คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ไม่จำต้องระบุรายละเอียดความผิด และอำนาจศาลตามที่อยู่จำเลย
การร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(7) ไม่จำต้องระบุรายละเอียดในการกระทำความผิด แต่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนในรายละเอียดต่อไป และแม้รายละเอียดในการร้องทุกข์จะแตกต่างกับคำบรรยายฟ้องไปบ้างก็ไม่ทำให้การร้องทุกข์เป็นไม่ชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเหตุคดีนี้มิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือ แต่จำเลยก็มีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครเหนือจึงมีอำนาจพิจารณาคดีได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 22(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีฉ้อโกงและการเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทที่ถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุว่า นาย จ.มาแจ้งว่านาย จ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงผู้แจ้ง จึงแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง และในช่องผู้แจ้งได้ลงลายมือชื่อของนาย จ. และนางสาว ศ. กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งด้วย ดังนั้นที่ระบุไว้ในคำร้องทุกข์ว่า นาย จ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่านาย จ. ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ ทั้งมูลเหตุที่ผู้แจ้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงนั้นเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงให้ผู้แจ้งซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวกับจำเลยที่ 2 เท่ากับอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อโกง และในช่องผู้แจ้งนอกจากจะลงลายมือชื่อนาย จ. แล้ว นางสาว ศ. กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก็ปรากฏว่ากรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ได้นั้นก็คือนาย จ. กับนางสาว ศ. ลงลายมือชื่อร่วมกัน คำร้องทุกข์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทโจทก์โดยชอบแล้วหาใช่เป็นคำร้องทุกข์ของนาย จ. ในฐานะส่วนตัวไม่ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องร้องของบริษัท: คำร้องทุกข์ที่ลงชื่อกรรมการบริษัท ถือเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัท
บริษัทโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุว่า นาย จ.มาแจ้งว่านาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงผู้แจ้ง จึงแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง และในช่องผู้แจ้งได้ลงลายมือชื่อของนาย จ.และนางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ระบุไว้ในคำร้องทุกข์ว่า นาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่านาย จ.ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ ทั้งมูลเหตุที่ผู้แจ้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงนั้นเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงให้ผู้แจ้งซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวกับจำเลยที่ 2 เท่ากับอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อโกง และในช่องผู้แจ้งนอกจากจะลงลายมือชื่อ นาย จ.แล้ว นางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก็ปรากฏว่ากรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ได้นั้นก็คือนาย จ.กับนางสาว ศ.ลงลายมือชื่อร่วมกัน คำร้องทุกข์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทโจทก์โดยชอบแล้ว หาใช่เป็นคำร้องทุกข์ของนาย จ.ในฐานะส่วนตัวไม่
ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คพิพาทและอำนาจร้องทุกข์: กรณีมอบเช็คให้ห้างหุ้นส่วนและเบิกเงินแทน
การที่ อ. รับเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือแล้วนำไปมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท และแม้ อ. จะสามารถรับเงินแทนห้างฯ ได้ ก็ในฐานะผู้แทนของห้างฯ เท่านั้น อ. จึงมิใช่ผู้เสียหาย ซึ่งจะมีอำนาจร้องทุกข์ในคดีเกี่ยวกับเช็คพิพาทตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์หากไม่ได้มีเจตนาให้ดำเนินคดี และคดีเช็คขาดอายุความหากไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตอนแรกระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้ได้รับโทษตามกฎหมายแต่ในตอนท้ายระบุว่าร้อยเวรสอบสวนได้รับแจ้งไว้แล้ว สอบถามผู้แจ้งยืนยันว่ายังไม่มอบคดีแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่ต้องการนำเช็คไปฟ้องร้องต่อศาลทางหนึ่งก่อน ดังนี้ คำของโจทก์ที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ยังไม่มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าโจทก์กล่าวหาโดยมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ พ. ไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 กลับไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นการร้องทุกข์ที่ไม่ชอบ เพราะ พ. ไม่ใช่ผู้เสียหาย เท่ากับว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวแก่จำเลยทั้งสองต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การมอบอำนาจที่ไม่ชัดเจน ทำให้การร้องทุกข์ไม่ชอบและไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ พ. ไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 กลับไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นการร้องทุกข์ที่ไม่ชอบ เพราะ พ. ไม่ใช่ผู้เสียหาย เท่ากับว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวแก่จำเลยทั้งสองต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีอาญา การร้องทุกข์ไม่ชอบ พนักงานสอบสวนและอัยการไม่มีอำนาจ
ตาม หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ไปร้องทุกข์ดำเนิน คดีจำเลยที่ 2 ในข้อหาออกเช็ค โดย เจตนาไม่ให้มีการใช้ เงินตาม เช็ค เท่านั้น พ. ไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนิน คดีแก่จำเลยที่ 2 แต่ กลับไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนิน คดีแก่จำเลยที่ 1 และตาม บันทึกการร้องทุกข์มอบคดีอันยอมความได้ ที่พนักงานสอบสวนทำขึ้นนั้น ก็ปรากฏว่า พ. แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนิน คดีแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะ ส่วนตัว โดย ไม่มีข้อความตอน ใด ระบุว่า พ. ร้องทุกข์ให้ดำเนิน คดีแก่จำเลยที่ 1 โดย ได้ รับมอบอำนาจจากโจทก์ร่วม ดังนี้ การร้องทุกข์ของ พ. จึงไม่ชอบ เท่ากับโจทก์ร่วมซึ่ง เป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนิน คดีซึ่ง เป็นความผิด ต่อ ส่วนตัวแก่จำเลยทั้งสองต่อ พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ฉะนั้นพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์คดีเช็ค และการดำเนินการฟ้องคดีโดยโจทก์เอง
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ในชั้นนี้โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปเพื่อดำเนินการตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่งต่อไปแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้จำเลยได้รับโทษส่วนข้อความตอนท้ายหมายความว่า นอกจากโจทก์จะมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการกับจำเลยแล้ว โจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองอีกส่วนหนึ่งด้วยการที่โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปจึงไม่มีผลกระทบต่อการแจ้งความร้องทุกข์แต่อย่างใด ข้อความในรายงานดังกล่าวจึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(7) โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ในเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค และนำคดีมาฟ้องภายในกำหนด 5 ปีคดีไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: การแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน และฟ้องภายใน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ในชั้นนี้โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปเพื่อดำเนินการตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่งต่อไปแสดงว่า โจทก์ได้แจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้จำเลยได้รับโทษส่วนข้อความตอนท้ายหมายความว่า นอกจากโจทก์จะมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการกับจำเลยแล้ว โจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองอีกส่วนหนึ่งด้วย การที่โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปไม่มีผลกระทบต่อการแจ้งความร้องทุกข์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ในเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค และนำคดีมาฟ้องภายในกำหนด 5 ปีคดีไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
of 20