสมัครใจวิวาทกับจำเลยทั้งสามอันมีผลทำให้ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายก็ตามพนักงานอัยการโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและพิพากษาคดีอาญาโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า "รูปคดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง ข้าพเจ้าจึงขอรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ เพื่อศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป" เป็นการรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตรงตามที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ฯ มาตรา 22 ทวิ บัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงให้โจทก์จึงชอบแล้ว
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งเรื่องการลงนามแทนผู้ว่าการว่า ในกรณีที่เป็นเรื่องปกติของฝ่ายการธนาคาร ให้ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารหรือรองผู้อำนวยการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารเป็นผู้ลงนามแทนผู้ว่าการได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ม.ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีนี้ได้ลงนามในเอกสารแทนผู้ว่าการถึงผู้บังคับการกองปราบปรามร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในข้อหาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหายกับมอบอำนาจให้ ล.เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่ง ล.ก็ได้ร้องทุกข์และลงลายมือชื่อในบันทึกมอบคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว เพราะการร้องทุกข์เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะต้องปฏิบัติ หาใช่เรื่องผิดปกติไม่
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง คดีจึงจำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษาไปตามรูปความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยมาครบถ้วนพอที่จะพิพากษาคดีไปได้แล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งมาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามรูปความนั้นได้ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา240 บัญญัติไว้ในตอนต้น ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการ, การร้องทุกข์ของผู้เสียหาย, และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า "รูปคดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงข้าพเจ้าจึงขอรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ เพื่อศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป" เป็นการรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตรงตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิบัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงให้โจทก์จึงชอบแล้ว ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งเรื่องการลงนามแทนผู้ว่าการว่า ในกรณีที่เป็นเรื่องปกติของฝ่ายการธนาคาร ให้ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารหรือรองผู้อำนวยการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารเป็นผู้ลงนามแทนผู้ว่าการได้ ดังนี้เมื่อปรากฏว่า ม. ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีนี้ได้ลงนามในเอกสารแทนผู้ว่าการถึงผู้บังคับการกองปราบปรามร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในข้อหาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหายกับมอบอำนาจให้ ล.เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่ง ล. ก็ได้ร้องทุกข์และลงลายมือชื่อในบันทึกมอบคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว เพราะการร้องทุกข์เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะต้องปฏิบัติ หาใช่เรื่องผิดปกติไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีจึงจำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษาไปตามรูปความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยมาครบถ้วนพอที่จะพิพากษาคดีไปได้แล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งมาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามรูปความนั้นได้ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 บัญญัติไว้ในตอนต้น ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์และอำนาจฟ้องคดีอาญา แม้มีการตรวจสอบเขตที่ดินก่อน
เอกสารการแจ้งความมีข้อความกล่าวถึงเรื่องจำเลยที่ 1 เข้าไปทำบ่อเลี้ยงกุ้งในที่ดินของโจทก์ร่วมและผู้เสียหายอื่น และมีข้อความสำคัญว่า "จึงมาแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบ แล้วดำเนินการตามกฎหมาย" เป็นข้อความที่ระบุแจ้งชัดว่าผู้เสียหายแจ้งโดยมีความประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามกฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ แม้พนักงานสอบสวนจะให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายอื่นไปดำเนินการตรวจสอบเขตที่ดินให้แน่นอนเสียก่อน ก็ไม่ลบล้างความประสงค์หรือเจตนาของโจทก์ร่วมและผู้เสียหายอื่น ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(7).
of 20