คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยอุทธรณ์นอกประเด็น และการพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้า
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ทำที่เมืองฮ่องกงมีหนังสือของโนตารีปับลิกแห่งเมืองฮ่องกงรับรองว่าผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ โดยมีกงสุลไทยเมืองฮ่องกงรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นหนึ่งเมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าใบมอบอำนาจฉบับนี้ลงชื่อโดยผู้มีอำนาจของโจทก์จริง ไม่จำเป็นต้องให้โนตารีปับลิกรับรองด้วยว่าผู้ที่ลงชื่อมอบอำนาจได้กระทำต่อหน้าตนและรับรองว่ามีตราดุนประทับในใบมอบอำนาจ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมมีผลใช้ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วย ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEEKUMKEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า ลีคุมกี หรือลีคุมคีหรือลีคัมกีหรือลีกัมกี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลาง เป็นรูปวงกลมมีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านซ้ายมีอักษรจีนอ่านว่า ลีกัมกี และชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEEKUMKEE อ่านว่า ลีกัมลี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอลเคเคอยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่า ลีคัมกี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลีคุมกี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEEKUMKEEอ่านว่า ลีคัมกี อยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพและตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูปส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐ์ล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีน เหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่า LEEMIANKEE อ่านว่า ลีเมียนกี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่า ลีเมียนกี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรู)2 รูปเรียงกัน รูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจานอาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดด้านขวามีอักษรโรมันอ่านว่า LEEMAINKEE อ่านว่า ลีเมียนกีกับอักษรจีนอ่านว่า ลีเมียนกี รูปที่ 2 ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลง มีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอลเอ็มเคและอักษรจีนอ่านว่าลีเมียนกีอยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูปแม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อย คดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, ใบมอบอำนาจ, เครื่องหมายการค้า, ความแตกต่างของเครื่องหมาย, การอุทธรณ์นอกประเด็น
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ทำที่เมืองฮ่องกง มีหนังสือของโนตารีปับลิกแห่งเมืองฮ่องกงรับรองว่าผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ โดยมีกงสุลไทยเมืองฮ่องกงรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าใบมอบอำนาจฉบับนี้ลงชื่อโดยผู้มีอำนาจของโจทก์จริง ไม่จำเป็นต้องให้โนตารีปับลิกรับรองด้วยว่าผู้ที่ลงชื่อมอบอำนาจได้กระทำต่อหน้าตนและรับรองว่ามีตราคุนประทับในใบมอบอำนาจ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมมีผลใช้ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วยฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEE KUM KEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า สี คุม กี หรือ ลี คุม คี หรือลี คัม กี หรือ ลี กัม กี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี กัม กี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีน-ประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอล เค เค อยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่าลี คัม กี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลี คุม กี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี คัม กีอยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพ และตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูป ส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนเหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่าลี เมียน กี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรูป 2 รูปเรียงกันรูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจาน-อาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดดานขวามีอักษรโรมันอ่านว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี กับอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี รูปที่ 2ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลงมีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอล เอ็ม เค และอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี อยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีน เครื่องหมายการคำของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพ ส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูป แม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อยคดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9 ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันทำให้ประชาชนหลงผิด โจทก์มีสิทธิเหนือกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าของจำเลย (DANGS'ORIGINALDESIGNS)แม้ส่วนใหญ่ของตัวอักษร ตลอดจนการเรียกขานจะต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ (DIOR) ซึ่งเรียกขานว่า ดิออร์ส่วนของจำเลยเรียกขานว่า แดงส์ แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองขึ้นต้นด้วยอักษร D ตัวใหญ่ ในลักษณะประดิษฐ์และมีขนาดไล่เลี่ยกันนอกจากนั้นตัวอักษร i,o และ r ที่เรียงต่อจาก d ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเล็กมีขนาดไล่เลี่ยกัน มีการวางตัวอักษรเป็นแนวโค้งลงด้านล่าง และกลับโค้งขึ้นด้านบนในลักษณะเหมือนกัน ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดอยู่ที่อักษร d ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนตัวอักษรอื่นตลอดจนกรอบสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบหาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดแต่อย่างใดไม่และเครื่องหมายการค้าทั้งสองใช้กับสินค้าประเภทเสื้อผ้าอย่างเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"dior" อ่านว่า ดิออร์ มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า DIOR และ DANGS' ORIGINAL DESIGNS ทำให้ประชาชนอาจสับสนได้
เครื่องหมายการค้าของจำเลย (DANGS' ORIGINAL DESIGNS)แม้ส่วนใหญ่ของตัวอักษร ตลอดจนการเรียกขานจะต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ (DIOR) ซึ่งเรียกขานว่า ดิออร์ ส่วนของจำเลยเรียกขานว่า แดงส์แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองขึ้นต้นด้วยอักษร D ตัวใหญ่ ในลักษณะประดิษฐ์และมีขนาดไล่เลี่ยกัน นอกจากนั้นตัวอักษร i.o และ r ที่เรียงต่อจาก d ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเล็กมีขนาดไล่เลี่ยกัน มีการวางตัวอักษรเป็นแนวโค้งลงด้านล่าง และกลับโค้งขึ้นด้านบนในลักษณะเหมือนกัน ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดอยู่ที่อักษร d ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนตัวอักษรอื่นตลอดจนกรอบสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบหาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดแต่อย่างใดไม่ และเครื่องหมายการค้าทั้งสองใช้กับสินค้าประเภทเสื้อผ้าอย่างเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "dior" อ่านว่า ดิออร์ มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละเครื่องหมายการค้าและการเลียนแบบรูปลักษณ์สินค้า ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีการเลียนแบบจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสละรูปภาชนะบรรจุสินค้าและข้อความที่บรรยายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งแล้วนั้น ย่อมหมายรวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าหรือสิ่งอื่นใดในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ยินยอมสละแล้วด้วย ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในรูปลักษณะภาชนะบรรจุยาขัดล้างรถยนต์และข้อความบรรยายทั้งการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและคำบรรยายที่ภาชนะเช่นนี้การที่จำเลยที่ 1 ผลิตสินค้า มีรูปลักษณะของภาชนะและคำบรรยายเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงอ้างไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิไม่สุจริต เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้"ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "DINCO" หรือ "ดิงโก้"ของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขานแม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้างรถยนต์เหมือนกัน แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย จึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะมาหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1เป็นยาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงไม่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดในความเป็นเจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า มาตรา 41
ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ (1) ว่า โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่ และในข้อ (4) ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรไทยคำว่า "เบต้าเดอร์มครีม"และอักษรโรมันคำว่า BETADERMCREAM หรือไม่ เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวประกอบกับคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วย่อมแปลได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย อันเป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41 มิใช่มาตรา 29 ศาลจึงวินิจฉัยได้ว่า โจทก์หรือจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง แม้จดทะเบียนถูกต้อง
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า Mita มาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯมาตรา 41(1) ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 20 เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นเรื่องนอกประเด็น แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น และยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้จดทะเบียน vs. ผู้ใช้ก่อน ต้องพิสูจน์สิทธิการใช้ในไทย
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯบัญญัติไว้ตอนต้นว่า "ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้"ซึ่งรับกับมาตรา 41 ที่บัญญัติว่า "ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงว่า (1) ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของหรือ (2) ฯลฯ" ดังนั้น เมื่อจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แล้ว โจทก์ซึ่งอ้างว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการพิสูจน์การใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าของโจทก์ที่ผลิตออกแจกจ่ายแก่ลูกค้าและประชาชนในประเทศไทยก่อนจำเลยเพื่อทราบข้อมูลว่าสินค้าที่โจทก์ผลิตออกมาจะได้รับความนิยมจากประชาชนหรือไม่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ถึงแม้ในชั้นแรกโจทก์จะแจกจ่ายแก่ประชาชนเป็นระยะเวลาสั้น ๆและมีจำนวนไม่มานักก็ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ใช้มาก่อนจำเลยผู้จดทะเบียนและได้ความว่าสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทได้รับความนิยมจากประชาชนในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 41(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากมิได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 2729 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้.
of 10