พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้น และเป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำกิจการแทนจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว คำบรรยายฟ้องของโจทก์และคำขอบังคับเป็นการฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง ทั้งข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสองก็แถลงรับว่าจำเลยเริ่มผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนฟ้อง โดยโฆษณาว่าจำเลยเป็น ผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทยการกระทำของจำเลยทั้งสองอาจเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ดังข้ออ้างตามคำฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย
โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) และ WOOLCO (วูลโก) และใช้แพร่หลายในทวีปอเมริกาและยุโรป หลายประเทศมาหลายสิบปีก่อนที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ)เมื่อจำเลยที่1และที่ 2 ทราบดีว่าเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวเป็นของโจทก์ และโจทก์ได้ใช้แพร่หลายในต่างประเทศมาก่อนและจำเลยได้นำเอาคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) มาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์กางเกงยีนส์ของจำเลยและโฆษณาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย จึงเป็นการแสดงเจตนาให้เห็นว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริต การที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) เป็นของตนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH ดีกว่าจำเลยที่ 1
เครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA, WOOLWO และ WOOLWARD ที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียน นอกจากมีคำหน้าว่า WOOL ตรงกับคำหน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นตัวยืนและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าแล้ว คำท้ายของแต่ละคำก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกับคำท้ายของเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH และ WOOLCO ของโจทก์ด้วย แสดงให้เห็นถึงเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA, WOOLWO และ WOOLWARD
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้า คำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยไม่สุจริตแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ว่าสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) และ WOOLCO (วูลโก) และใช้แพร่หลายในทวีปอเมริกาและยุโรป หลายประเทศมาหลายสิบปีก่อนที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ)เมื่อจำเลยที่1และที่ 2 ทราบดีว่าเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวเป็นของโจทก์ และโจทก์ได้ใช้แพร่หลายในต่างประเทศมาก่อนและจำเลยได้นำเอาคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) มาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์กางเกงยีนส์ของจำเลยและโฆษณาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย จึงเป็นการแสดงเจตนาให้เห็นว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริต การที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) เป็นของตนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH ดีกว่าจำเลยที่ 1
เครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA, WOOLWO และ WOOLWARD ที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียน นอกจากมีคำหน้าว่า WOOL ตรงกับคำหน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นตัวยืนและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าแล้ว คำท้ายของแต่ละคำก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกับคำท้ายของเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH และ WOOLCO ของโจทก์ด้วย แสดงให้เห็นถึงเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA, WOOLWO และ WOOLWARD
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้า คำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยไม่สุจริตแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ว่าสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยมีจำเลยที่1 เป็นผู้ถือหุ้น และเป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำกิจการแทนจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว คำบรรยายฟ้องของโจทก์และคำขอบังคับเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสองทั้งข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสองก็แถลงรับว่าจำเลยเริ่มผลิตสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนฟ้องโดยโฆษณาว่าจำเลยเป็น ผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทยการกระทำของจำเลยทั้งสอง อาจเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อ โจทก์ดังข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์จึง มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่าWOOLWORTH (วูลเวิร์ธ)และWOOLCO(วูลโก)และใช้แพร่หลายในทวีปอเมริกาและยุโรป หลายประเทศมาหลายสิบปีก่อนที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าคำว่าWOOLWORTH(วูลเวิร์ธ)เมื่อจำเลยที่1และที่ 2 ทราบดีว่าเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวเป็นของโจทก์และโจทก์ได้ใช้แพร่หลาย ในต่างประเทศมาก่อนและจำเลยได้นำเอาคำว่าWOOLWORTH(วูลเวิร์ธ) มาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และนำมาใช้กับ ผลิตภัณฑ์กางเกงยีนส์ของจำเลยและโฆษณาว่าจำเลยที่ 2 เป็น ตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียว ในประเทศไทย จึงเป็นการแสดงเจตนา ให้เห็นว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้า ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริตการ ที่ จำเลยที่1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH(วูลเวิร์ธ)เป็นของตนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH ดีกว่าจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA,WOOLWO และ WOOLWARDที่จำเลยที่1ขอจดทะเบียนนอกจากมีคำหน้าว่า WOOLตรงกับคำหน้า ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นตัวยืนและจุดเด่นของ เครื่องหมายการค้าแล้ว คำท้ายของแต่ละคำก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกับ คำท้ายของเครื่องหมายการค้าWOOLWORTH และ WOOLCO ของโจทก์ด้วย แสดงให้เห็นถึงเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยไม่ชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWAWOOLWO และWOOLWARD เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้า คำว่า WOOLWORTH(วูลเวิร์ธ) ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลย โดยไม่สุจริตแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมอาจทำให้สาธารณชน เกิดความสับสนและหลงผิดได้ว่าสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าของโจทก์ หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยการกระทำของจำเลย เป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีและสิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความหมายของเอกสารและการลอกเลียนแบบ
การที่จะตีความเอกสารฉบับใดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงจะพิจารณาจากข้อความเพียงประโยคใดตอนใดแล้วสรุปความหมายเอาหาได้ไม่ จำต้องพิเคราะห์จากถ้อยคำทั้งหมดในเอกสารนั้นประมวลเข้าด้วยกันจึงจะสามารถทราบ ความหมายที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้อยคำที่แปลและเรียบเรียง จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยการใช้ถ้อยคำอาจไม่ตรงกัน แต่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องคือ "เพื่อป้องกัน เครื่องหมายการค้าของ ข้าพเจ้าให้พ้นจากการปลอมแปลงเลียนแบบ จะโดยทางศาลแพ่งหรือกระบวนพิจารณาอาญารวมทั้ง ให้มีอำนาจที่จะกระทำการต่อสู้ในการเรียกร้องฟ้องแย้งหรือ ผู้ขอเรียกร้องที่แยกออก ประนีประนอมยอมความหรือตกลงกัน เกี่ยวกับการพิจารณาใดๆเช่นว่ามาแล้วเพื่อให้ เป็นไป ตามความมุ่งหมายที่ได้กล่าวมาแล้วให้มีอำนาจ ไปกระทำการ และปรากฏตัวเพื่อและในนามของข้าพเจ้ายัง สำนักงานรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือสถานที่อื่นใด หรือที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม "ถ้อยคำ ทั้งหมดดังกล่าวที่ว่า มอบอำนาจเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าให้พ้นจากการปลอมแปลง เลียนแบบโดยทางศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจต่อสู้ เรียกร้อง ฟ้องแย้งก็มีความหมายชัดแจ้งถึงว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเพื่อป้องกันสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทนโจทก์นั่นเอง จะตีความ ว่าเพียงมีอำนาจให้ฟ้องแย้งเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่
ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า" BOSS " ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองและ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่
ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า" BOSS " ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองและ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องการมอบอำนาจ และสิทธิในเครื่องหมายการค้า การลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความเสียหาย
การที่จะตีความเอกสารฉบับใดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงจะพิจารณาจากข้อความเพียงประโยคใดตอนใด แล้วสรุปความหมายเอาหาได้ไม่ จำต้องพิเคราะห์จากถ้อยคำ ทั้งหมดในเอกสารนั้นประมวลเข้าด้วยกันจึงจะสามารถทราบ ความหมายที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้อยคำที่แปลและเรียบเรียง จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยการใช้ถ้อยคำอาจไม่ตรงกัน แต่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องคือ "เพื่อป้องกัน เครื่องหมายการค้าของ ข้าพเจ้าให้พ้นจากการปลอมแปลงเลียนแบบ จะโดยทางศาลแพ่งหรือกระบวนพิจารณาอาญารวมทั้ง ให้มีอำนาจที่จะกระทำการต่อสู้ในการเรียกร้องฟ้องแย้งหรือ ผู้ขอเรียกร้องที่แยกออก ประนีประนอมยอมความหรือตกลงกัน เกี่ยวกับการพิจารณาใดๆเช่นว่ามาแล้ว เพื่อให้ เป็นไป ตามความมุ่งหมายที่ได้กล่าวมาแล้วให้มีอำนาจ ไป กระทำการ และปรากฏตัวเพื่อและในนามของข้าพเจ้ายัง สำนักงานรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือสถานที่อื่นใด หรือที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม "ถ้อยคำ ทั้งหมดดังกล่าวที่ว่า มอบอำนาจเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าให้พ้น จากการปลอมแปลง เลียนแบบโดยทางศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจต่อสู้ เรียกร้อง ฟ้องแย้งก็มีความหมายชัดแจ้งถึงว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเพื่อป้องกันสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทนโจทก์นั่นเอง จะตีความ ว่าเพียงมีอำนาจให้ฟ้องแย้งเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518 และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่ ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"BOSS" ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้า หลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสอง และ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนรูปภาพตัวการ์ตูนจนเกิดความสับสนแก่สาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืชกุ๊ก ส่วนเครื่องหมายค้าของจำเลยเป็นรูปตุ๊กตาประดิษฐ์มีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัวมือขวาถือตะหลิวหงายขึ้น ทรงลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก โดยจำเลยลอกเลียนเอาจุดเด่นของรูปตัวการ์ตูนที่ประดิษฐ์ขึ้นของโจทก์ไปดัดแปลงบางส่วน เมื่อพิจารณารวมทั้งเครื่องหมายจะเห็นความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายทั้งสองอย่างเห็นได้ชัด ถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ ทำให้สาธารณชนเสื่อมความเชื่อถือในสินค้าของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าได้รับความเสียหาย ศาลย่อมวินิจฉัยค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ ทำให้สาธารณชนเสื่อมความเชื่อถือในสินค้าของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าได้รับความเสียหาย ศาลย่อมวินิจฉัยค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนแบบลักษณะสำคัญของเครื่องหมายการค้าผู้อื่นจนเกิดความเข้าใจผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืชกุ๊ก ส่วนเครื่องหมายค้าของจำเลยเป็นรูปตุ๊กตาประดิษฐ์ มีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัวมือขวา ถือตะหลิวหงายขึ้น ทรงลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก โดยจำเลยลอกเลียนเอาจุดเด่นของรูปตัวการ์ตูนที่ประดิษฐ์ขึ้นของโจทก์ไปดัดแปลงบางส่วน เมื่อพิจารณารวมทั้งเครื่องหมายจะ เห็นความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายทั้งสองอย่างเห็นได้ชัด ถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ ทำให้สาธารณชนเสื่อมความเชื่อถือในสินค้าของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าได้รับความเสียหาย ศาลย่อมวินิจฉัยค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความ ร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า: อายุความและอำนาจฟ้อง
นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เพราะไม่มีกฎหมาย บัญญัติห้ามไว้ โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ในต่างประเทศและใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ในประเทศไทยจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในประเทศไทยดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพราะโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 41และการฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้จึงมีอายุความฟ้องร้อง10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ หลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกไม่ให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์แล้วจำเลยได้เอาน้ำมันหล่อลื่นจากที่อื่นมาจำหน่าย แต่ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับน้ำมันหล่อลื่นของจำเลยการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาต่อเนื่องกันถึงวันฟ้องและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายย้อนหลังจากวันฟ้องเพียง 1 ปีคดีของโจทก์ในส่วนนี้ก็ไม่ขาดอายุความเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทน, สิทธิในเครื่องหมายการค้า, และอายุความละเมิด
นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เพราะไม่มีกฎหมาย บัญญัติห้ามไว้
โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ในต่างประเทศและใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ในประเทศไทย จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในประเทศไทย ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ เพราะโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 41และการฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้จึงมีอายุความฟ้องร้อง10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 169โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
หลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกไม่ให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์แล้ว จำเลยได้เอาน้ำมันหล่อลื่นจากที่อื่นมาจำหน่ายแต่ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับน้ำมันหล่อลื่นของจำเลย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์จึงเป็นการละเมิดต่อ โจทก์โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474มาตรา 29 วรรคสองจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาต่อเนื่องกันถึงวันฟ้องและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายย้อนหลังจากวันฟ้องเพียง 1 ปีคดีของโจทก์ในส่วนนี้ก็ไม่ขาดอายุความเช่นเดียวกัน
โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ในต่างประเทศและใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ในประเทศไทย จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในประเทศไทย ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ เพราะโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 41และการฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้จึงมีอายุความฟ้องร้อง10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 169โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
หลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกไม่ให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์แล้ว จำเลยได้เอาน้ำมันหล่อลื่นจากที่อื่นมาจำหน่ายแต่ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับน้ำมันหล่อลื่นของจำเลย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์จึงเป็นการละเมิดต่อ โจทก์โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474มาตรา 29 วรรคสองจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาต่อเนื่องกันถึงวันฟ้องและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายย้อนหลังจากวันฟ้องเพียง 1 ปีคดีของโจทก์ในส่วนนี้ก็ไม่ขาดอายุความเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าเมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นก่อน – สิทธิในการฟ้องเพิกถอนยังคงมี
แม้โจทก์จะมิได้แจ้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าได้ตกลงกับจำเลยหรือได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดสามเดือนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 17 มาตรานี้ ก็เพียงแต่ให้นายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของฝ่ายที่ยื่นขอจดทะเบียนก่อนเท่านั้นต่อมาเมื่อนายทะเบียนฯประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 21 เพื่อดำเนินการรับจดทะเบียนต่อไปโจทก์กลับยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 22 และจำเลยยื่นคำโต้แย้งแล้ว นายทะเบียนฯก็หาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 โจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 22 วรรคสี่และวรรคห้า ดังนั้นเมื่อนายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยแล้วถ้าหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460-2461/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: แม้จดทะเบียนแล้ว ผู้มีสิทธิดีกว่ายังขอเพิกถอนได้
ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันหลายราย และนายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งให้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาลแล้วไม่ได้รับแจ้งภายในกำหนดว่าผู้ขอได้ตกลงกันหรือได้นำคดีไปสู่ศาล มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 บัญญัติให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแก่ผู้ที่ขอซื้อมาก่อนผู้อื่น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าสิทธิที่จะนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันระงับสิ้นไป เจตนารมย์ของกฎหมายเพียงเพื่อให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินไปโดยรวดเร็วเท่านั้น แม้นายทะเบียนจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แล้ว ซึ่งทำให้บุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแต่ผู้เดียวตามมาตรา 27 ก็ตาม หากมีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ดีกว่าผู้มีสิทธิดีกว่าก็อาจขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(1)